คณปัตยะ เป็นลัทธิหนึ่งในศาสนาฮินดูที่นับถือพระพิฆเนศ (พระคเนศ หรือเรียกว่า พระคณปติ) เป็นสคุณพรหมัน[2] คณปัตยะถือเป็นหนึ่งในห้านิกายสำคัญของศาสนาฮินดู คือ ลัทธิไศวะ ซึ่งบูชาพระศิวะเป็นหลัก, ลัทธิศักติ ซึ่งบูชาศักติองค์ต่าง ๆ เป็นหลัก, ลัทธิไวษณพ ซึ่งบูชาพระวิษณุเป็นหลัก, ลัทธิสรภัทธะ ซึ่งบูชาพระสุริยะเป็นหลัก และลัทธิคณปัตยะ ซึ่งบูชาพระคเนศเป็นหลัก ถึงแม้คณปัตยะจะถือว่าเป็นนิกายที่เล็กกว่าทั้งสี่นิกายที่กล่าวมาข้างต้น แต่คณปัตยะก็ถือเป็นนิกายที่มีอิทธิพลมากในศาสนาฮินดูมาตลอด[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ยังมีลัทธิสมารตะซึ่งปฏิบัติตามปรัชญา Advaita ซึ่งบูชาเทพทั้งห้า (ปัญจยัตนะบูชา - pañcāyatana pūjā) คือบูชาทั้งพระคเนศ, พระวิษณุ, พระศิวะ, พระสุริยะ และ เทวีในศาสนาฮินดูเป็นสคุณพรหมัน[3]

รูปปั้นพระพิฆเนศ ซึ่งมีรูปหนูอยู่ที่ฐาน[1] The Walters Art Museum

ความเชื่อ

แก้

การบูชาพระพิฆเนศถือเป็นการบูชาหนึ่งที่ประกอบกับการบูชาเทพเจ้าอื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วชาวฮินดูทุกนิกายจะเริ่มการสวดที่สำคัญหรือพิธีกรรมทางศาสนาด้วยการสวดบูชาพระพิฆเนศ ซึ่งนับถือกันในฐานะเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้น และการขจัดอุปสรรค ถึงแม้ว่าทุกนิกายจะให้การเคารพบูชาพระพิฆเนศอยู่แล้วก็ตาม ลัทธิคณปัตยะเพิ่มเติมและยกย่องพระพิฆเนศให้ทรงเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด

อ้างอิง

แก้
  1. "Ganesha". The Walters Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-12. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
  2. Ganapatyas เก็บถาวร 2006-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Article from PHILTAR, Division of Religion and Philosophy, St Martin's College
  3. Grimes, John A. Ganapati: Song of the Self. (State University of New York Press: Albany, 1995) p. 162.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้