อำนวย กลัสนิมิ

(เปลี่ยนทางจาก ครูเนรมิต)

อำนวย กลัสนิมิ หรือ ครูเนรมิต (พ.ศ. 2458 − 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์ไทยด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2538

เนรมิต
เนรมิต เมื่อ พ.ศ. 2503 ระหว่างถ่ายทำ เสือเฒ่า
เนรมิต เมื่อ พ.ศ. 2503 ระหว่างถ่ายทำ เสือเฒ่า
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิดพ.ศ. 2458
อำนวย กลัสนิมิ
เสียชีวิต19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (90 ปี)
อาชีพผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ ละครเวที
ปีที่แสดง2485−2528
ผลงานเด่นร่วมประพันธ์เพลงน้ำตาแสงไต้ กับ ทวี ณ บางช้าง (ครูมารุต)
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2538สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับการแสดง)
ชมรมวิจารณ์บันเทิงพ.ศ. 2535 − รางวัลพิเศษ "เกียรติคุณแห่งความสำเร็จ"
ThaiFilmDb
ใจเพชร (2506)
พันธุ์ลูกหม้อ (2507)
สิงห์ล่าสิงห์ (2507)

ประวัติ

แก้

กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก บ้านไร่นาเรา ที่มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติ สร้างโดยกองภาพยนตร์ทหารอากาศ ตามนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2485

ต่อมากำกับละครเวที ร่วมกับ ทวี ณ บางช้าง (หรือ ครูมารุต) ให้กับคณะละครศิวารมย์ และคณะอัศวินการละครอีกหลายเรื่อง เช่น เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ฯลฯ [1][2][3] รวมทั้งกำกับภาพยนตร์อีกจำนวนมาก

ภาพยนตร์ 16 มม.เด่น ๆ ที่สร้างชื่อเสียงอย่างมาก ได้แก่ โบตั๋น (2498) สามารถทำรายได้ถึงหนึ่งล้านบาท, หงษ์หยก (2499) ที่มีเก่อ หลานนักแสดงจากฮ่องกง ร่วมแสดงและขับร้องเพลงประกอบ, วรรณกรรมอมตะของยาขอบ ผู้ชนะสิบทิศ (2509−2510) ซึ่งต้องลงทุนสูงใช้ผู้แสดงจำนวนนับร้อยในฉากพลทหารและช้างศึกโจมตีเมือง หรือการรบแบบประจันหน้าในพื้นที่เต็มไปด้วยโคลนกลางทุ่ง ให้บรรยากาศสมจริงของสมรภูมิสมัยโบราณ ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบากทั้งนักแสดงและมุมกล้องทั้งก่อนและระหว่างการถ่ายทำ ฯลฯ

เรื่องอื่น ๆ ล้วนประสบความสำเร็จอย่างดี เช่น สาปสวาท, วิมานไฟ, พระจันทร์แดง, แม่ย่านาง, ค่าของคน, สื่อกามเทพ, ชลาลัย และ ผู้กองยอดรัก เป็นต้น

ผลงานภาพยนตร์

แก้

บทภาพยนตร์

แก้

รางวัล

แก้
  • รางวัลพิเศษ "เกียรติคุณแห่งความสำเร็จ" รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี พ.ศ. 2535[4]
  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้าง-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2538

อ้างอิง

แก้
  1. ชีวประวัติ อำนวย กลัสนิมิ[ลิงก์เสีย]
  2. "ชีวประวัติ อำนวย กลัสนิมิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-12. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
  3. "ชีวประวัติ อำนวย กลัสนิมิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-20. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
  4. "รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี พ.ศ. 2535". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.