คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นคณะในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี[1] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 มีฐานะเป็นคณะในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
Mass Communication Technology | |
ชื่อย่อ | ทสม. |
---|---|
สถาปนา | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2543 |
คณบดี | ผศ.อภิชาติ ไก่ฟ้า |
สี | เทากลาง 18% |
เว็บไซต์ | http://www.mct.rmutt.ac.th |
ประวัติแก้ไข
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จัดตั้งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2543 โดยยกฐานะจากภาควิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและการพิมพ์ สังกัดคณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร โดยประกาศจัดตั้งของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนดังนี้
- เพื่อผลิตบัณฑิตด้านสื่อสารมวลชนและสารสนเทศประเภทต่างๆ ให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องหรือนำมาใช้กับงานสื่อสารมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อทำการวิจัย ค้นคว้า พัฒนาวิชาการทางด้าน การผลิตสื่อ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
- เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคม โดยนำศักยภาพของเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและสารสนเทศที่มีอยู่มุ่งสู่การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- เพื่อทำนุบำรุงศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตามกระบวนการของงานเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
เหตุผลของการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เพื่อให้สามารถรองรับกับการผลิตบุคลากรศาสตร์ต่างๆ ทางด้านการผลิตสื่อ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศในการเพิ่มกำลังคนด้านการผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารมวลชน เปิดการเรียนการสอนใน 2 สาขา ดังนี้
- สาขาเทคโนโลยีทางภาพและเสียง ประกอบด้วย สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์, สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง, สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย, สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัล
- สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์และสื่อสารมวลชน ประกอบด้วย สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์, สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์แรก[2]
สาขาและหลักสูตรแก้ไข
ปริญญาตรี (เทคโนโลยีบัณฑิต)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) 4 ปี : รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช.ทุกสาขาวิชา และ ม.6 ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า สาขาที่เปิดสอน มีดังนี้
- เทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัลและบรรจุภัณฑ์
- เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
- เทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง
- เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
- เทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
- เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) เทียบโอน ใช้เวลาเรียน 2 ปี ครึ่ง : รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส.ทุกสาขาวิชา สาขาที่เปิดสอน มีดังนี้
- เทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัลและบรรจุภัณฑ์
- เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
สาขาที่เคยเปิดในอดีตของหลักสูตรเทียบโอน
- เทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง (พ.ศ. 2558 รุ่นสุดท้าย)
- เทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (พ.ศ. 2558 รุ่นสุดท้าย)
- เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ (พ.ศ. 2560 รุ่นสุดท้าย)
ปริญญาโท (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต)
หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน) (วท.ม.) 2 ปี : รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี.ทุกสาขาวิชา ทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า สาขาที่เปิดสอน มีดังนี้
- เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ปริญญาเอก (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)
- สาขาวิทยาการสีและการมองเห็นของมนุษย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
อ้างอิงแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |