คอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ประเทศไทย

การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ (อังกฤษ: Thailand Olympiad in Informatics: TOI) เป็นหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติของประเทศไทย ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

ประวัติ แก้

การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ เริ่มต้นจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 โดยใช้ชื่อว่า การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก สอวน. ครั้งที่ 1(The First POSN Olympiad in Informatics 2005: 1st POSN – OI 2005) ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร และได้เปลี่ยนชื่อเป็น การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ในการแข่งขันครั้งที่ 5 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช[1]

กติกาและรูปแบบการแข่งขัน แก้

การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติโครงการจัดการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาในด้านการคำนวณเชิงตัวเลข วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยยึดรูปแบบตามธรรมนูญการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ โดยการสอบทั้งหมดมี 2 รอบ ข้อสอบอยู่ในระดับค่อนข้างยาก ผู้เข้าสอบต้องมีความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์

การออกข้อสอบจะดำเนินการโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิออกข้อสอบตามประกาศมูลนิธิ สอวน. ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจากศูนย์ต่างๆ โดยการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติครั้งที่ 11 คณะกรรมการวิชาการมาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และคณะที่ปรึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

การตรวจข้อสอบ การตัดสิน และรับรองผลการสอบ จะดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ และคณะอนุกรรมการฝ่ายรับรองข้อสอบ และตัดสินผลสอบ ซึ่งประกอบด้วยคณะอนุกรรมการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งอาจารย์ผู้ควบคุมทีมซึ่งเป็นผู้แทนจากแต่ละศูนย์ สอวน. ทุกศูนย์ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์จากแต่ละศูนย์ สามารถอุทธรณ์เพื่อปรับคะแนนของนักเรียนในศูนย์ของตนให้เหมาะสม[2]

รายชื่อการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ แก้

TOI จังหวัด ศูนย์เจ้าภาพ วันที่จัดการแข่งขัน
การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก สอวน.
1 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 20–23 เมษายน พ.ศ. 2548
2 ชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา 19–22 เมษายน พ.ศ. 2549
3 ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1–4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
4 นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 29 เมษายน – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ
5 นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 4–7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
6 เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3–7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
7 พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร 3–7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
8 นครปฐม มหาวิทยาลัยศิลปากร 14–18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
9 กรุงเทพมหานคร โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 7–10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
10 อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 6–9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
11 ตรัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง 2–5 มิถุนายน พ.ศ. 2558
12 สงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 7–10 มิถุนายน พ.ศ. 2559[3]
13 นครปฐม โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล 12–15 มิถุนายน พ.ศ. 2560[4]
14 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 19–22 มิถุนายน พ.ศ. 2561
15 ชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา 4–7 มิถุนายน พ.ศ. 2562
16 ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10–13 ธันวาคม พ.ศ. 2563[5]
17 นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 9–12 ธันวาคม 2564
18 เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1–4 มิถุนายน พ.ศ. 2565
19 พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร 22–25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "เกียรติประวัติในการจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติในครั้งก่อนหน้าเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-23. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  2. ธรรมนูญคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ
  3. "การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 12". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-08.
  4. เริ่มแล้ว! แข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่13
  5. https://www.posn.or.th/wp-content/uploads/2020/05/prakad27-posn-1.pdf