ธนาคารออมสิน
ธนาคารออมสิน มีสถานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย เน้นการให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีรูปแบบของสินเชื่อและชนิดการฝากเงินรายย่อยมากมาย อีกทั้งยังสร้างเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มชุมชน โครงการธนาคารเพื่อประชาชน โดยให้สินเชื่อระยะสั้น แก่ผู้ประกอบการรายย่อย (ให้ประชาชนมาเป็นหนี้ในระบบ ที่สามารถตรวจสอบได้ และการเก็บดอกเบี้ยตามความเป็นจริง) เป็นช่องทางการรับและจ่ายเงินกู้ จากโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อีกทั้งยังลงทุนในการพัฒนาประเทศ ของหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ให้บริการรูปแบบเงินฝากที่หลากหลาย เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย รวมทั้งมีการให้บริการตามหลักศาสนาอิสลาม ปัจจุบันมีจำนวนสาขาทั้งหมด 1,057 แห่งทั่วประเทศ
Government Savings Bank | |
![]() | |
![]() | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2456 |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
สำนักงานใหญ่ | 470 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 |
งบประมาณประจำปี | 1,392.601ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัด | กระทรวงการคลัง |
เว็บไซต์ | www.gsb.or.th |
ในสิ้นปี 2565 ธนาคารออมสิน เป็นรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด ลำดับที่ 4[3]
ประวัติ แก้
"...แท้จริงเรื่องคลังออมสินนี้ เราได้คิดมานานแล้ว แต่หากยังมีข้อขัดข้องบางอย่างซึ่งในเวลานั้นจะยังจัดไม่ได้ จึ่งได้พึ่งมาสำเร็จ และได้ออกพระราชบัญญัติในต้นศกนี้ ที่เราต้องกล่าวเช่นนี้เพราะจะให้เห็นว่า การที่จะทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ซึ่งเป็นการสำคัญและยากนั้น ไม่ใช่พอนึกจะทำก็ทำได้ง่ายๆ จำที่เราจะต้องคิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ มุ่งให้ได้ประโยชน์แก่บ้านเมืองจริง ป้องกันทางเสื่อมเสียพลั้งพลาดต่างๆ ให้ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้..."
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคลของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทดลองตั้งธนาคารรับฝากเงิน ณ พระตำหนักจิตรลดา (เดิม) ซึ่งต่อมาคือวังปารุสกวัน ด้วยพระราชประสงค์ให้มหาดเล็ก และข้าราชบริพารของพระองค์ ได้เรียนรู้วิธีการดำเนินงานของธนาคาร และปลูกฝังนิสัยรักการออม พระราชทานชื่อธนาคารนี้ว่า “ลีฟอเทีย” อันมีที่มาจากผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคาร ๓ ท่าน ได้แก่
๑. “ลี” แปลว่า โต หรือใหญ่ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ขณะนั้นดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ
๒. “ฟอ” มาจากคำว่า เฟื้อ เป็นนามเดิมของเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
๓. “เทีย” มาจากคำว่า เทียบ เป็นนามเดิมของพระยาคทาธรบดี (เทียบ อัศวรักษ์) ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ
การทดลองตั้งธนาคารลีฟอเทีย
เป็นเหตุให้ทรงมีโอกาสศึกษานิสัยการออมของคนไทย ที่ยังมีข้อติดขัดบกพร่องอยู่หลายประการ ก่อให้เกิดพระบรมราชกุศโลบายจะให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออม นับเป็นปฐมบทของคลังออมสินในเวลาต่อมา
ครั้นเมื่อเสด็จดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ทรงพระราชปรารภถึงการรักษาทรัพย์สมบัติ ซึ่งประชาชนอุตสาหะประกอบการทำมาค้าขาย มีกำไรออมไว้เป็นทุนรอนได้แล้ว แต่การรักษาให้ปราศจากอันตรายยังเป็นการลำบาก เพราะไร้ที่ฝากฝังอันมั่นคง ส่วนการที่ประชาชนออมสินไว้เพื่อประโยชน์ยืนยาวข้างหน้า ไม่จับจ่ายเพื่อความเพลินใจชั่วขณะนั้น เป็นสิ่งควรอุดหนุนอย่างยิ่ง
ทรงพระราชดำริว่า การรักษาสินซึ่งออมไว้เช่นนี้ มีทางที่จะทรงพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ได้ ด้วยการตั้งคลังออมสิน เพื่อประโยชน์ในการรับรักษาเงินที่ประชาชนจะนำมาฝากเป็นรายย่อย และรับภาระจัดให้เงินนั้นเกิดผลแก่ผู้ฝากตามสมควร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช ๒๔๕๖” ขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ เป็นต้นไป
ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะขยายกิจการคลังออมสินให้กว้างขวางขึ้น จึงโอนกิจการคลังออมสิน จากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข (ปัจจุบันเป็น สำนักงาน กสทช. แต่ก่อนจะแปรสภาพ ส่วนหนึ่งได้กลายเป็นวิวัฒนาการให้กับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)) กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (ปัจจุบันแยกเป็นคือกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม) มีสถานะเป็นแผนกคลังออมสินในกองบัญชี เมื่อปี พ.ศ. 2472 เป็นผลให้ราษฎรสามารถฝากและถอนเงิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ได้ เช่นเดียวกับบริการออมสิน ของกรมไปรษณีย์ประเทศญี่ปุ่น และกรมไปรษณีย์ประเทศเยอรมนี
กระทั่งปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลในสมัยที่ ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี ยกระดับให้คลังออมสิน เปลี่ยนสถานะเป็น "ธนาคารออมสิน" มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2490เพื่อทำหน้าที่การธนาคาร และเป็นสถาบันการออมทรัพย์ที่สมบูรณ์แบบ เช่นเดียวกับธนาคารนานาประเทศ
ตราสัญลักษณ์ แก้
ตราสัญลักษณ์ของธนาคารออมสิน เป็นรูปวงกลม ภายในแบ่งออกเป็นสามส่วน แต่ละส่วนประกอบด้วย วชิราวุธ เบญจปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรห้าชั้น) และต้นไทร อันมีความหมายดังต่อไปนี้
- วชิราวุธ เป็นเครื่องหมายประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระราชทานกำเนิดคลังออมสินขึ้นในประเทศไทย
- เบญจปฎลเศวตฉัตร เป็นเครื่องหมายประจำพระองค์ พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้ทรงวางรากฐาน และทำนุบำรุงกิจการธนาคารออมสิน ให้มีความเจริญก้าวหน้า
- ต้นไทร หมายถึงความร่มเย็น ความมั่นคง และความเจริญงอกงามตลอดกาล
สลากออมสิน แก้
สลากออมสิน เป็นรูปแบบหนึ่งของการออมทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษ ผลตอบแทนที่ผู้ฝากได้รับนอกจากดอกเบี้ยแล้วยังสามารถทวีเงินออมโดยผู้ฝากมีสิทธิถูกรางวัลตามที่ธนาคารกำหนด โดยทั้งดอกเบี้ยและเงินรางวัลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งธนาคารมักจะโฆษณาด้วยข้อความที่ว่า สลากออมสินไม่กินทุน
สลากออมสินนี้เป็นสลากที่เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนอกเหนือจากสลากกินแบ่งรัฐบาล สลากที่ออกโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และสลากที่ออกโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งยังไม่มีธนาคารเอกชนรายใดได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในลักษณะนี้ได้
วันออมสิน แก้
วันออมสิน ตรงกับวันที่ 1 เมษายนของทุกปี กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงการตั้งธนาคารออมสินโดยจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการรักนิสัยการออมเงินสำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป โดยธนาคารออมสินทั่วประเทศได้จัดให้มีการรับฝากเงิน และมอบของที่ระลึก เป็นประจำทุกปี
วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันออมสิน เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานกำเนิดคลังออมสิน (ต่อมาคือ “ธนาคารออมสิน” ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๘๙) เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาทรัพย์สิน และส่งเสริมการออมของประชาชน ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศในทุกด้านตราบถึงปัจจุบัน
กีฬาธนาคารโรงเรียน ธนาคารออมสิน แก้
ธนาคารออมสินจัดแข่งขันกีฬาธนาคารโรงเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและนักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้านกีฬา ควบคู่กับการส่งเสริมการออมในระดับเยาวชน และสามารถต่อยอดไปสู่การแข่งขันในระดับประเทศ
ครั้งที่ | ชื่อ | ชนิด | กีฬา |
---|---|---|---|
"กรุงเทพมหานคร" |
|||
"เชียงใหม่" |
|||
"นครราชสีมา" |
กรีฑา, เซปักตะกร้อ, เปตอง, เทเบิลเทนนิส, เทนนิส, แบดมินตัน | ||
"นครสวรรค์" |
กรีฑา, เซปักตะกร้อ, เปตอง, เทเบิลเทนนิส, เทนนิส, แบดมินตัน | ||
"ขอนแก่น" |
|||
อ้างอิง แก้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ รองผู้อำนวยการอาวุโส
- ↑ ปตท.แชมป์ ส่งรายได้เข้ารัฐมากสุด 1.89 หมื่นล้านบาท