ค่างห้าสี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Cercopithecidae
สกุล: Pygathrix
สปีชีส์: P.  nemaeus
ชื่อทวินาม
Pygathrix nemaeus
(Linnaeus, 1771)

ค่างห้าสี (อังกฤษ: Red-shanked douc; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pygathrix nemaeus) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับวานร เป็นค่างที่มีสีสันต่าง ๆ ห้าสีตามชื่อ

ตัวและหัวมีสีเทา แต่ตรงหน้าผากมีสีดำออกแดง หนวดเคราสีขาว หางและก้นสีขาว ผิวหน้าสีเหลือง หน้าแข้งสีแดง ได้ชื่อว่าเป็นค่างที่มีความสวยที่สุดในโลก มีความยาวลำตัวและหางรวมกัน 53-63 เซนติเมตร จัดอยู่ในบัญชีแดงของ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์

ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราวสองเท่า และมีขนเป็นพู่ที่เอวทั้งสองข้าง ซึ่งตัวเมีย นิสัยเงียบขรึมขี้อาย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง พบในพรมแดนระหว่างประเทศลาวและเวียดนาม

อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นลึกและป่าที่ราบสูงซึ่งมีความสูง 200-1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเล อาหารหลักได้แก่ ดอกไม้ ยอดอ่อนของใบไม้ แมลง รวมทั้งผลไม้บางชนิด จากการศึกษาพบว่าค่างห้าสีสามารถกินอาหารได้ถึง 450 ชนิด

อยุ่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ราว 4-5 ตัว การสืบพันธุ์ไม่แน่นอน ตั้งท้องประมาณ 196 วัน หรือ 7 เดือนครึ่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว โดยลูกค่างจะมีสีคล้ายตัวเต็มวัยแต่ซีดกว่าเล็กน้อย ในสถานที่เลี้ยง สวนสัตว์ดุสิตในประเทศไทยเป็นสถานที่แรกที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ค่างห้าสีได้เป็นแห่งแรกในโลก[2]

อ้างอิง แก้

  1. Ngoc Thanh, V., Lippold, L., Timmons, R. J. & Manh Ha, N. (2008). Pygathrix nemaeus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 January 2009.
  2. "ค่างห้าสี". ข่าวสดออนไลน์. 25 July 2012. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pygathrix nemaeus ที่วิกิสปีชีส์