คิตาโร

(เปลี่ยนทางจาก คิทาโร)

คิตาโร (ญี่ปุ่น: 喜多郎โรมาจิKitarō) มีชื่อจริงว่า มาซาโนริ ทากาฮาชิ (ญี่ปุ่น: 高橋 正則โรมาจิMasanori Takahashi; 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953) เป็นนักดนตรีชาญี่ปุ่นที่รู้จักจากดนตรีแนวอิเล็กทรอนิกส์-บรรเลง และมักถือว่าเป็นหนึ่งในนักดนตรีคนสำคัญของนิวเอจ[1][2] เขาชนะรางวัล Grammy Award for Best New Age Album ด้วยเพลง Thinking of You (1999) ซึ่งมีเพลงที่เข้าชิง 16 เพลงในหมวดหมู่เดียวกัน เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสำหรับเพลง Heaven & Earth (1993).[3]

Kitaro
喜多郎
คิตาโรที่เตหะราน, ตุลาคม ต.ศ. 2014
คิตาโรที่เตหะราน, ตุลาคม ต.ศ. 2014
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดมาซาโนริ ทากาฮาชิ
เกิด (1953-02-04) กุมภาพันธ์ 4, 1953 (71 ปี)
โทโยฮาชิ, จังหวัดไอจิ, ประเทศญี่ปุ่น
แนวเพลงอิเล็กทรอนิกา, เวิลด์, โฟล์ก, คลาสสิก, นิวเอจ
อาชีพนักดนตรี, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์เพลง, นักจัดเรียง
เครื่องดนตรีคีย์บอร์ด, กีตาร์, เบสกีตาร์, ฟลุตญี่ปุ่น, กลอง, เพอร์คัชชัน
ช่วงปี1975–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง

ชีวิตช่วงต้น ค.ศ. 1954–76 แก้

มาซาโนริ ทากาฮาชิ เกิดที่โทโยฮาชิ, จังหวัดไอจิ, ประเทศญี่ปุ่น และจบปริญญาจากมหาวิทยาลัยซาฮิด[2][4] ชื่อของคิตาโรหมายถึง "บุรุษแห่งความรักและความสนุก" นับถือศาสนาพุทธ และเกิดในครอบครัวชาวไร่ที่นับถือศาสนาชินโต-พุทธ[5] หลังจบการศึกษา พ่อแม่ของเขาไม่ยอมรับให้ลูกชายมีอาชีพเป็นนักดนตรี แต่จะให้ทำงานที่บริษัทในท้องที่แทน ซึ่งเขาพยายามบอกกับพ่อแม่ว่าให้เขาทำในสิ่งที่ตนรักแทน[6]

ในระดับไฮสกูล คิตาโรเล่นกีตาร์ไฟฟ้ากับวงโอทิส เรดดิงในแนวเพลงริทึมแอนด์บลูส์และคัฟเวอร์เพลงของเดอะบีเทิลส์[1][7][8] หลังจบการศึกษา และเรียนรู้วิธีเล่นกลองกับเบส[6] คิตาโรก็ย้ายไปที่โตเกียวเพื่อรับประสบการณ์ดนตรี และที่นั่นคือที่ที่เขาพบเครื่องสังเคราะห์เสียง

ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เขาหันมาเล่นคีย์บอร์ดและเข้าร่วมวงโพรเกรสซิฟร็อกญี่ปุน Far East Family Band และบันทึก 4 อัลบั้มตามอยู่ในญี่ปุ่นและยุโรปใน ค.ศ. 1975[9] เขาพบกับ เคลาส์ ชูลซ์ อดีตสมาชิกวงแทนเจอรีนดรีมแนวอิเล็กทรอนิกาชาวเยอรมัน โดยเขาได้ผลิตไปสองอัลบั้มและให้ทิปแก่คิตาโรสำหรับการควบคุมเครื่องสังเคราะห์เสียง[1] ใน ค.ศ. 1976 คิตาโรออกจากวง Far East Family Band และเดินทางทั่วทวีปเอเชีย (จีน, ลาว, ไทย, อินเดีย)[2][10]

อาชีพเดี่ยว: ค.ศ. 1977–ปัจจุบัน แก้

2 ปีต่อมาเขาได้มีโอกาสทำเพลงประกอบสารคดีทางญี่ปุ่นที่ออกอากาศทางช่อง NHK ชื่อ Silk Road อัลบั้มชุดนี้ทำให้เขาได้รู้จักในวงกว้างรวมถึงระดับนานาชาติ

ในปี 1986 เขาได้ออกผลงาน International โดยเซ็นสัญญากับ บ. Geffen ในอเมริกา เขายังได้ร่วมงานกับศิลปินอย่าง Micky Hart (วง Grateful Dead) และ Jon Anderson (วง Yes) อัลบั้มแรกของเขาคือ "Tenku" ก็สร้างความประทับใจไปทั่วโลกอีกครั้ง

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคิตาโร่จากงานเพลงประกอบภาพยนตร์หลายเรื่อง และที่โดดเด่นที่สุดคงไม่พ้นไตรภาค Heaven and Earth อันยิ่งใหญ่ ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ

อัลบั้มของเขาขายได้มากกว่า 10 ล้านแผ่นทั่วโลก และยังถูกเสนอเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ ถึง 2 ครั้ง จนปี 2000 เขาก็ได้รับรางวัลแกรมมี่ สาขา Best New-age Album จากอัลบั้ม Thinking Of You

ชีวิตส่วนตัว แก้

ในช่วง ค.ศ. 1983 ถึง 1990 คิตาโรแต่งงานกับยูกิ ทาโอกะ ลูกสาวของคาซูโอะ ทาโอกะ และมีลูกชายคนเดียว ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เขาย้ายที่อยู่จากญี่ปุ่นไปยังสหรัฐ[5][11] ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เขาแต่งงานกับเคโกะ มัตสึบาระ แล้วอาศัยอยู่ที่วาร์ด, รัฐโคโลราโด บนพื้นที่ 180 เอเคอร์ (72.85 เฮกตาร์) และแต่งเพลงใน "โมจิเฮาส์" สตูดิโอที่กินพื้นที่ 2500 ตารางฟุต (230 ตารางเมตร) (ใหญ่พอที่จะตั้งดนตรีออร์เคสตรา 70 ชิ้น)[12] ในช่วง ค.ศ. 2005 พวกเขาย้ายที่อยู่ไปที่ซะแบสตะโพล, รัฐแคลิฟอร์เนีย

ผลงาน แก้

อัลบั้มสตูดิโอ

รางวัล แก้

แกรมมีอะวอร์ดส

ปี รางวัลที่ได้เข้าชิง รางวัล/สาขา ผล
1987 The Field Best New Age Performance เสนอชื่อเข้าชิง
1990 Kojiki Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
1992 Dream Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
199ภ Mandala Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
1995 An Enchanted Evening Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
1998 Gaia Onbashira Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
1999 Thinking Of You Best New Age Album ชนะ
2002 Ancient Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
2003 An Ancient Journey Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
2004 Sacred Journey of Ku-Kai Volume 1 Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
2006 Sacred Journey Of Ku-Kai Volume 2 Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
2008 Sacred Journey Of Ku-Kai Volume 3 Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
2009 Impressions Of The West Lake Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
2011 Sacred Journey Of Ku-Kai Volume 4 Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
2013 Final Call Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
2014 Symphony Live In Istanbul Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง
2017 Sacred Journey of Ku-Kai Vol. 5 Best New Age Album เสนอชื่อเข้าชิง

ลูกโลกทองคำ

ปี รางวัลที่ได้เข้าชิง รางวัล/สาขา ผล
1993 Heaven & Earth Best Original Score ชนะ

Golden Horse Award (ฮ่องกง) คิตาโรกับแรนดี มิลเลอร์ชนะรางวัล Golden Horse Award จากภาพยนตร์ 3 พี่น้องตระกูลซ่ง ใน ค.ศ. 1997[13]

Hong Kong Film Award คิตาโรเข้าชิงรางวัลHong Kong Film Award จากภาพยนตร์ Homecoming in 1985.[14] Kitaro and Randy Miller won a Hong Kong Film Award for Best Original Score for Soong Sisters in 1998.[13]

Japan Gold Disc คิตาโรชนะรางวัล Gold Disc Award ในหมวดหมู่ Fusion Instrumental สำหรับอัลบั้ม Kojiki in 1991.[15]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Kohanov, Linda. "Biography: Kitaro". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 22 May 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 "喜多郎" [Kitarō]. Nihon Jinmei Daijiten (日本人名大辞典) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-11-18.
  3. "Kitaro". Domo Music Group. สืบค้นเมื่อ 2015-09-29.
  4. Bonzai, Mr. (December 2007). "Kitaro's Sacred Journey". Keyboard. 33 (12): 38, 40, 42.
  5. 5.0 5.1 Steven Rea (April 22, 1990). "Kitaro: The Japanese Sage Of New-age Sound". Philly.com. สืบค้นเมื่อ August 24, 2016.
  6. 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ JWorld
  7. Amy Duncan (April 14, 1987). "Composer Kitaro gaining attention in US. Japan's leading New Age artist says music should `set one free'". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ August 24, 2016.
  8. Don Heckman (January 3, 1994). "Kitaro Brings Heavenly Touch to 'Earth' : Music: The New Age composer worked a year and a half on the film, trying to capture the Asian feeling Oliver Stone was looking for". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ August 24, 2016.
  9. "Interview with Klaus Schulze". November 1994. สืบค้นเมื่อ August 24, 2016.
  10. 喜多郎 キタロウ. "喜多郎 / DIAA株式会社". Diaa.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-06. สืบค้นเมื่อ 2014-02-04.
  11. Steve Appleford (October 28, 1994). "Playing to Emotions : Kitaro brings his New Age blend of rock, classical and folk to Universal Amphitheatre". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ August 24, 2016.
  12. Zwiebel, Richard (August 1996). "Kitaro's Recording Studio". Mix. 20 (8): 52–54, 56–58.. Describes the Mochi House studio.
  13. 13.0 13.1 "The Soong Sisters (1997) : Awards". IMDb.com. สืบค้นเมื่อ 2015-09-29.
  14. "Kitarô : Awards". IMDb.com. สืบค้นเมื่อ 2015-09-29.
  15. "第5回日本ゴールドディスク大賞 / Gold Disc Hall of Fame 5th|The Gold Disc". Golddisc.jp. สืบค้นเมื่อ 2014-02-04.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้