ครับ (อังกฤษ: Crub) กลุ่มศิลปินไทยแนวบริตป็อปที่เป็นวงนำร่องก่อนที่จะเกิดยุคดนตรีออลเทอร์นาทิฟเฟื่องฟู พวกเขาส่งเดโมไปเปิดในรายการวิทยุ Radio Active 94.0 FM ซึ่งคุณ วาสนา วีรชาติพลี เป็นนักจัดรายการ และได้รับเสียงตอบรับที่ดีพอสมควร

ครับ
ไฟล์:Crub view.jpg
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดประเทศไทย กรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก, ออลเทอร์นาทิฟร็อก, บริตป็อป
ช่วงปี2537
ค่ายเพลงเกกโก มิวสิก
สมาชิกวาสิต มุกดาวิจิตร
รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์
วิโรจน์ เสรีศิริขจร
วีระยศ เตยะราชกุล
วราฤทธิ์ มังคลานนท์
อดีตสมาชิกสุหฤท สยามวาลา

จากความคิดที่จะทำดนตรีที่แตกต่างจากตลาดในยุคนั้น รวมเข้ากับความชื่นชอบในดนตรีจากเกาะอังกฤษ ในที่สุด พวกเขาออกอัลบั้ม "View" ในปี พ.ศ. 2537

ประวัติ แก้

"ครับ" เกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาต่างสถาบัน หลักๆ คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งคือมือเบส คุณรุ่ง และมือกีตาร์ คุณวิโรจน์ ในยุคแรกใช้ชื่อวงว่า "I Can" และดึงเพื่อนเก่าสมัยมัธยมคือคุณ สุหฤท สยามวาลา เข้ามาเป็นนักร้องนำ โดยได้ทำเดโมเทปกันเล่นๆ เป็นเพลงภาษาอังกฤษชื่อ "Idea" แล้วส่งไปที่รายการวิทยุของคุณวาสนา วีรชาติพลี ดีเจผู้ที่มีอิทธิพลต่อวงการเพลงอินดี้ของเมืองไทย ที่นิยมเปิดเพลงอินดี้จากอังกฤษในเวลานั้น ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ฟังเกินความคาดหมาย จากการเปิดออกอากาศในรายการวิทยุของคุณวาสนา "ครับ" จึงเริ่มทำเพลงกันเพิ่มเติมเพื่อออกเป็นอัลบั้ม แต่ในช่วงนั้น คุณสุหฤท นักร้องนำดั้งเดิม มีภาระเกี่ยวกับธุรกิจของครอบครัว ไม่สามารถปลีกเวลามาทำงานเพลงได้ สมาชิกที่เหลือจึงต้องการหานักร้องนำคนใหม่ มีคนหลายคนเข้ามาทดสอบความสามารถ แต่บางคนก็มีวงของตัวเองอยู่แล้ว บางคนมีแนวทางของดนตรีที่ขัดกับทางวง พวกเขาจึงไปติดประกาศไว้ที่ร้าน โดเรมี ร้านเทปเก่าแก่แถวสยามสแควร์ จนที่สุดก็ได้ตัวนักร้องนำคนใหม่ที่ชื่อ วาสิต มุกดาวิจิตร อดีตสมาชิกวง Monstership วงพังก์ของกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลป์ ที่เป็นนักร้องคนปัจจุบันนั่นเอง

พวกเขาเริ่มหาต้นสังกัดเพื่อที่เสนองานเพลง แต่ความที่ทางวงได้รับอิทธิพลทางดนตรีจากฝั่งอังกฤษมามาก และดนตรีเป็นแนวที่แปลกใหม่ไม่ติดหูคนไทย จึงทำให้ยากต่อการหาต้นสังกัด และโปรดิวเซอร์ที่เข้าใจและยอมเสี่ยงกับเพลงของพวกเขา หลังจากติดต่ออยู่หลายบริษัท ในที่สุดก็ลงตัวกับค่ายอินดี้เล็กๆ อย่าง เกกโก มิวสิก ซึ่งอนุญาตให้พวกเขามีส่วนร่วมในการโปรดิวซ์งานในอัลบั้มของตัวเองได้ ความเป็นไปได้ของอัลบั้ม View จึงเริ่มตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

จากการที่ "ครับ" ได้รับอิทธิพลจากฝั่งอังกฤษมาอย่างเต็มที่ งานเพลงที่ออกมาจึงมีกลิ่นอายของวงอังกฤษรุ่นเก่าช่วง 70's-80's อย่าง Pink Floyd, XTC, Echo & The Bunnymen, The Smiths และรุ่นถัดมาอย่าง Ride, The La's, The Stone Roses, The Boo Radleys และ The Charlatans เลยทีเดียว นอกจากนี้พวกเขายังทำให้เสียงประสานฮูลาลาแบบ The Beatles และ The Cockney Rebels นั้นกลับมาเป็นที่นิยมในวงการอินดี้ในบ้านเราอีกด้วย แต่ด้วยงบประมาณทางด้านการส่งเสริมตลาดที่น้อยมาก และงานเพลงในแนวที่ไม่คุ้นหูนักในการฟังครั้งแรกๆ ทำให้ "ครับ" ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้ฟังเท่าที่ควรในช่วงที่ออกอัลบั้มใหม่ แม้จะยังมีผู้ฟังที่เป็นแฟนเพลงของพวกเขาอย่างเหนียวแน่นอยู่บ้าง และจากคำบอกเล่าปากต่อปากทำให้อีก 3 ปีต่อมาเมื่อคนไทยกว้างขวางขึ้น "View" งานชุดแรก และชุดเดียวของพวกเขาสามารถติดอันดับ Top 10 ของอัลบั้มขายดีของร้าน ทาวเวอร์เรคคอร์ดส อยู่หลายสัปดาห์ หนังสือพิมพ์บางฉบับลงบทความวิจารณ์การแสดงสดของพวกเขาไว้ว่า เป็นวงป็อปที่แสดงสดได้ดิบเถื่อนที่สุดเท่าที่เคยดูมา อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยังไม่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการก้าวเข้ามาในวงการเพลงของไทย เพราะเพลงเหล่านั้นไม่ตรงกับรสนิยมของคนไทย ที่นิยมฟังเพลงในแนวของอเมริกันเสียมากกว่า

เพลงทุกเวลาเพลงนี้เป็นบริตป็อปจังหวะปานกลางที่มีเมโลดี้สวยงาม เสียงกีตาร์ที่มีกลิ่นอายไซคีเดลิก เสียงร้องนำที่ล่องลอย บวกกับเสียงเบสและกลองที่กระชับสไตล์ Baggy และยังมีสิ่งที่พวกเขาบอกว่าเป็นการแสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทย คือ ท่อนอินโทรที่มีการนำเสียงอังกะลุงมาประกอบอย่างไพเราะ ด้วยทำนองเพลงที่งดงาม จังหวะที่เนิบนาบชวนฝัน ก็สามารถทำให้เพลงทุกเวลาเพลงนี้เป็นเพลงหนึ่งที่ทุกคนต้องนึกถึง ถ้าพูดถึงวงครับ นอกจากเพลงที่ฮิตที่สุดของพวกเขาที่ชื่อ "ขอบคุณ"

สมาชิก แก้

สมาชิก ประกอบด้วย

ผลงาน แก้

ครับมีผลงานอัลบั้มออกมาเพียงชุดเดียว คืออัลบั้ม View ใน พ.ศ. 2537 ซึ่งไม่ค่อยประสบความสำเร็จด้านยอดขายเท่าใดนักในขณะนั้น และโด่งดังอยู่ในกลุ่มนักฟังเพลงกลุ่มหนึ่ง

อัลบั้ม "View" (พ.ศ. 2537) แก้

  • สังกัด: เกกโก้ มิวสิก
  • โปรดิวเซอร์: ภควัฒน์ ไววิทยะ, ไตรเทพ วงศ์ไพบูลย์, ครับ
  • Executive Producer: ณัฐ พิทักษ์จำนงค์
  • ซาวนด์เอ็นจิเนียร์: ภัทร ศรีชลัมภ์
  • มิกซ์ดาวน์เอ็นจิเนียร์: ไตรเทพ วงศ์ไพบูลย์, ภควัฒน์ ไววิทยะ
  • บันทึกเสียง: มิถุนายน-กันยายน พ.ศ. 2537 ที่ เกกโก้สตูดิโอคอมเพล็กซ์ 32 สุขุมวิท 39
  • Mastering: เกกโก้สตูดิโอ
  • กำกับศิลป์: R.J-Wan
  • ถ่ายภาพ: พนาย เอครพานิช

เพลงในอัลบั้ม แก้

  1. ทุกเวลา
  2. อยากจะเข้าใจ
  3. ขอบคุณ
  4. Sunflower
  5. คืนหนึ่ง
  6. สปัน
  7. So Serene
  8. Idea
  9. สุขใจ
  10. วัยเด็ก

11.วันอังคาร 12.สายตา 13.Smile

อัลบั้ม "Viewed" (พ.ศ. 2547) แก้

เพลงในอัลบั้ม แก้

ซีดี 1
  1. เดธ ออฟ อะ เซลส์แมน : สุขใจ
  2. อาร์มแชร์ : อยากจะเข้าใจ
  3. Yuri's Nominee : คืนหนึ่ง
  4. มณฑล จิรา : So Serene
  5. ซูเปอร์เบเกอร์ : สุขใจ
  6. ขอนแก่น : ขอบคุณ
  7. Cyndi Seui : วัยเด็ก
  8. สไตลิช นอนเซ็นส์ : ทุกเวลา
  9. แบร์การ์เด้น : Sunflower
  10. โนโลโก้ : สปัน
  11. บัวหิมะ : ทุกเวลา
  12. สุหฤท สยามวาลา : สปัน
  13. Badminton : Idea
  14. เพนกวินวิลล่า : Smile
ซีดี 2
  1. ทุกเวลา
  2. อยากจะเข้าใจ
  3. ขอบคุณ
  4. Sunflower
  5. คืนหนึ่ง
  6. สปัน
  7. So Serene
  8. Idea
  9. สุขใจ
  10. วัยเด็ก
  11. วันอังคาร
  12. สายตา
  13. Smile

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้

  • เมื่อครั้งที่อัลบั้ม View วางแผงนั้น สปอตโฆษณาวิทยุมีการโฆษณาว่าอัลบั้มนี้บันทึกด้วยระบบเสียงสามมิติ
  • 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 สิบปีหลังจากการวางแผงของอัลบั้ม "View" ค่ายเพลง สมอลล์รูม นำเอาอัลบั้ม "View" มาผลิตใหม่ เป็นการอุทิศให้กับวงครับ โดยทำเป็นแพ็กเกจซีดี 2 แผ่น ชื่ออัลบั้ม "Smallroom 004" โดยแผ่นแรกเป็นอัลบั้ม "View" ต้นฉบับ ส่วนแผ่นที่สอง ใช้ชื่อ "Viewed" เป็นเวอร์ชันคัฟเวอร์จากศิลปินต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งหมด 14 เวอร์ชัน (มีเพลง "สุขใจ" และ "ทุกเวลา" เพลงละ 2 เวอร์ชัน และไม่มีเพลง "สายตา") [1]
  • ปัจจุบัน รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ เป็นเจ้าของและผู้ร่วมก่อตั้ง ค่าย สมอลล์รูม
  • ปัจจุบัน วราฤทธิ์ มังคลานนท์ เป็นดีเจอยู่ที่ แคทเรดิโอ

อ้างอิง แก้

  1. Smallroom 004 viewed[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์สมอลรูม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้