คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสยาม โดยเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 21 ของประเทศไทย และลำดับที่ 2 ของมหาวิทยาลัยเอกชน [1] และผ่านการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตจากแพทยสภาแล้ว[2]

คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสยาม
Faculty of Medicine
Siam University
Faculty of Medicine, Siam University logo png
สถาปนา17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
คณบดีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์​ สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์
ที่อยู่
สี███ เขียวหัวเป็ดแมลลาร์ดตัวผู้
มาสคอต
งูพันคฑา ล้อมรอบด้วยฟันเฟือง
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า (ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า)
เว็บไซต์med.siam.edu

ประวัติ

แก้

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เกิดจากกลุ่มแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงร่วมกันเสนอขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ต่อสภามหาวิทยาลัยสยามและได้รับความเห็นชอบเมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 พร้อมทั้งได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในการประชุมคราวเดียวกัน ต่อมาคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสยามอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร ใหม่ พ.ศ. 2555) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 ต่อมาคณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 ให้การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555) นับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งที่ 2 ของประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติจากแพทยสภาให้เปิดรับนักศึกษาจำนวน 48 คน ในปีการศึกษา 2556 และให้จัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1 ในเดือนสิงหาคม 2556 โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูเกียรติ อัศวาณิชย์เป็นคณบดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี และศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เฉลิม วราวิทย์ เป็นที่ปรึกษา


ทำเนียบคณบดี

แก้
ลำดับที่ รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูเกียรติ อัศวาณิชย์ 2553 - 2556
2 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อมร ลีลารัศมี 2556 - 2562
3 ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ 2562 - ปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษา

แก้

ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เปิดทำการเรียนการสอนในสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

ปริญญาตรี

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) 6 ปี

หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต (ฉบับ ปี พ.ศ.2566)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี

สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

(หลักสูตรฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2567

สถาบันร่วมผลิตแพทย์

แก้

โรงพยาบาลที่เป็นสถาบันหลักสำหรับการผลิตแพทย์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ในระดับชั้นคลินิก มีทั้งสิ้น 1 โรงพยาบาล มีดังนี้

สถาบันร่วมผลิตแพทย์ จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

(ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า)

  • บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการเป็นหน่วยงานฝึกปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก ระหว่างมหาวิทยาลัยสยามและกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2559 และ 2560
จังหวัดนนทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลบางพลี

(โรงพยาบาลร่วมสอน สำหรับนักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติชั้นปีที่6)

จังหวัดสมุทรปรา

การ

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลกำแพงเพชร

ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก (โรงพยาบาลร่วมสอน สำหรับนักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติชั้นปีที่6)

จังหวัด

กำแพง เพชร

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ความร่วมมือ

แก้

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

แก้

เดิมชื่อว่าโรงพยาบาลนนทบุรี  สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ตั้งอยู่เลขที่ 91 ถนนนนทบุรี  ตำบลบางกระสอ  อำเภอเมือง  จังหวัดนนทบุรี  มีเนื้อที่ทั้งหมด มีพื้นที่ทั้งหมด 24 ไร่ 1 งาน 2.6 ตารางวา   เปิดให้บริการวันที่  24  มิถุนายน  2500 เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดในปี พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่พระราชชนนี กรมหลวง พระศรีสุลาลัย  เป็นชาวจังหวัดนนทบุรี

มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

แก้

วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ เพื่อให้การสนับสนุนงานด้านการพัฒนาการแพทย์ เพื่อให้การสนับสนุนและส่งเสริมวิจัยแพทยศาสตร์ เพื่อดำเนินการ หรือ ร่วมมือกับองค์กรการกุศล เพื่อการกุศลและองค์การสาธารณประโยชน์ เพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์

แก้

ประวัติความเป็นมาของภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยสยาม[3]


ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2566 ได้ย้ายสังกัดการดูแลภายใต้คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 4 ปี (หลักสูตรฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2567) บริหารงานโดยศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ และ ดร.วิทยา ชาญชัย หัวหน้าภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์[4]


เดิมคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองการขยายต่อภาคอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งวันก่อตั้งของคณะฯ ตรงกับวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งเกิดจาก สภามหาวิทยาลัยมีมติจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมทั้งให้เปิดดำเนินการจำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม และต่อมาทางคณะฯได้ดำเนินการขออนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ทั้งนี้สภามหาวิทยาลัยมีมติอนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รับรองคุณวุฒิเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 โดยเริ่มใช้หลักสูตร ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 และกรมสวัสดิ์การและคุ้มครองแรงงาน มีมติให้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2561 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เทียบเท่าวุฒิปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561


สัญญลักษณ์ประจำภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์

-สีประจำภาควิชา สีชมพูแซลม่อน

-ตราประจำภาควิชา กรอบสีเขียวขลิบน้ำเงิน ภายในตรา ด้านบนคำว่า " PUBLIC HEALTH " และสัญลักษณ์คนกลางหนังสือ


หลักสูตรภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ - หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต) วท.บ. 4 ปี

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ""ม.สยาม" สยายปีก เปิดแพทย์รับเออีซี". www.siamturakij.com.
  2. "แพทยสภา :: The Medical Council of Thailand". tmc.or.th (ภาษาอังกฤษ).
  3. "ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม". Public Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-02-18.
  4. "ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม". Public Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-02-18.