คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชน คณบดีผู้ก่อตั้ง คือ ศาสตราจารย์ ดร.เรืองศักดิ์ กันตะบุตร คณบดีคนต่อมาคือ ผศ.สุธน วิริยะสมบูรณ์ และคณบดีคนปัจจุบัน คือ ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต
Faculty of Architecture
Rangsit University
สถาปนาพ.ศ. 2531
คณบดีผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ
ที่อยู่
อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ตึก 19)
มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก
ถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000. โทร.02997-2222 ต่อ (6212-6219)
สี███ สีน้ำตาลเข้ม Sepia
มาสคอต
รูปสถูป
เว็บไซต์http://www.rsu.ac.th/architect/

ปัจจุบัน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เน้นการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบใหม่เชิงบูรณาการและผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง และมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบสถาปัตยกรรม

หลักสูตรที่เปิดสอน แก้

ระดับปริญญาตรี แก้

  • หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (B.Arch)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

             ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)        :    สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
             ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)    :    Bachelor of Architecture
             ชื่อย่อ (ภาษาไทย)         :    สถ.บ.
             ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)     :    B.Arch 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

             จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร    154    หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

             หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี 

ประเภทของหลักสูตร

             หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

ภาษาที่ใช้

             ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา

             นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
             ติดต่อ : สำนักงานรับนักศึกษา https://www.rsu.ac.th/admission/
             เวลาทำการ 08.30 - 16.30 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ (โทร.02-791-5500 - 10)

ปรัชญา

             ศาสตร์ที่รวมด้านศิลป์และวิทยาศาสตร์มาใช้ในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่มีความเป็นสากล พัฒนากระบวนการเรียนรู้และทักษะที่เหมาะสม เพื่อให้นักศึกษาค้นพบศักยภาพ มีทักษะ สร้างอัตลักษณ์ที่เหมาะสมของตน ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานร่วมกันในแบบมืออาชีพ และสร้างผลงานที่มิได้วัดผลเพียงแต่คุณค่าในรูปแบบของสถาปัตยกรรม แต่เป็นนวัตกรรมที่ยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในแง่เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 

ความสำคัญ

            วิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นวิชาชีพที่มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาประเทศ  แต่ในปัจจุบันวิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องต้อง​เผชิญ​กับ​ภาวะ​การ​แข่งขัน​ทางการตลาด​และ​การ​ค้า​เสรี​ การศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมจำเป็นต้องเร่ง​ปรับ​ตัว​และ​ยก​ระดับ​มาตรฐาน​การ​ปฏิบัติ​วิชาชีพ​ โดย​การ​พัฒนา​การเรียนการสอนวิชาชีพ​สถาปัตยกรรม​ในประเทศไทยอย่าง​เป็น​ระบบ​และ​เร่ง​ด่วน​ ​เพื่อ​เพิ่ม​โอกาส ในการ​แข่งขัน​วิชาชีพ​ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

           เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมโดยมุ่งเน้นให้มีความเข้าใจกระบวนการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมทุกขั้นตอน  สามารถบูรณาการทุกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับกระบวนการออกแบบ ให้มีความสำนึกต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เข้าใจระบบอุตสาหกรรมการก่อสร้างและประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตนเองได้ ประยุกต์องค์ความรู้ในการประกอบอาชีพทางสถาปัตยกรรมและอาชีพที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์บริการวิชาการ แก้

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดตั้งศูนย์บริการวิชาชีพ และวิชาการ (Academic Service Center) เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ ได้ปฏิบัติงานวิชาชีพ ในลักษณะการบริการแก่สังคม นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถปฏิบัติงานได้ทันที

แหล่งข้อมูลอื่น แก้