คณะสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คณะสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม (อังกฤษ: School of Interdisciplinary Technology and Innovation, Sripatum University) เป็น คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยศรีปทุม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2561 เป็นคณะวิชาที่สามารถเลือกเรียนได้ทุกวิชาที่เปิดสอนภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนในหลักสูตรนี้

คณะสหวิทยาการ
เทคโนโลยีและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
School of Interdisciplinary Technology and Innovation, Sripatum University
Logo SITI.png
สถาปนาพ.ศ. 2561
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร สัจจะหฤทัย
ที่อยู่
วิทยาเขตบางเขน
วารสารวารสารสหวิทยาการ
สี     สีชมพูอ่อน
สถานปฏิบัติอาคาร 11 ชั้น 8
เว็บไซต์www.spu.ac.th/apply/SITI

หลักสูตรแก้ไข

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนความคิด และ เพิ่มความต้องการให้หลากหลาย ในยุคสมัยใหม่ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ได้เรียนเอง ปฏิบัติเอง

ผ่านแหล่งความรู้และเทคโนโลยีที่หลากหลาย กระบวนการเหล่านี้จะหล่อหลอมให้ผู้เรียนได้เดินทางสู้เป้าหมาย

และจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรสหวิทยาการฯ ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม

หลักสูตรสหวิทยาการฯ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในชื่อ

"โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อประเทศไทย 4.0 " หลักสูตรนี้

ผู้เรียนสามารถดีไซน์หลักสูตรของตัวเองได้ เช่น อยากเรียนสถาปัตย์ นิเทศน์ และบริหาร

ก็สามารถนำมารวมกันเป็นหลักสูตรของตัวเองได้

ในชั้นปีแรกผู้เรียนจะได้เรียนวิชาพื้นฐาน เป็นวิชาที่ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดได้ทุกๆสาขาผู้เรียน

สนใจเลือกเรียนในอนาคต ตัวอย่างวิชาพื้นฐาน เช่น

การเพิ่มคุณค่าการคิดเชิงนวัตกรรม เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลง

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ที่ตั้งสาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท

วิทยาเขตบางเขน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม[1]

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)

  • สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้และการสอน
  • หมายเหตุ :
    • ทั้งนี้เมื่อนักศึกษาจบการศึกษาจะได้วุฒิบัตรปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือศิลปศาสตรบัณฑิต ขึ้นอยู่กับวิชาที่นักศึกษาเลือกเรียนว่า วิชาศาสตร์ใดมากกว่ากัน[2]

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข