คาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอ
คาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอ (เยอรมัน: Carl Wilhelm Scheele; 9 ธันวาคม ค.ศ. 1742 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1786) เป็นนักเคมีและเภสัชกรชาวเยอรมัน-สวีเดน ผู้ได้รับฉายา "เชเลอผู้อาภัพ" จากนักเขียน ไอแซค อสิมอฟ[1] จากการค้นพบทางเคมีหลายอย่างแต่ไม่ได้รับการยกย่องในช่วงชีวิตของเขา เชเลอเป็นผู้ค้นพบธาตุออกซิเจน, คลอรีน, ทังสเตน และสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ เช่น กรดยูริก, กรดแล็กติก, กรดออกซาลิก และ กลีเซอรอล
คาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอ | |
---|---|
เกิด | 9 ธันวาคม ค.ศ. 1742 ชตราลซุนท์, สวีดิชพอเมอเรเนีย (ปัจจุบันอยู่ในเยอรมนี) |
เสียชีวิต | 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1786 เชอปิง สวีเดน | (43 ปี)
สัญชาติ | เยอรมัน-สวีเดน |
มีชื่อเสียงจาก | ค้นพบออกซิเจนและธาตุอื่น ๆ |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมี |
คาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1742 ที่เมืองชตราลซุนท์ (ในขณะนั้นเป็นดินแดนของสวีเดน) ทางตอนเหนือของเยอรมนีในปัจจุบัน พออายุได้ 14 ปี เขาก็ถูกส่งไปที่กอเทนเบิร์กเพื่อเรียนรู้งานด้านเภสัชกรรม[2] เชเลอทำงานอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 8 ปี โดยศึกษางานของนักเคมีคนอื่นไปด้วย โดยเฉพาะเกออร์ค แอ็นสท์ ชตาล ผู้คิดทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งส่งผลต่องานของเขาในเวลาต่อมา
หลังจากนั้น เชเลอก็ไปทำงานร่วมกับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยลุนด์และเดินทางไปที่สต็อกโฮล์มเพื่อรับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมี จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1770 เชเลอก็ไปเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการที่อุปซอลา ที่นั่น เขาได้ทำการทดลองโดยให้ความร้อนกับสารต่าง ๆ เช่น เมอร์คิวริกออกไซด์, ซิลเวอร์คาร์บอเนต, ดินประสิว จนพบว่าสารเหล่านี้ให้ก๊าซชนิดหนึ่งที่เขาเรียกว่า "fire air" และต่อมารู้จักในชื่อ "ออกซิเจน"[3] นอกจากนี้เขายังค้นพบธาตุแบเรียม (1772), คลอรีน (1774), โมลิบดีนัม (1778) และทังสเตน (1781) และสารประกอบอื่น ๆ เช่น กรดซิตริก, กรดแล็กติก, กลีเซอรอล, ไฮโดรเจนไซยาไนด์, ไฮโดรเจนฟลูออไรด์, ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (1777) และยังค้นพบวิธีการผลิตฟอสฟอรัสในเชิงอุตสาหกรรม ทำให้สวีเดนกลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตไม้ขีดไฟที่สำคัญของโลก
จากการทดลองต่าง ๆ ทำให้สุขภาพของเชเลอย่ำแย่ลง เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1786 ขณะมีอายุได้ 43 ปี[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ An Illustrated History of Health and Fitness, from Pre-History to our Post-Modern World by Roy J. Shephard
- ↑ Fors, Hjalmar 2008. Stepping through Science’s Door: C. W. Scheele, from Pharmacist's Apprentice to Man of Science. Ambix 55: 29-49
- ↑ Discovering Oxygen: A Brief History
- ↑ Carl Wilhelm Scheele - Encyclopaedia Britannica
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอ