ความรุนแรงนอกกฎหมายอันเนื่องจากวัวในอินเดีย

ในประเทศอินเดีย ซึ่งวัวได้รับการบูชาโดยประชากรจำนวนมาก มีความรุนแรงนอกกฏหมายเกี่ยวกับวัวเกิดขึ้น (Cow vigilante violence in India) ความรุนแรงนี้ประกอบด้วยการโจมตีของกลุ่มพลเรือนที่ตั้งตนเป็นศาลเตี้ย ภายใต้ชื่อ “ขบวนการปกป้องวัว” ซึ่งตั้งเป้าไปที่กลุ่มคนที่ลักลอบขนวัวโดยผิดกฏหมาย ในบางครั้งแม้แต่การขนวัวโดยถูกตามกฏหมายก็ตกเป็นเป้าของการโจมตีนี้ด้วย จำนวนการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2014[1][2]

แผนที่แสดงกฏหมายเกี่ยวกับการฆ่าวัวในแต่ละรัฐของอินเดีย โดยสีเขียว - วัวและกระทิงสามารถฆ่าได้, สีเหลือง - กระทิงสามารถฆ่าได้ และ สีแดง ห้ามฆ่าวัว กระทิง โดยเด็ดขาด

ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงมายาวนานว่าถึงแม้ข้อมูลรัฐบาลจะบอกว่าความตึงเครียดในประเด็นนี้ในระดับชุมชนได้ลดลงหลังปี 2014 แต่เหตุการณ์ความรุนแรงในความเป็นจริงนั้นได้ลดลงหรือไม่[3][4] รัฐในอินเดียส่วนใหญ่มีกฏหมายของรัฐที่ห้ามการฆ่าวัวควาย[5] กลุ่มศาลเตี้ยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อ้างว่าตั้งขึ้นเพื่อปกป้องวัวควาย นำไปสู่ความรุนแรงและนำไปสู่การทำร้ายร่างกายถึงแก่ชีวิต กลุ่มปกป้องวัวพวกนี้มองตัวเองว่ากำลังหยุดยั้งการขโมยวัว และทำตัวเป็นผู้พิทักษ์กฏหมายห้ามฆ่าวัวควายในอินเดีย สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่ามีการโจมตีของกลุ่มศาลเตี้ยดังกล่าวรวมถึง 63 ครั้งทั่วอินเดีย ระหว่างปี 2010 ถึงกลางปี 2017 ส่วนมากเกิดขึ้นหลังนเรนทระ โมทีก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวาระแรกในปี 2014 ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงดังกล่าว 28 คน โดย 24 คนในจำนวนนี้เป็นมุสลิม และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 124 คน[6]

เหตุการณ์ศาลเตี้ยนี้เกิดขึ้นมากขึ้นมากหลังพรรคภารตียชนตา (BJP; Bharatiya Janata Party) ชนะการเลือกตั้งเข้าสู่การเป็นรัฐบาลกลางเมื่อปี 2014 ความถี่และความรุนแรงของศาลเตี้ยเหล่านี้ถือว่าเกิดขึ้น “เป็นประวัติการณ์” (unprecedented)[7] ฮิวแมนไรตส์วอตช์ รายงานว่าเหตุการณ์ศาลเตี้ยอันเนื่องจากวัวนี้เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ปี 2015[8] การเพิ่มจำนวนนี้ส่วนหนึ่งมาจากชาตินิยมฮินดูที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในอินเดีย[7][9] กลุ่มศาลเตี้ยจำนวนมากระบุว่าพวกเขารู้สึก “มีอำนาจ” ขึ้นจากชัยชนะของพรรค BJP ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมฮินดู ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2014[10][11] ศาลสูงอินเดียออกกฏในเดือนกันยายน ปี 2017 ว่า แต่ละรัฐควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในลนแต่ละเขตเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ย่านกลาง (nodal officer) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มที่ตั้งตนเป็นศาลเตี้ยนอกจากนี้ศาลยังแสดงความเป็นห่วงว่าสัตว์เหล่านี้กำลังถูกฆ่าอย่างผิดกฏหมาย อย่างเช่นกรณีพบซากศพของวัวควายที่ถูกฆ่ากว่า 200 ตัวลอยเกลื่อนในแม่น้ำพิหาร[12]

อ้างอิง แก้

  1. Kazmin, Amy (17 July 2017). "Indian PM distances himself from cow vigilante attacks". Financial Times. London. India's prime minister Narendra Modi has distanced himself from a spate of mob attacks in the name of “cow protection” that have mostly targeted Muslims.
  2. Biswas, Soutik (10 July 2017). "Why stopping India's vigilante killings will not be easy". BBC News. Last month Prime Minister Narendra Modi said murder in the name of cow protection is "not acceptable."
  3. S, Rukimini (3 July 2017). "Can Data Tell Us Whether Lynchings Have Gone Up Under Modi, And Should It Matter?". Huffington Post. London. Can Data Tell Us Whether Lynchings Have Gone Up Under Modi, And Should It Matter?.
  4. Kumar, Nikhil (29 June 2017). "India's Modi Speaks Out Against Cow Vigilantes After 'Beef Lynchings' Spark Nationwide Protests". Time. India's Prime Minister Narendra Modi has spoken out against violence by cow vigilante groups, a day after thousands of Indians gathered in cities across the country on Wednesday evening to protest against a string of attacks on minority Muslims that have sparked concern about the fraying of India's secular fabric.
  5. P.J. Li, A. Rahman, P.D.B. Brooke and L.M. Collins (2008). Michael C. Appleby (บ.ก.). Long Distance Transport and Welfare of Farm Animals. CABI. ISBN 978-1-84593-403-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. "Protests held across India after attacks against Muslims". Reuters. June 28, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 29 June 2017.
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PRI
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HRW1
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ JobLoss
  10. Soutik Biswas. "Why the humble cow is India's most polarising animal". BBC News.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Risk
  12. "Take urgent steps to stop cow vigilantism, Supreme Court tells Centre and states - Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2017-11-07.