ควีโยมี
ควีโยมี (เกาหลี: 귀요미; อาร์อาร์: Gwiyomi) เป็นซิงเกิลเพลงของฮารี (Hari) นักร้องชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[2] เพลงนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากท่าทางที่เรียก "ควีโยมีเพลเยอร์" (Gwiyomi Player) ของแร็ปเปอร์ช็อง อิล-ฮุน (Jung Il-hoon) ซึ่งกลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีมเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 หลังจากที่ปรากฏในรายการวาไรตี้ บีทูบีเอ็มทีวีไดเอรีเมนี (BToB MTV DiaryMany) และส่งผลให้พลเมืองเครือข่ายในเอเชียพากันเผยแพร่ท่าทางในแบบฉบับของตนเองลงอินเทอร์เน็ตด้วย[3]
"ควีโยมี" | ||||
---|---|---|---|---|
ซิงเกิลโดยฮารี | ||||
วางจำหน่าย | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 | |||
แนวเพลง | อินดี้ป็อป | |||
ความยาว | 2:45 | |||
ค่ายเพลง |
| |||
ผู้ประพันธ์เพลง |
| |||
โปรดิวเซอร์ | Dandi | |||
ลำดับซิงเกิลของฮารี | ||||
| ||||
Lyric video | ||||
"Gwiyomi Song" ที่ยูทูบ |
ศัพทมูล
แก้บางกอกโพสต์ ว่า "ควีโยมี" เป็นภาษาปากเกาหลีหมายถึงบุคคลน่ารัก[2] ส่วนเนื้อเพลงมีความหมายว่า "1 + 1 = น่ารัก, 2 + 2 = น่ารัก ฯลฯ"[2]
ในทางภาษาศาสตร์ "ควีโยมี" มาจากคำวิเศษณ์ "ควียออุน" (귀여운, gwiyeoun) ซึ่งหมายความว่า น่ารัก โดย "ควียอ" (귀여, gwiyeo) แปลว่า ความน่ารัก และ "อุน" (운, un) เป็นปัจจัย ส่วน "มี" (미, mi) นั้นเป็นวิเศษณ์ ใช้แปลงวิเศษณ์ด้วยกันให้เป็นนาม เมื่อเติมท้ายคำวิเศษณ์ด้วยกันแล้วจะมีผลเป็นบุคคลวัต เพราะฉะนั้น "ควีโยมี" จึงแปลว่า บุคคลน่ารัก
การเผยแพร่และผลตอบรับ
แก้ท่าควีโยมีเพลเยอร์นั้นปรากฏครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ในรายการ บีทูบีเอ็มทีวีไดเอรีเมนี ครั้งนั้นมีวงไอดอลบีทูบี (BtoB) เป็นผู้ร่วมรายการ และช็อง อิล-ฮุน สมาชิกวงบีทูบี ได้แสดงท่าทางต่าง ๆ พร้อมถ้อยคำ "ควีโยมี" ท่าทางดังกล่าวนี้บรรดาผู้นิยมเคป็อปเห็นว่าน่ารักน่าชม และได้รับการทำซ้ำโดยศิลปินเกาหลีอีกหลายคนในช่วงปลายปี พ.ศ. 2555 เช่น มิสเอ (Miss A), เกิลส์เจเนอเรชัน (Girls' Generation), อินฟินิต (Infinite) และซิสตาร์ (Sistar)[4]
ครั้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ฮารีได้เผยแพร่เพลงชื่อ "ควีโยมี" โดยขับร้องเนื้อเพลงไปพร้อมกับทำท่าควีโยมีเพลเยอร์[3] ต่อมา ช็อง อิล-ฮุน ร้องเพลงดังกล่าวพร้อมทำท่าควีโยมีเพลเยอร์ แล้วอัดมิวสิกวิดีโอลงเผยแพร่ในช่องของบริษัทคิวบ์เอนเตอร์เทนเมนต์ (Cube Entertainment) บนเว็บไซต์ยูทูบ (YouTube) เป็นเหตุให้เพลงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว[5] ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้วัยรุ่นชาวเกาหลีใต้จำนวนมากเผยแพร่วิดีโอตนเองร้องและทำท่าทำนองเดียวกันลงบนอินเทอร์เน็ต[3] เว็บไซต์ซูมพี (Soompi) กล่าวว่า ในภายหลัง วิดีโอเหล่านี้หลายฉบับได้รับความนิยมในเว็บท่าภาษาเกาหลีหลายเว็บไซต์เช่นกัน[6]
ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา วัยรุ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์ ได้เผยแพร่วีดิทัศน์ตนเองร้องและทำท่าอย่างเดียวกัน ในจำนวนนี้ รวมถึงชาวไทยบางคนผู้มีชื่อเสียง เช่น หนึ่งธิดา โสภณ และวิรพร จิรเวชสุนทรกุล วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556 บางกอกโพสต์ พรรณนาว่า เพลง "ควีโยมี" เป็นกระแสความสนใจแบบไวรอลบนเว็บไซต์กระแสล่าสุดที่มาแทน "คังนัมสไตล์" (Gangnam Style)[2]
สำหรับประเทศฟิลิปปินส์นั้น "ควีโยมี" ได้รับความนิยมหลังจากที่ไวซ์ กานดา (Vice Ganda) พิธีกรและนักแสดงตลก ทำฉบับของตนในรายการโทรทัศน์ อิตส์โชว์ไทม์ (It's Showtime) ของช่องเอบีเอส-อีบีเอ็น (ABS-CBN)[7]
ครั้นต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอินเทอร์เน็ตจีน (China Internet Information Center) ซึ่งเป็นเว็บท่าภายใต้การกำกับดูแลของสำนักข้อมูลข่าวสาร คณะรัฐมนตรี (State Council Information Office) รายงานว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนจำนวนมากก็ได้ทำ "ควีโยมี" ฉบับของตนลงเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต[8] โดยวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 สำนักข่าวซินหัว (Xinhua News Agency) เผยแพร่บทความในหนังสือพิมพ์ว่า "ควีโยมี" เป็นท่วงทำนองเพลงเกาหลีใต้ฉบับล่าสุดที่ได้รับความนิยมเหนือกว่า "คังนัมสไตล์"[9]
ปรากฏการณ์ควีโยมียังเกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ ณ ภูมิภาคเดียวกัน เป็นต้นว่า ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์[10] ฮ่องกง[11] และสาธารณรัฐจีน[12]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Ilhoon (정일훈 of BTOB) - 하리 귀요미 송 (남자 버전) - มิวสิกวิดีโอ "ควีโยมิ" ฉบับช็อง อิล-ฮุน
อ้างอิง
แก้- ↑ "Gwiyomi Song - Hari". MelOn. LOEN Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2013. สืบค้นเมื่อ December 17, 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "'Kiyomi' grabs cute Thai girls". The Bangkok Post. 2013-03-26. สืบค้นเมื่อ 2013-04-04.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Adrina (2013-03-28). "South Korean's New Dance Craze 'Gwiyomi Player'". Lipstiq.com. สืบค้นเมื่อ 2013-04-04.
- ↑ "What is 'Gwiyomi Player'? It is Quite the Thing in Korea". The Seener. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 6 April 2013.
- ↑ "Ilhoon (정일훈 of BTOB) - 하리 귀요미 송 (남자 버전)". YouTube. สืบค้นเมื่อ 6 April 2013.
- ↑ "BtoB's Jung Il Hoon Shows Off His Aegyo with Male Version of "Gwiyomi Song"". Soompi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-05. สืบค้นเมื่อ 7 April 2013.
- ↑ "Vice Ganda Goes Gwiyomi (Video)". Kamukamo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-19. สืบค้นเมื่อ 8 April 2013.
- ↑ "凤凰传奇鸟叔曲婉婷 2012十大洗脑神曲盘点" (ภาษาจีน). China Internet Information Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2014. สืบค้นเมื่อ 6 April 2013.
不但成为网络热搜话题,也吸引了大批网友相继模仿
- ↑ "江南style"已落伍 新洗脑神曲"可爱颂"爆红". Xinhua News Agency. สืบค้นเมื่อ 6 April 2013.
- ↑ Soh, Elizabeth. "Are you cute enough for "Gwiyomi"?". Yahoo! Singapore. สืบค้นเมื่อ 8 April 2013.
The craze has caught on here in Singapore after sweeping Thailand by storm, with local bloggers making videos of their own versions of the Gwiyomi song.
- ↑ "嘟嘴妹《可愛頌》港男熱捧". Hong Kong Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 8 April 2013.
- ↑ "超萌《可愛頌》掀瘋潮 露點版巨乳版暴紅" (ภาษาจีน). Apple Daily (Taiwan). สืบค้นเมื่อ 8 April 2013.