คลองประตูเทพหมี

คลองประตูเทพหมี [เทบ-พะ-หมี],[1][2] คลองประตูเทษหมี หรือ คลองประตูหลวงเทพอรชุน[3] เป็นคลองหนึ่งบนเกาะเมืองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ทอดยาวแนวเหนือใต้จากแม่น้ำลพบุรีทะลุแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตเป็นคลองที่มีขนาดกว้างขวางถึงขนาดที่เรืออัญเชิญพระราชสาสน์สามารถเคลื่อนขบวนเรียงสามลำเข้าไปได้ แต่ในปัจจุบันคลองประตูเทพหมีได้ตื้นเขินหมดแล้ว แต่ยังพอมีร่องรอยของคลองให้เห็นบริเวณสะพานประตูเทพหมีหรือสะพานวานรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

แผนที่เกาะเมืองที่เขียนโดยโยฮันเนส วิงก์บุนส์ (Johannes Vinckboons) ชาวดัตช์ (พ.ศ. 2208) จากภาพจะเห็นคลองประตูเทพหมีบริเวณซ้ายล่างที่คลองจะมีลักษณะโค้งโก่งเหมือนคันธนู กลางคลองมีสะพานตัดผ่านคือสะพานประตูเทพหมี

ที่มาของชื่อ แก้

ชื่อคลองประตูเทพหมีนั้น ตั้งชื่อตามสะพานข้ามคลองคือสะพานประตูเทพหมี หรือ เทษหมี (เทษ คือคำเดียวกับคำว่าเทศ ที่หมายถึงชาวต่างชาติ) โดยสะพานดังกล่าวมีหลวงเทพอรชุน (หมี) เป็นผู้อำนวยการสร้าง ที่มีช่างชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นแขกเทศจำพวกหนึ่ง ก่อสร้างจนมีลักษณะเด่นคือมีวงโค้งรูปกลีบบัวสำหรับเป็นช่องให้เรือลอดผ่าน[4] บ้างก็ว่าตั้งชื่อตามเพราะหลวงเทพอรชุน (หมี) ตั้งบ้านอยู่บริเวณนั้น[5]

พิรักษ์ ชวนะเกรียงไกร เสนอว่าบริเวณดังกล่าวอาจเป็นบ้านเดิมของเจ้าพระยาพลเทพ (หมี) จึงตั้งชื่อตาม[6]

น. ณ ปากน้ำ เสนอว่าตั้งตามชุมชนที่เป็นมุสลิมต่างด้าวหรือที่เรียกว่าแขกเทศ[6]

จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน วิเคราะห์ว่าอาจเป็นคำเปอร์เซียว่า "เทสมี" แปลว่า "ประตู"[1]

ประวัติ แก้

 
คลองประตูเทพหมีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ขณะนั้นสามารถเดินทางไปถึงวัดมหาธาตุได้

คลองประตูเทพหมี หรือคลองประตูเทษหมี บ้างเรียกคลองประตูเทษเป็นคลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเกาะเมือง จากเอกสารของชาวต่างประเทศและจากซากของสะพานประตูเทพหมีทำให้ทราบว่าคลองดังกล่าวน่าจะกว้างถึง 12 เมตรเศษที่กว้างขวางพอที่จะรองรับเรืออัญเชิญพระราชสาสน์เคลื่อนขบวนเรียงสามลำผ่านสะพานดังกล่าวได้[7] และจากแผนที่ของชาวตะวันตกจะพบว่าปลายคลองนี้มีลักษณะโค้งโก่งดั่งคันธนู[7] ต่างจากคลองอื่น ๆ ในเกาะเมืองซึ่งล้วนแต่มีลักษณะตรง[5] ในอดีตคลองดังกล่าวเป็นที่ตั้งเรือนของขุนนางชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากเช่น เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ทั้งยังมีวัดในพุทธศาสนาจำนวนมาก และมีชุมชนต่าง ๆ เช่น บ้านแห ขายแหและเปล มีชุมชนบ้านพราหมณ์ มีชุมชนและตลาดของชาวมุสลิมขนาดใหญ่อาศัยอยู่เรียกว่าบ้านแขกใหญ่เรียกว่าตลาดจีน[5][8] และเป็นที่ตั้งเรือนรับรองคณะทูตฝรั่งเศสและโปรตุเกส[5] ส่วนสะพานข้ามคลองประตูเทพหมีนี้ก็เชื่อมต่อกับชุมชนชาวจีนทางตอนใต้ของเกาะเมืองด้วย[9]

ในอดีตคลองประตูเทพหมีทิศเหนือทะลุแม่น้ำลพบุรี ผ่านบึงพระรามก่อนทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศใต้ ตัวคลองสามารถเชื่อมต่อกับคลองฉะไกรน้อยผ่านทางคลองวัดฉัตรทัน[10] และมีคลองที่เชื่อมคลองประตูจีนทางทิศตะวันออก ที่สามารถเชื่อมคลองในไก่[10]

ปัจจุบันคลองประตูเทพหมีตื้นเขินหมดจนไม่เหลือสภาพของคลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนเกาะเมืองเสียแล้ว แต่ยังพอมีร่องรอยของคลองให้เห็นบริเวณสะพานประตูเทพหมีหรือสะพานวานรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาจากขนาดของสะพานก็พอจะอนุมานความกว้างของคลองได้[4] และในยุคหลังมานี้ได้มีแนวคิดในการฟื้นฟูคลองประตูเทพหมีเพื่อให้เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง[10] ต่อมามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาก่อสร้างอาคารเรียนสาขาศิลปกรรมศาสตร์คล่อมคลองประตูเทพหมีบริเวณสะพานประตูเทพหมี กรมศิลปากรมีมติให้ทำการรื้อถอนอาคารดังกล่าวจากแนวคลองตั้งแต่ พ.ศ. 2560 แต่ยังไม่มีความคืบหน้าประการใด[1][2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "สร้างตึกคร่อมคลองโบราณใกล้บ้านพระเพทราชา กรมศิลป์สั่งระงับ-จี้รื้อ 2 ปีไม่คืบ". มติชนออนไลน์. 27 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "นัก ปวศ.ชี้ 'ผิดแต่ต้น' ราชภัฏอยุธยาสร้างตึกคร่อมคลองโบราณ ชื่นชมกรมศิลป์ไม่ยอมถอย". มติชนออนไลน์. 27 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Prapaporn Taengpun (14 พฤศจิกายน 2558). "สะพานวานร คลองประตูหลวงเทพอรชุน (เทพหมี)". สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 กำพล จำปาพันธ์. อยุธยา จากสังคมเมืองท่านานาชาติ สู่มรดกโลก. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2559. หน้า 27
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 พันทิพา มาลา และอดิศร สุพรธรรม (2553). ประวัติความเป็นมาของโบราณสถานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (PDF). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. p. 97-100. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-27. สืบค้นเมื่อ 2019-07-27.
  6. 6.0 6.1 พิทยะ ศรีวัฒนสาร (10 มกราคม 2554). "แขกเทศ : ชาวโปรตุเกส หรือ แขกมุสลิม?". สยาม-โปรตุเกสศึกษา. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 Prapaporn Taengpun (28 สิงหาคม 2558). "ภูมินามวิทยาพระนครศรีอยุธยา". สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "ย้อนรอยอารยธรรมเปอร์เซียและชมโบราณสถานกรุงเก่า". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-29. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. วนิช สุธารัตน์. ภูมินามวิทยา : พระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2550, หน้า 15-16
  10. 10.0 10.1 10.2 ณัฐดนัย ใหม่ซ้อน (8 พฤศจิกายน 2558). "อยุธยา (อยู่) กับน้ำ ฟื้นคูคลองเมืองมรดกโลก". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)