คีวชูชิงกันเซ็ง

(เปลี่ยนทางจาก คีวชู ชิงกันเซ็ง)

รถไฟญี่ปุ่นคีวชู สาย คีวชู ชิงกันเซ็ง (ญี่ปุ่น: 九州新幹線) เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมระหว่างสองเมืองหลักบนเกาะคีวชูอย่าง ฟูกูโอกะ และ คาโงชิมะ โดยที่รถไฟความเร็วสูงสายนี้วิ่งขนานไปกับรางรถไฟเดิมของสายหลักคาโงชิมะ ดำเนินงานโดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นคีวชู (JR คีวชู) โดยที่รถไฟความเร็วสูงสายนี้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเริ่มก่อสร้างจากคาโงชิมะเป็นระยะทาง 127 กิโลเมตร เปิดให้บริการในปี 2004 และต่อมาจึงก่อสร้างต่อไปบรรจบกับซันโย ชิงกันเซ็งที่สถานีฮากาตะเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร เปิดให้บริการในปี 2011

คีวชู ชิงกันเซ็ง
800 ซีรีส์ ขบวน สึบาเมะ ที่สถานีชินมินามาตะ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อลำลอง九州新幹線
เจ้าของJR คีวชู
ที่ตั้งคีวชู
ปลายทาง
จำนวนสถานี12
การดำเนินงาน
รูปแบบชิงกันเซ็ง
ผู้ดำเนินงานJR คีวชู
ศูนย์ซ่อมบำรุงคูมาโมโตะ
เซ็นได
ขบวนรถ800 ซีรีส์
N700-7000/8000 ซีรีส์
ประวัติ
เปิดเมื่อมีนาคม พ.ศ. 2547
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง256.8 km (159.6 mi)
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in)
ระบบจ่ายไฟ25 kV AC, 60 Hz จ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็ว260 km/h (160 mph)
แผนที่เส้นทาง

สายคาโงชิมะ แก้

เส้นทางรถไฟคีวชูชิงกันเซ็งสายคาโงชิมะ (鹿児島ルート) เริ่มก่อสร้างในปี 1991 และส่วนแรกที่ให้บริการระหว่างคาโงชิมะและชินยัตสึชิโระเปิดใช้งานวันที่ 13 มีนาคม 2004 ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างทั้งสองเมืองจาก 2 ชั่วโมง 10 นาที เป็น 35 นาที และลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างฮากาตะกับคาโงชิมะจาก 4 ชั่วโมง เป็น 2 ชั่วโมง โดยเมื่อเส้นทางทั้งสายเปิดใช้งาน ระยะเวลาการเดินทางระหว่างฮากาตะกับคาโงชิมะเหลือประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที ข้อมูลตั้งแต่ปี 2012 ความเร็วสูงสุดของเส้นทางนี้อยู่ที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) บนรางสแตนดาร์ดเกจ

ขบวนซากูระ และ มิซุโฮะ ให้บริการจากสถานีชินโอซากะโดยผ่านซันโย ชิงกันเซ็ง ส่วนขบวนสึบาเมะ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของรถไฟด่วนพิเศษฮากาตะ-คาโงชิมะ ให้บริการจอดทุกสถานี

สายนิชิคีวชู (นางาซากิ) แก้

เส้นทางรถไฟชิงกันเซ็งจากฮากาตะไปนางาซากิ เดิมเรียกว่านางาซากิชิงกันเซ็ง (長崎新幹線) ซึ่งวางแผนตั้งแต่ปี 1973 ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นสายนางาซากิ (長崎ルート) แล้วเปลี่ยนชื่ออีกเป็นสายนิชิคีวชู (西九州ルート) ในปี 1995 โดยส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างทาเกโอะ-ออนเซ็นกับนางาซากิเปิดให้บริการวันที่ 23 กันยายน 2022[1]

สถานี แก้

  • ขบวนสึบาเมะ หยุดจอดทุกสถานี ส่วน ขบวนมิซุโฮะ และ ซากูระ ทุกขบวนจอดที่สถานีเครื่องหมาย "●" ในขณะที่เฉพาะบางขบวนจอดที่สถานีเครื่องหมาย "▲" รถไฟทุกขบวนจอดที่สถานีฮากาตะ คูมาโมโตะ และคาโงชิมะชูโอ

คำอธิบาย

จอดทุกขบวน
จอดบางขบวน
ผ่านทุกขบวน
สถานี ญี่ปุ่น ระยะทาง (กม.) ระยะทางจาก
ชินโอซากะ (กม.)
ขบวน
มิซุโฮะ
ขบวน
ซากูระ
ขบวน
สึบาเมะ
เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
เส้นทางคาโงชิมะ
เปิดให้บริการในปัจจุบัน
↑ เชื่อมต่อกับ สถานีชินโอซากะ โดย ชิงกันเซ็ง สายซันโย (เฉพาะขบวนมิซุโฮะและขบวนซากูระ)
ฮากาตะ 博多 0.0 553.7 ฟูกูโอกะ ฟูกูโอกะ
ชินโทซุ 新鳥栖 26.3 580.0 โทซุ ซางะ
คูรูเมะ 久留米 32.0 585.7
คูรูเมะ ฟูกูโอกะ
ชิกูโงะ-ฟูนาโงยะ 筑後船小屋 47.9 601.6
  • สายหลักคาโงชิมะ
ชิกูโงะ
ชินโอมูตะ 新大牟田 59.7 613.4 โอมูตะ
ชินทามานะ 新玉名 76.3 630.0 ทามานะ คูมาโมโตะ
คูมาโมโตะ 熊本 98.2 651.9
คูมาโมโตะ
ชินยัตสึชิโระ 新八代 130.0 683.7
  • สายหลักคาโงชิมะ
ยัตสึชิโระ
ชินมินามาตะ 新水俣 172.8 726.5 มินามาตะ
อิซูมิ 出水 188.8 742.5 Hisatsu Orange Railway Line อิซูมิ คาโงชิมะ
เซ็นได 川内 221.5 775.2
  • Hisatsu Orange Railway Line
  • สายหลักคาโงชิมะ
ซัตสึมะเซ็นได
คาโงชิมะชูโอ 鹿児島中央 256.8 810.5
คาโงชิมะ

แหล่งอ้างอิง แก้

  1. 西九州新幹線の開業日について [วันเปิดให้บริการสายนิชิคีวชูชิงกันเซ็ง] (PDF). jrkyushu.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 22 กุมภาพันธ์ 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้