ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Fah Free สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Fah Free! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 16:53, 22 มกราคม 2561 (ICT) ประกิต วาทีสาธกกิจ 
 ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ  (เกิดวันที่  28 มีนาคม  พ.ศ. 2487) เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน) หรือที่เรียกกันว่า คุณหมอนักรณรงค์  ซึ่งเป็นอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด  หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ พ.ศ. 2530-2538 อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2541- 2547) ทั้งเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร (เม.ย. – ก.ย. 2549)  และ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุข  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ก.พ. 2550 – ม.ค. 2551) 
 ประวัติ 
 ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เติบโตมาในครอบครัวคนจีน ฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน ทํากิจการ ค้าขายปูนทราย และรับผ้าจากโรงงานทอผ้ามารีด เม่ือเรียนได้ถึงชั้นประถมปีที่ 4 ต้องเลิก เรียนเพราะทางบ้านไม่มีเงินส่ง และต้องให้โอกาสน้องได้เรียนบ้าง อาจารย์จึงต้องออกมา ช่วยงานค้าขายท่ีบ้าน คุมลูกจ้างและทําบัญชี เมื่ออายุได้ 15 ปีทางบ้านเริ่มมีรายได้ดีขึ้นจึง ได้ตัดสินใจไปเรียนกวดวิชา จนสอบเทียบชั้นมัธยมปีท่ี 1 - 3 ได้ เมื่อสมัครเรียนต่อชั้นมัธยม ปีที่ 4 - 6 ก็สามารถสอบเทียบผ่านได้ในเวลาเพียง 1 ปี ระหว่างท่ีเรียนต้องทํางานทางบ้าน ไปด้วย เมื่อต่อช้ันมัธยม 7 - 8 ก็สอบเทียบได้เช่นกัน เนื่องจากในขณะนั้นฐานะทางบ้านยัง ไม่ค่อยมั่นคง อาจารย์จึงได้ตัดสินใจเรียนทางวิชาชีพ อาจารย์สอบ เข้าแพทย์ได้ จึงได้เรียนแพทย์ที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยรุ่นที่ 19 ในระหว่างท่ีเป็นนักศึกษาแพทย์อาจารย์ยัง ต้องช่วยงานทางบ้านอยู่ตลอด 
 จากการเริ่มต้นชีวิตในครอบครัวที่มีฐานะยากจน แต่ด้วยลักษณะนิสัยที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ มีความพยายามในการทําหน้าท่ีทั้งในด้าน การงานและส่วนตัวอย่างดีที่สุด รวมไปถึงการเป็นคนสมถะ เรียบง่าย ซื่อสัตย์ และมี ระเบียบวินัย ทําให้อาจารย์ประกิตประสบความสําเร็จสูงสุดในชีวิต ต้ังแต่การสามารถ ส่งน้องร่วมสายเลือดทั้ง 4 คนเรียนหนังสือจนจบชั้นมหาวิทยาลัย ส่งตัวเองไปฝึกอบรม เฉพาะทางที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อจบแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว อาจารย์ได้รับการเชิญชวนให้เป็นอาจารย์แพทย์ที่จุฬาฯ แต่เห็นว่า เงินเดือนของข้าราชการน้ันน้อย ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของน้อง ทุกคนท่ียังเรียนอยู่ จึงได้ตัดสินใจไปทํางานและเรียนต่อที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับในช่วงนั้นเกิดสงครามเวียดนาม ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการแพทย์จํานวนมาก โดยในระหว่างปี พ.ศ. 2513 - 2516 อาจารย์ได้ไปฝึกอบรมด้านอายุรศาสตร์ท่ัวไปท่ี New Jersey College of Medicine จนกระทั่งได้ American Board of Internal Medicine จากนั้นไปเรียนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดที่ โรงพยาบาลในเครอื ของ New York University จนจบ ในปี พ.ศ. 2518 

  ในด้านของบุคลิกภาพ อาจารย์ประกิตเป็นคนเรียบง่าย เข้าถึง ง่าย รับประทานง่าย ไม่ถือตัว มีอัธยาศัยไมตรี ชอบใส่เสื้อผ้า เก่าๆ ยับบ้าง ย่นบ้าง เดินซื้อข้าวของที่ชอบเอง มีความ เป็นกันเองและเป็นมิตรกับผู้คน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ หรือ สถานภาพทางสังคม อาจารย์เป็นนักบริหารท่ีแก้ปัญหาได้รวดเร็วกล้าตัดสินใจ ยอมที่จะนําหน้าเสียสละเพื่อคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีอย่างเต็มที่สุดๆ เวลาท่ีเจอสถานการณ์วิกฤต อาจารย์จะยึดหลักว่า“Honesty is the best policy” แม้จะพบกับ มรสุมใหญ่มีคนมากระทําการท่ีไม่เป็นธรรมกับอาจารย์ อาจารย์ยังให้อภัย อโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย เป็นตัวอย่างการปฏิบัติทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ เป็นการ ประกาศว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร”  
 
 
 การศึกษา พ.ศ. 2512    แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2518   ประกาศนียบัตร Fellow in Pulmonary Disease  สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2523   หนังสืออนุมัติผู้มีความรู้ความชำนาญ แพทยสภาสาขาอายุรศาสตร์(เทียบเท่าปริญญาเอก) พ.ศ. 2532  หนังสืออนุมัติผู้มีความรู้ความชำนาญ  แพทยสภาสาขาอายุรศาสตร์ระบบทางเดินหายใจ พ.ศ. 2540   วปอ. รุ่นที่ 39   วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2550    ปปร.10  วิทยาลัยการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า       
 
 รับราชการ   อาจารย์ได้รับการแนะนําให้รู้จักกับอาจารย์ยศวีร์ สุขุมาลจันทร์ ซึ่ดำรงตําแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยโรคปอดที่ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อาจารย์ยศวีร์ทํางานอยู่ ในหน่วยคนเดียว มีอาจารย์พูนเกษม เจริญพันธ์ กําลังจะได้รับการ บรรจุ อาจารย์ยศวีร์ จึงได้ชักชวนให้อาจารย์ประกิตเข้ามาเป็น อาจารย์ในหน่วยโรคปอดเพิ่มอีกคนหน่ึง อาจารย์จึงได้รับการบรรจุ เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2519 เมื่อกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ 2 สมัย จากนั้นได้รับ ความไว้วางใจให้ไปดํารงตําแหน่งคณบดี แต่ท่ีน่าภาคภูมิใจยิ่งกว่าคือการเป็นผู้นําในการ รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จนกระทั่งประเทศไทยเป็นประเทศแนวหน้าของโลกที่มีแนวทาง ปฏิบัติในการป้องกันพิษภัยของบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรม เป็นท่ียอมรับของนานาชาติ ส่งผลให้ได้รับรางวัลเหรียญเกียรติยศจากองค์การอนามัยโลก อาจารย์ได้ช่วยให้คนจํานวน มากพ้นจากความทุกข์ทรมานท่ีเกิดจากผลร้ายของบุหรี่ท่ีมีต่อสุขภาพของทั้งคนสูบและคน ที่อยู่ใกล้เคียง  
  พ.ศ. 2519 – 2520            อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2520 – 2523            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2523 – 2530            รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.  2530 – 2549            ศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตำแหน่งปัจจุบัน      1.  เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่      2.  คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ  กระทรวงสาธารณสุข      3.  ที่ปรึกษาสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ  กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข      4.  คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) 
 
 
 บทบาทของหมอนักรณรงค์ เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในภาควิชาอายุรศาสตร์ นายแพทย์ประกิต มีความสนใจในด้านโรคติดเชื้อในปอดและวัณโรคปอดเป็นหลัก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2529 ศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งดํารงตําแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ใน ขณะน้ัน ได้แนะนําและชักชวนให้อาจารย์ประกิตมาทํางานด้านการ รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เพราะเล็งเห็นว่า การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมท่ีแพร่หลายในคนไทย และไม่มีหน่วยงานใดที่ดําเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยสูบบุหหรี่มากขึ้น ต่อมาเมื่อนายแพทย์อรรถสิทธ์ิไป รับตําแหน่งคณบดี ด้วยความร่วมมือของศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี จึงได้เกิดโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ข้ึน โดย มอบหมายให้นายแพทย์ประกิตเป็นผู้ดําเนินการ เมื่อเร่ิมต้นเปิด โครงการที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นคร้ังแรก ได้จัดให้มีการจัด สัมมนาโดยมี พลตรีจําลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะน้ันมาร่วมงานด้วย 

ในงานมีการพานักข่าวไปดูคนไข้โรค ถุงลมโป่งพองและโรคหลอดเลือดหัวใจท่ีเป็นผลกระทบทางสุขภาพ โดยตรงจากการสูบบุหรี่ ปรากฏว่างานสัมมนาได้ผลดีมากเพราะได้ ลงข่าวหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่ง และออกทีวีทุกช่อง คุณหมอได้ทุ่มเทอย่างเอาเป็นเอาตายกับการรณรงค์เพื่อให้คนไทยพ้นจากความเจ็บป่วยและความตายจากการสูบบุหรี่ โดยอาศัยการแถลงข่าวต่อ สื่อมวลชนเพื่อให้ข้อมูลถึงผลร้ายของบุหรี่ต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง คุณหมอใช้ผู้ป่วยจริงเป็นตัวอย่างเพื่อสื่อถึงความทุกข์ทรมานที่ ได้รับจากพิษภัยของบุหรี่ อาจารย์ต้องต่อสู้กับอิทธิพลของกลุ่ม นายทุนทั้งในและต่างประเทศที่เห็นแก่เงินมากกว่าเห็นแก่ชีวิต เพื่อนมนุษย์ จนมีครั้งหนึ่งมีคนโทรศัพท์มาขู่ว่าจะเผาบ้าน อาจารย์ แต่อาจารย์เชื่อเสมอว่า “ความถูกต้องย่อมชนะความ ไม่ถูกต้อง” ทําให้อาจารย์เดินหน้าต่อสู้ต่อไป 

นอกจากอาจารย์ ได้พยายามให้คนตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่แล้ว ในช่วงที่ นายแพทย์อรรถสิทธ์ิดํารงตําแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการผลักดันมาตรการทางกฎหมายท่ีแม้แต่ใน ต่างประเทศก็ไม่สามารถฝ่าด่านอิทธิพลผู้ผลิตและผู้จําหน่าย บุหหรี่ได้ เช่น ในปี พ.ศ. 2535ได้มีการออกกฎหมายห้าม โฆษณาบุหรี่และเกิด พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ขึ้น โดยกําหนดให้สถานที่สาธารณะต่างๆ เป็นเขตปลอดบุหรี่ ในขณะท่ีประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา  ยังมีการสูบบุหรี่ในท่ีสาธารณะอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ ยังมีการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่เป็นระยะ ส่งผลให้อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 และ อัตราการสูบบุหหรี่ในเพศชายลดลงจากร้อยละ 70 เหลือร้อยละ 50 จนกระทั่งประเทศไทยเป็นประเทศ “ตัวอย่าง” ของโลกของ ความสําเร็จของการณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้สนับสนุนให้มูลนิธิเพื่อการไม่สูบบุหรี่เป็นองค์กรหลัก 

  2523 – 2529            หัวหน้าโครงการอบรมแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์      2525 – 2529            ประธานคณะอนุกรรมการโครงการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และแพทย์ประจำบ้าน ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี      2537 – 2538            ผู้ประสานงานพัฒนาการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก และคลินิกคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี      2526 – 2529            กรรมการบริหารหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี      2530 – 2538            หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี      2539 – 2541            กรรมการประจำคณะ จากคณาจารย์ประจำ      2539 – 2541            ประธานสภาอาจารย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี      2541 – 2547            คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี      2543 – 2547            กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล 
 
 
 ผลงาน ในการประสานงานด้านการรณรงค์ควบคุมการสูบบุหรี่ให้กับ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมูลนิธิฯ ยังได้รับคัดเลือก จากองค์การอนามัยโลกให้เป็นองค์กรประสานงานการร่างกรอบ อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ และได้นํากิจกรรม ของมูลนิธิฯ ไปเผยแพร่ในนานาประเทศในวันไม่สูบบุหหรี่โลกปี พ.ศ. 2541 นอกจากรางวัลเหรียญเกียรติยศจากองค์การอนามัยโลกแล้ว อาจารย์ยังได้รับรางวัลผู้มีผลงานในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ดีเด่นของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก จากสมาพันธ์ควบคุมการบริโภค ยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และรางวัลผู้นําที่เป็นแบบอย่างในการ ควบคุมการบริโภคยาสูบจาก American Cancer Society 

ในด้านงานภายในภาควิชาอายุรศาสตร์ เมื่ออาจารย์ประกิตกลับมา จากต่างประเทศใหม่ๆ อาจารย์ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเรียน การสอน อาจารย์ได้ริเริ่มกิจกรรม morning report (ซึ่งต่อมาได้ ปรับเปลี่ยนเป็น noon report) ซึ่งเป็นกิจกรรมท่ีแพทย์ประจําบ้าน รายงานผู้ป่วยท่ีรับไว้ในโรงพยาบาลตอนอยู่เวรในคืนก่อน ทําให้ อาจารย์ได้เข้าไปเก่ียวข้องกับแพทย์ประจําบ้านค่อนข้างมาก ศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุชีลา จันทร์วิทยานุชิต (อดีตหัวหน้าหน่วย โรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ) กล่าวว่า “อาจารย์ประกิตเป็น “breakthrough” ในด้านการเรียนการสอนและการดูแลผู้ป่วย ท้ังผู้เรียนและผู้ป่วยจะได้รับความรู้ ความบันเทิง ความ เป็นกันเอง อาจารย์เป็นผู้นําในด้านการเรียนการสอนแบบ interactive เพราะอย่าหวังว่าจะได้รับคําแนะนําจากอาจารย์ ถ้าไม่ใช้ความรู้และความคิดของตัวเองก่อน นอกจากนี้ อาจารย์ยังมีความรักและความภาคภูมิใจในความเป็น “รามาธิบดี” ยิ่งกว่าผู้ที่จบจากรามาธิบดีเองเสียอีก” ในปี พ.ศ. 2525 ศาสตราจารย์นายแพทย์รจิต บุรี คณบดีในขณะนั้น จึงได้ แต่งตั้งให้อาจารย์ประกิตรับผิดชอบเป็นประธานคณะอนุกรรมการ  
 โครงการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัดและแพทย์ประจําบ้านของคณะฯ เมื่ออาจารย์เข้ามารับตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาตร์ในปี พ.ศ. 2530 อาจารย์ยังคงให้ความสําคัญกับงานด้านการเรียนการสอน โดยอาจารย์จะเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการของภาควิชาทุกคร้ัง --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Fah Free (พูดคุยหน้าที่เขียน) 09:09, 10 มิถุนายน 2562 (ICT)

วิกิพีเดียไม่สนับสนุนการเขียนอัตชีวประวัติ ซึ่งเป็นการเขียนเกี่ยวกับตัวเองหรือคนรู้จักครับ ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนบทความได้ที่ลิงก์เหล่านี้ อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย, ความโดดเด่นของบุคคล, ผลประโยชน์ทับซ้อน และลิงก์ที่อยู่ด้านบนของหน้านี้ (ในส่วนยินดีต้อนรับผู้ใช้) ครับ --ดีเจเบสท์ ppnTube (คุย) 09:15, 10 มิถุนายน 2562 (ICT)
ผมค้นหาแล้วพบว่าบุคคลนี้ได้รับการกล่าวถึงมากพอสมควร แปลว่าน่าจะค่อนข้างมีความโดดเด่นอยู่ ผมว่าสามารถสร้างได้แต่ควรปรับภาษาให้มีความเป็นกลาง มีความเป็นสารานุกรมมากขึ้นครับ --ดีเจเบสท์ ppnTube (คุย) 11:04, 10 มิถุนายน 2562 (ICT)

ช่วยหน่อย! แก้

 
ตอบคำขอช่วยเหลือนี้แล้ว หากคุณยังต้องการความช่วยเหลือเพิ่ม คุณสามารถถามคำถามใหม่ในหน้าคุยของคุณ ติดต่อผู้ใช้คนที่ตอบนี้ทางหน้าคุยของเขา หรือถามที่แผนกช่วยเหลือ

รบกวนขอตวามรู้ค่ะ สร้างไฟล์ https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89:Fah_Free&action=edit&section=8 แต่ไม่สามารถเปิด Public ให้เห็นได้ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

ขอความช่วยเหลือเรื่อง...

Fah FreeFah Free (คุย) 19:45, 24 กันยายน 2563 (+07) Fah Free (คุย) 19:45, 24 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ

อ่านที่ วิธีใช้:ไฟล์ ครับ --Horus (พูดคุย) 01:00, 3 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ