ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร หรือ ครูบามหาเถร เป็นมหาเถระที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในภาคเหนือ (ล้านนา) และเป็นผู้แตกฉานในภาษาบาลีและภาษาล้านนา เจ้าหลวงเชียงใหม่ทรงตั้งฉายาให้ท่านว่าครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร ถือเป็นปฐมครูบาเจ้าแห่งล้านนา
ครูบาเจ้ากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร (ปอย กญฺจโน) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2332 นครแพร่ (89 ปี ปี) |
มรณภาพ | พ.ศ. 2421 |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | นครแพร่ |
อุปสมบท | พ.ศ. 2352 |
พรรษา | 69 |
ประวัติ
แก้ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร หรือ ครูบามหาเถร เป็นมหาเถระนักปฏิบัติที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในภาคเหนือ (ล้านนา) มีชื่อเดิมว่าปอย บิดาชื่อนายสปินนะ มารดาชื่อนางจันทร์ทิพย์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2332 ปีระกา ที่อำเภอสูงเม่น เมืองนครแพร่ (ปัจจุบันคือจังหวัดแพร่) บวชเป็นสามเณรตั้งแต่เด็กและอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. 2352 ณ วัดศรีชุม จังหวัดแพร่ ได้รับฉายาว่า "กัญจนภิกขุ" ท่านได้ทำการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและภาษาบาลีจนแตกฉาน รวมทั้งภาษาบาลี ได้ช่วยเป็นครูสอนพระภิกษุในวัดศรีชุมต่อมาระยะหนึ่ง ก่อนย้ายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสูงเม่น ครูบามหาเถรให้ความสนใจทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน มุ่งศึกษาจนแตกฉาน สามารถเป็นครูสอนได้อย่างเชี่ยวชาญ ภายหลังได้ไปศึกษาต่อที่วัดสวนดอก (พระอารามหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ เข้ารับการศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระมหาราชครูแห่งวัดสวนดอก เนื่องด้วยพระมหาราชครูมีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ มีอำนาจทางคณะสงฆ์เป็นอย่างมาก แต่ท่านให้ความเลื่อมใสครูบามหาเถรที่มีความเชี่ยวชาญด้านอักษรบาลีและพระธรรมวินัย จึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร มรณภาพ พ.ศ. 2421 สิริอายุ 89 ปี พรรษา 69 ณ วัดป่ามะม่วง เมืองระแหง (จังหวัดตากในปัจจุบัน) ตรงกับปีที่ครูบาศรีวิชัยกำเนิด
สมณศักดิ์
แก้ครูบามหาเถร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2402 ได้รับสมณศักดิ์ฉายาจากเจ้าหลวงนครเชียงใหม่ว่า "ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร"
ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ใฝ่ในการศึกษาล่าเรียนต่อในประเทศพม่า จนสำเร็จฌาณสมาบัติชั้นสูง ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ นำมาทูลเกล้ามาถวายพระยาอินทวิไชย เจ้าผู้ครองนครแพร่ ต่อมาพระยานครแพร่ได้นำเข้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่พระองค์ท่านทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงให้นำกลับมาไว้ที่เจดีย์วัดมหาโพธิ์ ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เพื่อเป็นสมบัติของชาวแพร่สืบไปตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และได้รวบรวมคัมภีร์ใบลานจากหลวงพระบาง แพร่ น่าน มาไว้ที่หอพระไตรปิฎกวัดสูงเม่น
การสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถาน
แก้ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วภาคเหนือ สะสมสรรพวิชาไว้ในคัมภีร์ใบลาน นอกจากนี้ ชาวสูงเม่นได้ร่วมกันสร้างเจดีย์ทรงหกเหลี่ยมย่อมุมไม้ 12 ภายในบรรจุพระบรมธาตุและพระสารีริกธาตุ ซึ่งครูบามหาเถรนำมาจากประเทศพม่าเมื่อปีพ.ศ. 2383 จำนวน 3 ดวง ประดิษฐานรูปจำลองของครูบามหาเถร สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2508 ครูบามหาเถรใช้เส้นทางเดินศึกษาธรรมะจากนครแพร่ไปนครเชียงใหม่ จากนครแพร่ไปเมืองตาก ผ่านแม่สอด เมืองระแหง ข้ามไปประเทศพม่า อาทิ
- พ.ศ. 2383 สร้างเจดีวัดมหาโพธิ์ ตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
- พ.ศ. 2403 หล่อระฆังกังสดาลใหญ่ที่วัดพระสิงห์
- พ.ศ. 2412 ร่วมกับพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พระเจ้านครเชียงใหม่ บูรณปฏิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
- สร้างหอไตร และแกะสลักพระพุทธรูปไม้จำนวนมากวัดสูงเม่นและวัดศรีดอก ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น รวมไปถึงวัดดอนแก้ว ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น
ปัจจุบัน วัดสูงเม่นได้เก็บรวบรวมคัมภีร์โบราณล้านนาไว้จำนวนมาก กลายเป็นแหล่งวรรณกรรมและตำรายา รวมถึงการบันทึกเรื่องราวในอดีตไว้อย่างน่าสนใจ จากการสำรวจและศึกษาวิจัย พร้อมทั้งทำการรวบรวมเก็บรักษาอย่างถูกวิธี โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร เป็นประธานคณะกรรมการ, ดร.ฮัลเลห์ เพนธ์ เป็นที่ปรึกษา เข้ามาศึกษาค้นคว้าเพื่อการอนุรักษ์และจัดแยกหมวดหมู่ ถ่ายไมโครฟิล์มไว้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดแยกคัมภีร์ออกเป็นมัด บรรจุใส่ถุงผ้าจำนวน 2,567 มัด จัดเป็นผูกได้ 8,845 ผูก
จำแนกหมวดหมู่ รหัสชื่อเรื่อง ระบุจำนวนผูกปีและรหัสไมโครฟิล์มไว้อย่างเป็นระบบ บรรจุใส่ตู้จำนวน 10 หลัง มีอยู่ทั้งหมด 21 หมวด ดังนี้
- พระวินัย
- พระสุตตันปิฏก
- พระอภิธรรม
- คัมภีร์ภาษาบาลี
- บทสวดมนต์
- อานิสงส์
- ชาดก
- โอวาทคำกลอน
- ประเพณีพิธีกรรม
- ธรรมทั่วไป
- นิยายธรรม
- นิยายนิทานพื้นบ้าน
- ตำนานพุทธศาสนา
- ตำนานเมือง ราชวงศ์
- กฎหมาย
- ตำราอักษรศาสตร์
- กวีนิพนธ์ ร้อยกรอง
- ตำราโหราศาสตร์
- ตำรายา
- รวมหลายหมวด
- อื่นๆ
ครูบามหาเถร จึงนับเป็นพระภิกษุที่ทำคุณประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาไว้อย่างมหาศาลยิ่ง
อ้างอิง
แก้- ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. นครแพร่ จากอดีตมาปัจจุบัน ภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. 2551. หน้า 194 – 195