คีเลชัน (อังกฤษ: Chelation) คือ รูปแบบการเกาะกันทางโมเลกุลระหว่างสหพันธะลิแกนด์และอะตอมเดี่ยว[1] โดยทั่วไปแล้ว ลิแกนด์เหล่านี้จะเป็นสารประกอบอินทรีย์ และจะถูกเรียกว่า คีแลนต์ (chelant), คีเลเตอร์ (chelator), คีเลตติ้งเอเจนต์ (chelating agent) หรือ ซีเควซเตอริ่งเอเจนต์ (sequestering agent)

โครงสร้างทางเคมีของ โลหะ (M) กับ EDTA ในรูปคีเลต

สมาคมการทดสอบและวัสดุของอเมริกา (American Society for Testing And Materials) ได้นิยาม คีแลนต์ ไว้ใน ASTM-A-380 ว่าหมายถึง สารเคมีที่ก่อให้เกิดโมเลกุลเชิงประกอบ (complex molecules) ที่ละลายน้ำได้ กับ โลหะไอออน และทำให้ไอออนไม่สามารถทำปฏิกิริยากับธาตุหรือไอออนอื่นๆที่ทำให้เกิดตะกอนหรือสะเก็ดได้ตามปกติ (โดยไม่มีคีแลนต์)

คีเลตเอฟเฟ็กต์

แก้

คีเลตเอฟเฟ็กต์ อธิบายถึงผลของการเพิ่มความคล้ายคลึงทางเคมีของคีแลนต์กับโลหะไอออน เมื่อเทียบกับความคล้ายคลึงทางเคมีของลิแกนด์อื่นที่คล้ายกันแต่ไม่เป็นคีแลนต์ (ลิแกนด์พันธะเดี่ยว) กับโลหะไอออนชนิดเดียวกัน

สมดุลของสารละลายระหว่างคอปเปอร์ (II) ไอออน (Cu2+) กับ ethylenediamine (en) แสดงในสมการที่ (1) และ คอปเปอร์ (II) ไอออน กับ methylamine (MeNH2) แสดงในสมการที่ (2)

Cu2+ + en ⇌ [Cu(en)]2+ (1)
Cu2+ + 2 MeNH2 ⇌ [Cu(MeNH2)2]2+ (2)

ในสมการที่ (1) ลิแกนด์ 2 พันธะ กับไอออน จับกันในรูปของคีเลตคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นรูปแบบของวงแหวน ในสมการที่ (2) methylamine ซึ่งเป็นลิแกนด์พันธะเดี่ยว 2 ลิแกนด์กับไอออน ไม่ได้จับกันในรูปของคีเลตคอมเพล็กซ์ จะเห็นว่าด้วยความเข้มข้นของคอปเปอร์เท่ากันสมการที่ (2) จะมีความเข้มข้นของ methylamine เป็น 2 เท่าของ ethylenediamine ดังนั้นความเข้มข้นของสารประกอบที่ได้จากสมการที่ (1) จึงเข้มข้นกว่าสมการที่ (2)

การใช้งาน

แก้

คีเลชันถูกใช้ในงานเคมีวิเคราะห์ เช่น สารทำน้ำอ่อน และก็ถูกใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หลายๆชนิดรวมถึง น้ำยาสระผม และสารถนอมอาหาร คีเลชันถูกใช้สำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย และการเกษตร เช่น การใช้ในสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อเพิ่มการเคลื่อนย้ายของโมเลกุลที่ต้องการให้พืชถูกซึมให้มากขึ้น

อ้างอิง

แก้