คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย โดยตั้งอยู่ ณ 140 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
Faculty of Veterinary Medicine
Mahanakorn University of Technology
สถาปนาพ.ศ. 2535
คณบดีรศ.น.สพ.ดร.จตุพร กระจายศรี
ที่อยู่
140 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
วารสารสัตวแพทยมหานครสาร
สี  สีฟ้าหม่น
เว็บไซต์http://www.vet.mut.ac.th/

ประวัติ แก้

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยงยุทธ สัจจวานิชย์ ได้เชิญ รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ดำรง พฤกษราช อดีตอาจารย์หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ามาเป็นคณบดีท่านแรก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐในการผลิตบัณฑิตทางสัตวแพทย์เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ปีการศึกษา 2535-2536 จำนวน 10 คน ต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 เป็นต้นไป (ตามหนังสือทบวงมหาวิทยาลัยที่ ทม 0207/6098 ลงวันที่ 7 เมษายน 2541) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรองคุณวุฒิปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 เป็นต้นไป (ตามหนังสือ ก.พ. ที่ นร. 0708.8/873 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2541)

  • เปิดโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กในปี พ.ศ. 2539 และปรับปรุงเพื่อรองรับการเรียนการสอนที่มากขึ้น เป็นโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการสอนด้านสัตว์เล็กในปี พ.ศ. 2551
  • ก่อตั้งศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์เปิดในปี พ.ศ. 2540
  • โรงเรือนสัตว์ทดลองขนาดเล็กเปิดในปี พ.ศ. 2541
  • มหาวิทยาลัยอนุมัติก่อสร้างอาคาร I และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2543 เพื่อใช้ในกิจการโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่
  • ปี พ.ศ. 2550 คณะฯ จัดงานประชุมวิชาการทางสัตวแพทย์ เป็นครั้งแรก
  • ปี พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยก่อสร้างอาคารเรียน R เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาสัตวแพทย์ และการให้บริการวิชาการ และบริการสังคม
  • ปี พ.ศ. 2552 คณะสัตวแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เข้าเป็นสมาชิก Asian Association Veterinary Schoolซึ่งการเป็นสร้างความร่วมมือทางวิชาการสำหรับสถานบันการศึกษาในระดับภูมิภาค
  • เปิดหลักสูตร วท.ม. (สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์) และ สก.อ. ให้การรับรองหลักสูตรตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป

หลักสูตร แก้

ระดับปริญญาตรี แก้

คณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรในระดับปริญญาบัณฑิต 1 หลักสูตร

  • สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Veterinary Medicine)

ระดับปริญญาโท แก้

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ (Master of Science (Animal Biotechnology))

โครงสร้างการบริหาร แก้

  • คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์

รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.จตุพร กระจายศรี

  • รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ทนงศักดิ์ มะมม

  • รองคณบดีฝ่ายวิจัย

อาจารย์ น.สพ.ดร.จำลอง มิตรชาวไทย

  • รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

อาจารย์ สพ.ญ.ดร.อารยา สืบขำเพชร

  • รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและประชาสัมพันธ์

อาจารย์ น.สพ.วีรพันธ์ นกแก้ว

  • ผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์

อาจารย์ ดร.สรรเพชญ โสภณ

โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่ แก้

โรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสัตว์และการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกร พร้อมทั้งบริการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาสัตว์ป่วยทั้งในและนอกสถานที่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก โดยมีอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องอัลตราซาวนด์ เป็นต้น อีกทั้งยังให้บริการย้ายฝากตัวอ่อนในโคและแพะ ให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาผสมติดยากและการจัดตั้งศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง ทั้งนี้ยังเป็นหน่วยงานสนับสนุนการทำงานวิจัยและการค้นคว้าเพื่อพัฒนาด้านวิชาการของอาจารย์ รวมถึงการเรียนการสอนของนักศึกษาโดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ได้จากประสบการณ์จริงภายใต้การดูแลของนายสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาล และคณาจารย์ที่มีความสามารถเฉพาะด้านอย่างใกล้ชิด
โรงเรือนสัตว์ทดลองขนาดใหญ่
เป็นสถานที่สำหรับการเลี้ยงสัตว์ทดลองขนาดใหญ่ ได้แก่ โค แพะ ม้า และสุกร รวมทั้งสัตว์ปีก สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า เพื่อใช้สำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มุ่งหวังให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง นอกจากนี้ยังเป็นโรงเรือนที่ใช้สำหรับอภิบาลสัตว์ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดก่อนที่เจ้าของสัตว์จะนำกลับไปดูแลต่อได้
รถโรงพยาบาลสัตว์เคลื่อนที่
เป็นรถที่ใช้ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่ โดยมียา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมที่จะให้ความสะดวกแก่เจ้าของที่ไม่สามารถนำสัตว์มารับบริการที่โรงพยาบาลได้ โดยเปิดให้บริการทั้งสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กและสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมีนายสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลและคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถไปให้บริการ
รถการบริการคลินิกเฉพาะทาง
เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการทางโรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่จึงจัดให้มีการให้บริการคลินิกเฉพาะทางขึ้น โดยกำหนดการให้บริการดังนี้
  • วันจันทร์ - คลินิกทางสูติศาสตร์, คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง
  • วันอังคาร - คลินิกสัตว์ป่า
  • วันพุธ - คลินิกสุกร, คลินิกสัตว์ปีก
  • วันพฤหัสบดี - คลินิกม้า
  • วันศุกร์ - คลินิกสัตวแพทย์สาธารณสุข

โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการสอนด้านสัตว์เล็ก แก้

โรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์เล็ก
  • ด้านอายุรกรรม
  • ด้านทันตกรรม
  • ด้านศัยกรรม
  • ด้านตรวจวินิจฉัยพิเศษ
  • ตรวจวินิจฉัยห้องปฏิบัติการ
เวลาทำการ
  • จันทร์-อังคาร เช้า 09.00-11.30 น. บ่าย 13.00-20.00 น.
  • พุธ เช้า 09.00-11.30 น. บ่ายปิดบริการ
  • พฤหัส-ศุกร์ เช้า 09.00-11.30 น. บ่าย 13.00-20.00 น.
  • เสาร์-อาทิตย์ เช้า 09.00-11.30 น.บ่าย 13.00-17.00 น.

หยุดทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์

  • ผ่าตัดศัลยกรรมโทรนัดล่วงหน้า

ศูนย์บริการชันสูตรโรคสัตว์ แก้

ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิก
  • หน่วยโลหิตวิทยา
  • หน่วยตรวจน้ำเหลืองทางชีวเคมี
  • หน่วยตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ
  • หน่วยเซลล์วิทยาวินิจฉัย
ห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยาคลินิก
ห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา
ห้องปฏิบัติการชันสูตรซากสัตว์
ห้องปฏิบัติการแบคทีเรียและราวิทยา
  • หน่วยตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในสัตว์
  • หน่วยตรวจตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราในสัตว์


อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้