เสือโคคำฉันท์

(เปลี่ยนทางจาก คาวี)

เสือโคคำฉันท์ เป็นวรรณคดีไทย ประเภทฉันท์เรื่องแรก และเป็นแบบฉบับของการแต่งฉันท์ในสมัยต่อมา ซึ่งพระมหาราชครู ภิกษุชาวเชียงใหม่ เป็นผู้แต่ง มีเค้าเรื่องอยู่ในปัญญาสชาดก[1]

เสือโคคำฉันท์
กวีพระมหาราชครู (พระบรมครู)
ประเภทฉันท์
คำประพันธ์ฉันท์ กาพย์ โคลงกระทู้ โคลงสี่สุภาพ
ยุคอยุธยาตอนกลาง
ปีที่แต่งพ.ศ. 2200
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

ประวัติ

แก้

ผู้แต่ง

แก้

พระมหาราชครู โดยได้เค้าเรื่องมาจาก ปัญญาสชาดก สันนิษฐานว่าคงแต่งก่อนสมุทรโฆษคำฉันท์ ถือว่าเป็นวรรณคดีประเภทฉันท์เล่มแรก ที่แต่งเป็นเรื่องยาว

ลักษณะการแต่ง เป็นการทดลองเอาฉันมาแต่งเป็นเรื่องยาว สำนวนโวหารพอฟังได้ การใช้ถ้อยคำไม่ราบเรียบเหมือนสมุทรโฆษคำฉันท์

จุดมุ่งหมาย เพื่อริเริ่มแต่งฉันท์เป็นเรื่องยาว และเพื่อเป็นคติสอนใจ

เนื้อเรื่องย่อ

แก้

เริ่มต้นกล่าวสรรเสริญคุณเทวดา กษัตริย์ และพระรัตนตรัย แล้วดำเนินเรื่องว่าเสือแม่ลูกอ่อนและโคนมแม่ลูกอ่อนอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งแม่เสือออกไปหาอาหาร ลูกโคสงสารจึงบอกแม่ให้นมแก่ลูกเสือ ลูกเสือและลูกโคจึงเริ่มรักกันอย่างพี่น้อง แม่เสือสาบานว่าจะไม่ทำลูกโค แต่แม่เสือไม่รักษาคำสัตย์กินแม่โคเสีย ลูกเสือและลูกโคจึงช่วยกันประหารแม่เสือ แล้วชวนกันไปหากินจนพบพระฤๅษี ส่วนพระฤๅษีเมตตาชุบให้เป็นคน ลูกเสือเป็นพี่ได้ชื่อว่า พหลวิไชย ลูกโคเป็นน้องชื่อว่าคาวี พระฤๅษีอวยพรและมอบพระขรรค์วิเศษให้ ทั้งสองจึงลาฤๅษีไปเมืองมคธ

พระคาวีได้ฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองนั้นตาย ได้นางสุรสุดา ราชธิดาท้าวมคธ แต่พระคาวีถวายแด่พระพี่ชายแล้วออกเดินทางต่อไป ต่างฝ่ายต่างเสี่ยงบัวคนละดอก เมื่อไปถึงเมืองร้างเมืองหนึ่งพบกลองใหญ่ตีไม่ดัง ผ่าดูพบนางจันทราผู้ผมหอมธิดาท้าวมัทธราชและนางแก้วเกษร แห่งรมนคร ได้ทราบความจากนางว่านกอินทรีย์ใหญ่คู่หนึ่งบินมากินชาวเมืองตลอดจนพ่อแม่ นางรอดชีวิตได้ก็เพราะกลองใบนั้น พระคาวีปราบนกอินทรีด้วยพระขรรค์วิเศษและได้นางจันทรเป็นชายา

วันหนึ่งนางจันทรลงสรงในแม่น้ำ ใส่ผมหอมในผอบแล้วลอยน้ำไป ท้าวยศภูมิ ผู้ครองเมืองพันธวิไสยเก็บได้ หลงใหลผมหอมนั้น นางทาสีอาสานำนางมาถวาย โดยออกอุบายลวงถามความลับเกี่ยวกับพระขรรค์จากนางจันทร ครั้นทราบว่าพระคาวีถอดพระชนม์ไว้ในพระขรรค์ จึงนำพระขรรค์ไปเผาไฟ พระคาวีสลบไป แล้วนางทาสีพานางจันทรไปถวายท้าวยศภูมิ แต่ไม่อาจเข้าใกล้นางได้เพราะร้อนเป็นไฟ ด้วยอำนาจความภักดีที่มีต่อพระคาวี

เมื่อพระพหลวิไชยเห็นบัวอธิฐานลงเป็นลางร้ายจึงตามหาร่างพระคาวี และพบพระขรรค์ในกองไฟ มาชำระล้างวางบนองค์พระคาวี พระคาวีพื้นขึ้นแล้ว พากันออกตามหานางจันทรถึงเมืองท้าวยศภูมิ พระพหลวิไชยแปลงเป็นพระฤๅษีอาสาชุบท้าวยศภูมิให้เป็นหนุ่มแล้วฆ่าเสียเอาพระคาวีออกมาแทนอ้างว่าชุบตัวเป็นหนุ่มได้สำเร็จ พระคาวีได้อภิเษกสมรสกับนางจันทรและได้ครองเมืองพันธไสยสืบมา

คุณค่าของเรื่องเสือโคคำฉันท์

แก้

เป็นวรรณคดีไทยที่มีคุณค่าสูงเรื่องหนึ่ง เป็นฉันท์เรื่องแรกที่มีความยาวเป็นพิเศษ แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ เพื่อสอนคติธรรมโดยอาศัยเค้าโครงมาจากปัญญาสชาดก บทสุดท้ายเป็นโคลงสี่สุภาพสองบท

เนื้อเรื่องกล่าวถึงลูกโคและลูกเสือซึ่งเกิดมีความผูกพันกัน เริ่มจากในวันหนึ่งซึ่งลูกเสือถูกแม่ทิ้งไว้เกิดหิวนม ลูกวัวจึงให้กินนมจากแม่ของตน นับแต่นั้นมาทั้งสองก็เป็นสหายรักใคร่กัน ลูกเสือขอให้แม่อย่าทำร้ายลูกโคและแม่โค วันหนึ่งแม่เสือผิดสัญญา ลูกเสือและลูกโคจึงช่วยกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย พระฤๅษีถอดหัวใจของทั้งสองใส่ไว้ในพระขรรค์วิเศษคนละเล่ม มอบให้ดูแลรักษา

เมื่อทั้งสองเดินทางมาถึง จันทบูรนคร สามารถปราบยักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองได้ พหลวิชัยได้อภิเษกสมรสกับ นางสุรสุดา พระธิดาของพระเจ้ามคธ คาวีเดินทางไปจนถึงรมยนคร เห็นกลองใบใหญ่เมื่อผ่าออกดูพบ นางจันทร์ผมหอม หรือ นางจันทร์สุดา หรือ นางจันทรวรา (ซึ่งมีผมหอม) พระธิดาของท้าวมัททราชและนางแก้วเกสรคาวีประหารนกอินทรีใหญ่ที่มากินชาวเมืองรมยนครได้อภิเษกสมรสกับนางจันทร์ผมหอม

วันหนึ่งนางอาบน้ำแล้วนำเส้นผมใส่ผอบปล่อยลอยน้ำไป พระเจ้ายศภูมิ (หรือท้าวสันนุราช) แห่งเมืองพัทธพิสัยทรงพบผมหอมบังเกิดความลุ่มหลง ใช้อุบายให้คนนำพระขรรค์ของคาวีไปเผาไฟชิงนางจันทร์มาได้สำเร็จแต่ไม่อาจเข้าใกล้ได้เพราะตัวนางจะร้อนเป็นไฟ อันเนื่องมาจากอำนาจความซื่อสัตย์ต่อสามี

พหลวิชัยตามหาคาวีจนพบ ชุบชีวิตให้คืนชีพ จากนั้นพหลวิชัยปลอมตัวเป็นฤๅษีหลอกทำพิธีชุบตัวให้พระเจ้ายศภูมิกลับเป็นหนุ่ม เมื่อสบโอกาสจึงผลักลงหลุมไฟ คาวีกับนางจันทร์ผมหอมจึงได้ครองเมืองพัทธพิสัยสืบต่อมา

อ้างอิง

แก้