คริสตี้ กิ๊บสัน

(เปลี่ยนทางจาก คริสตี กิบสัน)

คริสตี้ กิ๊บสัน (อังกฤษ: Christy Gibson) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง-หมอลำชาวดัตช์ ในประเทศไทย โดยมีชื่อเสียงจากการขับร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำและโดดเด่น ในฐานะชาวต่างชาติ (ฝรั่ง) ที่ขับร้องเพลงไทย เพราะย้ายมาอยู่ในประเทศไทยและหัดร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เล็ก โดยแจ้งเกิดและมักร่วมงานดนตรีกับคณะนักแสดงและวงดนตรีของ โจนัส แอนเดอร์สัน [1]

คริสตี้ กิ๊บสัน
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดChristy Gibson
เกิด28 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)
ที่เกิดอัมสเตอร์ดัม, ประเทศเนเธอร์แลนด์
แนวเพลงลูกทุ่ง, หมอลำ, ลูกทุ่งเพื่อชีวิต
อาชีพนักร้อง
ช่วงปี2544 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลง2544 - 2550 ป่องทรัพย์
พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
สมาชิกมูลนิธิไอแคร์ประเทศไทย
เว็บไซต์ChristygibsOnOnline.com

ประวัติ แก้

คริสตี้ กิ๊บสัน เกิดเมื่อวันเสาร์ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) ที่เนเธอร์แลนด์ มีเชื้อสายอังกฤษ-ดัตช์ ครอบครัวได้ย้ายมาพำนักที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย เมื่ออายุเพียง 6 ปี และมีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมดนตรีลูกทุ่งและหมอลำของไทย

ก่อนจะย้ายมากรุงเทพฯ เช่าบ้านอยู่แถวสุขุมวิท โดยครอบครัวแต่เดิมนั้นทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงเรียนอนุบาลนานาชาติ ช่วงนั้นบิดามารดามีแผนที่จะเปิดโรงเรียนอนุบาลนานาชาติแถบเอเชีย โดยศึกษาศึกษาข้อมูลในหลายประเทศด้วยกัน เช่น อินโดนีเซีย และมาตกลงใจที่ประเทศไทย เพราะชื่นชอบกับบ้านเมืองและวัฒนธรรมของไทยเป็นอย่างมาก ทำให้คริสตี้ต้องมาเรียนหนังสือที่ประเทศไทย โดยมีคุณครูมาสอนที่บ้าน เป็นหลักสูตรจากสหรัฐอเมริกา

ช่วงอายุ 14-15 ปี เพราะชอบร้องเพลงมาตลอด บิดามารดาจึงส่งเสริมให้ไปเรียนการแสดง การเต้น และการร้องเพลง โดยได้รับฝึกจาก ไมเคิล เครสเวล นักดนตรีอาชีพชาวออสเตรเลีย ซึ่งมี โจนัส แอนเดอร์สัน ในชั้นเรียนอยู่ด้วย ต่อมา ได้มาเรียนการแสดงกับ ภัทราวดี มีชูธน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง [2]

คริสตี้เริ่มแสดงออกด้านดนตรีตั้งแต่ย่างเข้าวัยรุ่น เดิมทีเริ่มร้องเพลงลูกทุ่งเพื่อช่วยเหลือการกุศลต่างๆ (ซึ่งยังทำต่อเนื่องเรื่อยมา) แต่กลับเป็นที่มาให้เข้าสู่วงการบันเทิงเต็มตัวภายหลัง

เมื่อผ่านประสบการณ์ครั้งแรกในงานด้านการบันทึกเสียง ร่วมกับ คณะนักแสดงของโจนัสและเพื่อน ในที่สุดเธอร่วมกลุ่มกับคณะนักแสดงเล็กๆ ซึ่งเธอกับเพื่อน ตั้งขึ้น โดยมีส่วนร่วมแสดงในงานที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เป็นครั้งคราว

ต่อมา เพื่อนคนหนึ่งของโจนัสและคริสตี้ ขอให้ทั้งคู่ขับร้องเพลงลูกทุ่งเพื่อการแสดงชุมชน ซึ่งทั้งคู่ไม่เคยร้องมาก่อน เนื่องจากการเล่นลูกคอและลูกเอื้อนในเพลงลูกทุ่งนั้นยากมากสำหรับฝรั่งหัดได้ โจนัสจึงซื้ออัลบั้มเพลงประกอบละครเรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง ที่มีเพลง "สัญญาก่อนลา" และทั้งคู่หัดร้องเพลงนี้ ด้วยการฟังเพลงซ้ำแล้วซ้ำอีก

คริสตี้กล่าวถึงช่วงที่ฝึกร้องว่า "คริสตี้ไม่คิดว่าเราร้องดีเท่าไร อาจจะน่าขันมากกว่า เพราะตอนนั้นเรายังไม่เคยหัดเทคนิคใดๆเกี่ยวกับการร้องเพลงลูกทุ่ง แต่ผู้ชมมีน้ำใจอย่างยิ่ง และต้อนรับเราอย่างอบอุ่น คริสตี้คิดว่าผู้ชมคงซาบซึ้งใจที่ว่าถึงแม้เพลงลูกทุ่งจะร้องยากสำหรับเราที่เป็นฝรั่ง แต่เราก็พยายามสุดความสามารถ" [1]

เสียงและลักษณะการร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำของเธอเป็นที่นิยม มีคนเริ่มขอเพลงลูกทุ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละการแสดง คริสตี้จึงหัดร้องเพลงลูกทุ่งต่อไป และตอนนั้นเธอเริ่มหลงใหลและชื่นชอบเพลงลูกทุ่งมากขึ้น โดยได้เข้าฝึกเพิ่มจากครูเพลงไทย เช่น วิไล พนม และ ดอย อินทนนทด์ ไม่เพียงแต่หัดร้องเพลงลูกทุ่งภาคกลาง แต่ยังหัดร้องเพลงหมอลำด้วย ซึ่งมีทั้งภาษาลาว (ภาษาอิสาน) และภาษาเขมร

จนกระทั่ง ผลงานอัลบั้มชุดแรก คริสตี้ เด้อค่ะ... เด้อ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นเพลงหมอลำล้วน อัลบั้มต่อมา จำกันบ่ได้ก๋า ซึ่งเป็นเพลงลูกทุ่งภาคกลาง เป็นผลงานสร้างชื่อเสียง ได้รับความนิยมเป็นที่รู้จักมากขึ้น

เธอได้รับเชิญ ให้มีส่วนร่วมในโครงการด้านวัฒนธรรม ฝรั่งรักไทย ใจลูกทุ่ง ซึ่งเปิดโอกาสให้ได้ปรากฏตัวในรายการทีวียอดนิยม เวทีไท ทำให้เป็นที่รู้จักมีแฟนเพลงทั่วประเทศ ในฐานะ “ฝรั่งที่ร้องหมอลำ” ความนิยมทำให้ได้รับเชิญไปร่วมรายการทีวีชั้นนำ สัญญามหาชน และอีกหลายรายการ

มีผลงานเพลง รวม 5 อัลบั้ม (รวมถึงอัลบั้มที่ขับร้องร่วมกับโจนัสด้วย) ในสังกัด บมจ.ป่องทรัพย์ ก่อนย้ายมาสังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ขณะที่ โจนัส ย้ายไปสังกัด เวคอัพ มิวสิคคอมมูนิตี้

คริสตี้ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง มูลนิธิไอแคร์ประเทศไทย ซึ่งมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาส มอบความหวังและความรักให้แก่ผู้ที่ขัดสน จากทุกภูมิหลัง วัฒนธรรม หรือศาสนา และเป็น ทูตสันถวไมตรีและตัวแทน ไอแคร์ ในกิจกรรมการกุศลต่างๆ และมักจัดคอนเสิร์ตการกุศลร่วมกับเพื่อนของเธอ เพื่อมอบโอกาสให้ผู้ขาดแคลน และให้แรงจูงใจในกิจกรรมป้องกันและต่อต้านยาเสพติดอีกด้วย

รางวัลและเกียรติประวัติ แก้

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ได้รับ รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 [3]

18 มีนาคม พ.ศ. 2555 ได้รับ รางวัลพิเศษศิลปินส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรมดีเด่น จากมหานครอวอร์ดส ครั้งที่ 8 ประจำปี 2554 โดยคลื่น ลูกทุ่งมหานคร FM 95 ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม [4]

20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้รับ รางวัลเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยม ในเพลง อย่ายอมแพ้ (ประพันธ์โดย ชลธี ธารทอง) จากสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2012 โดยได้รับการเสนอชื่อ 2 รางวัล อีกรางวัลคือ นักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม [5]

25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ได้รับ รางวัลระฆังทอง (บุคคลแห่งปี) ประจำปี 2555 สาขาสร้างสรรค์สนับสนุนมวลชนและสังคมดีเด่น ประเภทศิลปิน ดารานักแสดง นักร้อง จากสมัชชานักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งมอบให้แก่ศิลปิน ดารา นักแสดง และผู้มีชื่อเสียงทั่วประเทศ [6]

คริสตี้มีโอกาสขับร้องเพลงถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๔ ครั้ง รวมถึงได้เข้าเฝ้าและขับร้องเพลงถวายพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ อาทิ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งยังได้รับเกียรติจากคณะผู้จัดทำอัลบั้ม ร้องบรรเลงเพลงของพ่อ HM Blues ให้ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ใกล้รุ่ง ร่วมกับศิลปินมีชื่อเสียงมากมาย [3]

ผลงานเพลง แก้

หมายเหตุ: เครื่องหมาย * คือ เพลงที่โปรโมท และ/หรือ ที่ได้รับความนิยม และ/หรือ ที่ได้รางวัล

อัลบั้ม คริสตี้ เด้อค่ะเด้อ

วางจำหน่าย มกราคม พ.ศ. 2544 (2001)

  1. งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว *
  2. น้ำตาหล่นบนขอบเตียง *
  3. คอยวันเธอใจเดียว
  4. คืนลับฟ้า *
  5. สยามเมืองยิ้ม
  6. แฟนคริสตี้
  7. คริสตี้คะนองลำ *
  8. ลำกล่อมทุ่ง
  9. ลูกสาวกำนัน
  10. แว่วเสียงซึง
  11. หม้ายขันหมาก

.

อัลบั้ม คริสตี้ ชุด จำกันบ่ได้ก๋า 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (2002)
  1. จำกันบ่ได้ก๋า *
  2. ข้อยเว้าแม่นบ่ *
  3. คุณไม่รักทำไมไม่บอก *
  4. อีสาวทรานซิสเตอร์
  5. รูปหล่อถมไป
  6. คิดถึงทุ่งลุยลาย *
  7. สาวอีสานรอรัก *
  8. สาวอุบลรอรัก *
  9. ฮักแท้สาวอีสาน
  10. พี่จ๋าหลับตาไว้

.

อัลบั้ม คริสตี้ ชุด กุหลาบเวียงพิงค์ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (2003)

คู่กับ โจนัส แอนเดอร์สัน บางเพลง

  1. รักหน่อยนะ
  2. บทเรียนราคาแพง
  3. กุหลาบเวียงพิงค์ *
  4. แม่พิมพ์ของชาติ
  5. รำวงออกพรรษา
  6. ป่าลั่น
  7. รักน้องจริงอย่าทิ้งน้องนะ
  8. รักคนใส่แว่น
  9. บ้านนี้ฉันเกลียด
  10. สาวเหนือเบื่อรัก
  11. ทุ่งบันเทิง
  12. โสนสะเดา

.

อัลบั้ม รำโทน รำไทย

คู่กับ โจนัส แอนเดอร์สัน, วางจำหน่าย พ.ศ. 2548 (2005)

  1. รำโทนรำไทย
  2. สาวบ้านแต้ *
  3. เรียมคู่รำ
  4. โสนสะเดา
  5. กระทงเสี่ยงทาย
  6. รำวงหนุ่มบ้านแต้
  7. รำวงด๋าวด่าว
  8. พ่อแง่แม่งอน
  9. มะนาวไม่มีน้ำ
  10. รำวงออกพรรษา
  11. เกี่ยวรวงเกี่ยวรัก

.

อัลบั้ม หนุ่มตำลาว สาวตำไทย

คู่กับ โจนัส แอนเดอร์สัน, วางจำหน่าย 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (2006) [7]

  1. คริสตี้ลำซิ่ง (3.20)
  2. หนุ่มตำลาว สาวตำไทย (3.59) *
  3. บอกรักสัญญาใจ (3.27)
  4. ยิ้มสวยให้แสน (3.21)
  5. ปลุกใจนักร้อง (3.56)
  6. แดจังกึมที่รัก (3.34)
  7. ยู้ฮูกามเทพ (3.43)
  8. ลูกเขยมาแล้ว (4.00)
  9. ไทยนำเข้า (4.09)
  10. เสน่ห์เมียน้อย (3.25)
  11. ห่วงค่าดอง (3.15)
  12. คนจริงข้องใจ (3.20)

.

อัลบั้ม โจนัส & คริสตี้

ร่วมกับ โจนัส แอนเดอร์สัน, ย้ายค่าย GMM Grammy, วางจำหน่าย พ.ศ. 2552 (2009)

  1. ไม่เป็นไร (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  2. เจ็บที่ไม่ได้เชิญ * (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  3. ฮิพฮอพ พอกะเทิน (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  4. หมากสีดาสาวต้าวทางลำ (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  5. คนจนรุ่นใหม่ (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  6. คนชนบท (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  7. แค่ทางผ่านใจ (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  8. เว่าผญาสาละวัน * (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  9. ฝากขออภัย (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  10. หนุ่มต่างแดน (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)

.

มินิอัลบั้ม คริสตี้ กิ๊บสัน ชุด อย่ายอมแพ้

วางจำหน่าย พ.ศ. 2554 (2011)

  1. อย่ายอมแพ้ ** (คำร้อง/ทำนอง ชลธี ธารทอง)
  2. อย่าร้องไห้ให้ฉันเลย (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  3. เผลอใจท้อ (คำร้อง/ทำนอง สมปอง เปรมปรีดิ์)
  4. ฉันรักในหลวง (คำร้อง/ทำนอง ชลธี ธารทอง)

.

ซิงเกิลอัลบั้ม คริสตี้ กิ๊บสัน ชุด ถ้าโลกไม่เหลือผู้ชายสักคน

เผยแพร่ พ.ศ. 2558 (2015)

  1. ถ้าโลกไม่เหลือผู้ชายสักคน * (คำร้อง/ทำนอง ตะวันฉาย ชิงชัย)
  2. เนื้อคู่ของฉันเกิดหรือยังหนอ (คำร้อง/ทำนอง ตะวันฉาย ชิงชัย)

.

ซิงเกิล ประกอบละคร ท่านชายกำมะลอ

เผยแพร่ พ.ศ. 2559 (2016)

  1. กำมะลอ

ผลงานละคร แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้