คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ลำดับที่ 9 และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535

คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Faculty of Pharmacy,
Srinakharinwirot University
อาคารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
สถาปนา25 มกราคม พ.ศ. 2539
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร. สุวรรณา วรรัตน์
ที่อยู่
63 หมู่ที่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
วารสารศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร
สีสีเขียวมะกอก
มาสคอต
งูพันถ้วยยาไฮเกียและเฉลว
สถานปฏิบัติศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ร้านยา มศว, ร้านยา มศว 2
เว็บไซต์pharmacy.swu.ac.th

ประวัติ แก้

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้บรรจุโครงการการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ไว้เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนามหาวิทยาลัย วิทยาเขตองครักษ์ ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและทบวงมหาวิทยาลัย โดยลงประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งถือเป็นวันก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารคณะเภสัชศาสตร์ ณ วิทยาเขตองครักษ์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

หน่วยงาน แก้

ตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฉบับที่ 10/2559 เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงาน พ.ศ. 2559[ลิงก์เสีย] นั้น ได้มีการแบ่งหน่วยงานในคณะเภสัชศาสตร์เป็น 7 หน่วยงาน ดังนี้

  1. สำนักงานคณบดี
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
  3. สาขาวิชาเภสัชเคมี
  4. สาขาวิชาเภสัชเวท
  5. สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
  6. สาขาวิชาชีวเภสัชศาสตร์
  7. สาขาวิชาเภสัชกรรมสังคม

สาขาวิชา แก้

ชีวเภสัชศาสตร์เป็นการศึกษาพื้นฐานสำหรับวิชาชีพเภสัชกกรมและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น
  1. ชีวเคมี
  2. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
  3. เภสัชวิทยา
  4. พิษวิทยา
  5. จุลชีววิทยา
  6. พยาธิวิทยา
เทคโนโลยีเภสัชกรรม
เป็นการศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีการผลิตยาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศไทย เตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานในอุตสาหกรรมยา นอกจากนี้นิสิตยังมีโอกาสได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งเครื่องสำอางซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ด้วย
เภสัชเคมีและเภสัชเวท
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางเคมีของยากับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของยา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ทั้งที่นำมาใช้ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
เภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมสังคม
นิสิตจะได้เรียนรู้การใช้ยาที่เหมาะสมในโรคต่าง ๆ ทั้งยังได้ฝึกทักษะการประเมินปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา แนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น ๆ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบยา การคุ้มครองผู้บริโภค และระบบธุรกิจทางยาด้วย

หลักสูตร แก้

ปริญญาตรี แก้

  • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเภสัชภัณฑ์ (หลักสูตร 6 ปี)
  • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม (หลักสูตร 6 ปี)

ปริญญาโท แก้

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการองค์กรเภสัชกรรม

ระบบการศึกษา แก้

  1. การศึกษาในสองปีหลังของหลักสูตร (ปีที่ 5 และ 6)
  2. สำหรับรายวิชาทั่วไป ระบบการศึกษาจะเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2543
  3. สำหรับรายวิชาการฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมจะแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มหมุนเวียนกันเพื่อฝึกปฏิบัติงานในแต่ละรายวิชาในแหล่งฝึกที่ทางคณะจัดให้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้