คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Education, Mahasarakham University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือกำเนิดมาจาก "คณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรทางการศึกษาในสาขาวิชาการต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น โดยเฉพาะตามโรงเรียนโดยทั่วไปในแถบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 คณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม" และในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้แยกตัวเป็นเอกเทศจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็น "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"
Faculty of Education, Mahasarakham University | |
![]() ตราโรจนศาสตร์ สัญลักษณ์ประจำคณะ | |
ชื่อเดิม | • คณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม (2511-2517) • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม (2517-2537) • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (2537-ปัจจุบัน) |
---|---|
ชื่อย่อ | EDU |
คติพจน์ | การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม |
สถาปนา | 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
คณบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต ชูกำแพง[1] |
ที่อยู่ | |
วารสาร | วารสารศึกษาศาสตร์ วารสารการวัดผลการศึกษา วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
เพลง | เปลวเทียน |
สี | ███ สีแสด |
สถานปฏิบัติ | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย ศูนย์ความเป็นเลิศทางจิตวิทยา |
เว็บไซต์ | edu.msu.ac.th |
![]() |
มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันที่ได้รับการจัดอันดับเป็นสถาบันที่มีสาขาทางการศึกษาที่ดีที่สุดอันดับที่ 5 ในประเทศไทย[3] วารสารการวัดผลการศึกษา ของคณะศึกษาศาสตร์ยังได้ถูกจัดอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1[4] ในส่วนของการรับบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้นพบว่าคณะศึกษาศาสตร์เป็นคณะที่มีผู้สมัครเข้าศึกษาต่อมากที่สุด[5][6]
ปัจจุบันคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีจำนวนหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 26 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 10 หลักสูตร[7] ระดับบัณฑิตศึกษา 16 หลักสูตร[8] โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารวิทยพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง มีสถานปฏิบัติการ คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย และศูนย์ความเป็นเลิศทางจิตวิทยา
ประวัติแก้ไข
คณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคามแก้ไข
วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ก่อตั้งขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูในสาขาวิชาต่าง ๆ ออกไปเป็นครูตามโรงเรียนโดยทั่วไปในแถบพื้นที่ภาคอีสาน วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม เป็นวิทยาเขตที่ 5 ของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งได้รับอนุมัติแต่งตั้งในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511[9] และได้แบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 หน่วยงาน คือ 1. สำนักงานอธิการ 2. คณะวิชาการศึกษา 3. คณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ 4. คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งลักษณะของหน่วยงานต่างทำงานร่วมกันเพื่อผลิตครูหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตออกรับใช้สังคม[10]
ช่วงที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มีผู้บริหารหน่วยงานที่เรียกว่า หัวหน้าคณะวิชาการศึกษา คือ ศาสตราจารย์ ดร.อารี สัณหฉวี ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2511 – 2514 ถัดมารองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญยะกาญจน ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2514 – 2517[11]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ถึง พ.ศ. 2516 วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ได้ตั้งจุดมุ่งมายที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ต่างจังหวัด และมีการดำเนินงานโดยการรับนักศึกษาที่เรียนดี จากวิทยาลัยครูต่าง ๆ ที่เรียนจบหลักสูตร ปก.ศ.สูง เข้าเรียนต่อในชั้นปีที่ 3 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ) ในขณะนั้นถือว่าเป็นคณะวิชาการศึกษาคณะเดียวเท่านั้นนิสิตจะอยู่ในสังกัดคณะวิชาการศึกษา เปิดสอนวิชาเอกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2511 คือ วิชาเอกอังกฤษ และเอกชีววิทยา แล้วจึงได้เริ่มเปิดวิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกสังคมศึกษา ตามมาในปี พ.ศ. 2513
การเรียนสอนในขณะนั้น ในระยะแรกได้ใช้อาคารเรียนร่วมกับวิทยาลัยครูมหาสารคาม ก่อนที่ทางวิทยาลัยจะสร้างอาคาร 1 เสร็จในปี พ.ศ. 2512 และอาคาร 2 ในปี พ.ศ. 2514 ก่อนที่คณะวิชาการศึกษาจะย้ายสำนักงานมาที่อาคาร 2 โดยใช้ร่วมกับสำนักอธิการ ในการบริหารงาน นิสิตในคณะก็จะใช้อาคาร 1 และอาคาร 2 ในการเรียน
คณะศึกษาศาสตร์ ยุคมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคามแก้ไข
คณะศึกษาศาสตร์ ถือเป็นคณะใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของมหาวิทยาลัยมหาสารคามในขณะนั้น ทางคณะยังมีหน่วยงานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร คือ สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน สำนักแนะแนวอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยร่วมมือกับโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง (โครงการอีสานเขียว) เพื่อแนะแนวอาชีพแก่นิสิตและประชาชน เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พร้อมกับวิทยาลัยวิชาการศึกษาแห่งอื่น ๆ ทำให้คณะศึกษาศาสตร์ได้ถูกแบ่งแยกออกมาเป็นหน่วยงานที่เด่นชัด แต่การเป็นคณะก็ยังไม่ได้เป็นอย่างเอกเทศโดยสมบูรณ์คือ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม เป็นเพียงสาขาของคณะศึกษาศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และผู้ที่ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ก็มีเพียงคนเดียวที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ณ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตประสานมิตร ส่วนทางคณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตมหาสารคาม มีเพียงตำแหน่งรองคณบดี[12]
เมื่อเกิดการขยายตัวของคณะศึกษาศาสตร์มากขึ้น ประกอบกับจำนวนนิสิตก็ได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาคารเรียน ในปี พ.ศ. 2526 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ได้รับงบประมาณมาณก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ 5 บริเวณพื้นที่ระหว่างอาคาร 1 และสำนักงานห้องสมุด (ปัจจุบันคือที่ทำการสโมสรและบุคลากรนิสิต) และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2530 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารอเนกประสงค์ และได้เปิดใช้เป็นสำนักงานบัณฑิตศึกษารับผิดชอบการให้บริการทางวิชาการแก่คณาจารย์และนิสิตบัณฑิตศึกษา ซึ่งต่อมาสำนักงานคณะศึกษาศาสตร์ และห้องเรียนของนิสิตที่เดิมอยู่อาคาร 1 และอาคาร 2 ก็ได้ย้ายเข้ามาใช้อาคารในเวลาต่อมาด้วย และใช้เป็นสถานที่ในการดำเนินการเรียนการสอนในปัจจุบัน
คณะศึกษาศาสตร์ ยุคมหาวิทยาลัยมหาสารคามแก้ไข
ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ได้แยกตัวเป็นเอกเทศจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภายใต้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" โดยมีการแบ่งเป็น 4 คณะ คือ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยี ซึ่งหลังจากที่ได้แยกตัวเป็นเอกเทศมาเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์จึงได้ถูกยกฐานะเป็น "คณะ" อย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย โดยมีคณบดีเป็นหัวหน้า และคณบดีคนแรกของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิศมัย ศรีอำไพ[13][14][15]
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตหลากหลายสาขา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้เปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตในสาขาต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546[16][17]
ในปี พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2561 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่ประชุมให้ความเห็นชอบกับระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการบริหารงานโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และออกเป็นประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 สาระสำคัญคือ ให้โรงเรียนสาธิตเป็นหน่วยงานในกำกับของคณะศึกษาศาสตร์ โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มศักยภาพทางวิชาการและการใช้บุคลากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สัญลักษณ์แก้ไข
บุนนาค
ต้นไม้ประจำคณะ
- ตราสัญลักษณ์ : ตราโรจนศาสตร์ มีองค์ประกอบคือ หนังสือเป็นตัวแทนของการศึกษา หน้า 3 หน้า หมายถึง ศีลธรรม (สีเหลือง หมายถึง ศาสนา) ปัญญา (สีเทา หมายถึง สมอง) และพัฒนาประชาคม (สีแสด หมายถึง สีของความทันสมัยและการปฏิรูป) หนังสือที่กางออก เสมือนปีกของนกที่จะโบยบินไปสู่ขอบฟ้ากว้าง หมายถึง การศึกษาทำให้คนมีอิสระทางความคิด ไม่มีกรอบ ไม่มีพรมแดน ตราโรจนากร สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในหนังสือ หมายถึง คณะศึกษาศาสตร์เป็นคณะแรกที่ก่อตั้งมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ต้นไม้ประจำคณะ : บุนนาค
- สีประจำคณะ : สีแสด หมายถึงสติปัญญาเป็นเลิศ มีคุณธรรม มีความกล้าหาญและความรุ่งเรือง
- ปรัชญา : การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม
- เพลงประจำคณะ : เปลวเทียน
- อักษรย่อ : EDU
การบริหารงานแก้ไข
หน่วยงานภายในคณะแก้ไข
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้
การบริหารงานภายในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |||
---|---|---|---|
ด้านการบริหารงาน | ด้านการเรียนการสอน | ด้านการวิจัยและพัฒนา | |
|
|
|
ทำเนียบผู้บริหารแก้ไข
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีผู้บริหารรวมทั้งหมด 14 คน แบ่งเป็นหัวหน้าคณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม จำนวน 2 คน รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ซึ่งสังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จำนวน 6 คน และคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 6 คน ดังนี้
ทำเนียบผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ||
---|---|---|
หัวหน้าคณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม | ||
รายนามหัวหน้าคณะ | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตราจารย์ ดร.อารี สัณหฉวี | พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2514 | |
2. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญยะกาญจน | พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2517 | |
รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม | ||
รายนามรองคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. รองศาสตราจารย์สมบัติ มหารศ | พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2522 | |
2. ดร.ถวิล ลดาวัลย์ | พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2526 | |
3. ประพัทธ์ ชัยเจริญ | พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2528 | |
4. รองศาสตราจารย์จตุพร เพ็งชัย | พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532 | |
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เผชิญ กิจระการ | พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2536 | |
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยศ เรืองสุวรรณ | พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537 | |
คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ||
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. รองศาสตราจารย์ ดร.พิศมัย ศรีอำไพ | พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2542 | |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ นิ่มจินดา | พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545 | |
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท อิศรปรีดา | พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549 | |
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557 | |
5. รองศาสตราจารย์ ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร | พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2565 | |
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต ชูกำแพง | พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
หลักสูตรการศึกษาแก้ไข
ความเป็นมาและพัฒนาการหลักสูตรแก้ไข
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเปิดสอนวิชาเอกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2511 คือวิชาอังกฤษและชีววิทยาด้วยเหตุผลที่ว่าในประเทศไทยหรือแถบอีสานในสมัยนั้นมีชาวต่างชาติเข้ามาจำนวนมากโดยเฉพาะชาวอเมริกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนภาษาในการติดต่อสื่อสารกันและประเทศไทยขณะนั้น วิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับเกษตรยังไม่มีสถาบันเปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องโดยตรง แล้วจึงได้เริ่มเปิดวิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา ตามมาในปี พ.ศ. 2513 ส่วนวิชาโทเปิดสอน 5 วิชา คือ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ เคมี ภาษาไทย และภูมิศาสตร์ จึงเลือกเปิดวิชาชีววิทยาที่เรียนเกี่ยวกับธรรมชาติและการเกษตร แล้วจึงได้เริ่มเปิดวิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาคณิตศาสตร์ตามมาในปี 2513 รวมถึงวิชาอื่น ๆ และวิชาโทต่าง ๆ ดังนี้
- วิชาเอก ประกอบด้วย ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เคมี และฟิสิกส์
- วิชาโท ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์
ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้แยกตัวเป็นเอกเทศจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปีการศึกษา 2539 ได้เปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สาขาวิชาประถมศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ - ชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ - ฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ - เคมี และสาขาวิชาศิลปศึกษา ในปีการศึกษา 2547 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ที่ระบุว่า "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ" และของกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต้องการส่งเสริมการดำเนินการยกระดับวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งหลักสูตรดังกล่าว ปรับปรุงจากหลักสูตรเดิม 4 ปี เป็นหลักสูตร 5 ปี ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และสาขาวิชาสังคมศึกษา
ในปีการศึกษา 2548 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาจิตวิทยา
ในปีการศึกษา 2550 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
ในปีการศึกษา 2560 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ปรับปรุงหลักสูตรเป็นสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา ซึ่งมีวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา และวิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษาเป็นเอกคู่
ในปีการศึกษา 2562 ได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 ปรับปรุงจากหลักสูตรเดิม 5 ปี เป็นหลักสูตร 4 ปี ทั้ง 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และสาขาวิชาสังคมศึกษา
ในปีการศึกษา 2566 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาพลศึกษาและการกีฬา
หลักสูตรที่เปิดสอนในปัจจุบันแก้ไข
คณะศึกษาศาสตร์ ทำการเรียนการสอนภายใต้คณะตนเองทั้งหมด 26 สาขาวิชา แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 10 สาขา ปริญญาโท 10 สาขา และปริญญาเอก 6 สาขา และสนับสนุนการสอนให้คณะอื่น 4 สาขาวิชาดังนี้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[18] | |||
---|---|---|---|
ภาควิชา | ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ภาควิชาบริหารการศึกษา |
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
|
หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
| |
ภาควิชาหลักสูตรและการสอน |
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)
|
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)
|
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา |
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
| |
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา |
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
หลักสูตรที่คณะศึกษาศาสตร์ร่วมสนับสนุนการสอน | |||
---|---|---|---|
คณะ | ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)
|
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
|
||
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)
|
|||
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)
|
วิชาการแก้ไข
ศูนย์บริการวิชาการแก้ไข
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย[20] ศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (CEECE, MSU) เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เดิมชื่อ "ศูนย์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย" (ECLC) และเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย เมื่อปี พ.ศ. 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาปฐมวัย รวมถึงผู้สนใจ ในรูปแบบของการให้บริการทางวิชาการ เพื่อให้ผู้เรียนและผู้ที่สนใจได้รับโอกาสในการพัฒนาความรู้
ศูนย์ความเป็นเลิศทางจิตวิทยา[21] เป็นหนึ่งในเครือข่ายสุขภาพจิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยให้บริการคำปรึกษานิสิต เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาความเครียดในระดับปานกลาง ของภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ชั้น 6 อาคารวิทยพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา[22] ศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (CASEID) เป็นหน่วยงานที่พึ่งทางวิชาการ สำหรับบุคลากรทางการศึกษา ให้บริการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคม ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิจัยทางการศึกษา คณาจารย์ และนิสิต เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยทางการศึกษา และสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขในการวิจัยทางการศึกษา
ศูนย์ฝึกประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพครู[23] ศูนย์ฝึกประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (CPTD) มีภารกิจที่สำคัญคือ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน การออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา การจัดระบบการนิเทศ การจัดกิจกรรมเสริมความเป็นครู การประสานงานกับคุรุสภา การบริหารงบประมาณ และการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ
วารสารแก้ไข
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดทำวารสารจำนวน 4 ฉบับ ดังนี้
วารสารศึกษาศาสตร์[24] ตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ และบทวิจารณ์หนังสือ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาวิชาชีพครู โดยครอบคลุมสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน การบริหารการศึกษา เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ศึกษา จิตวิทยาและแนะแนวการศึกษา การวัดและประเมินผลทางการศึกษา สถิติและวิจัยทางการศึกษา และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา
วารสารการวัดผลการศึกษา[25] ตีพิมพ์ผลงานวิชาการใน 3 ลักษณะ ได้แก่ บทความวิชาการ บทความวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ และบทวิจารณ์หนังสือ ในสาขาการวัดผลและประเมินผล การวิจัยทางการศึกษา สถิติ และจิตวิทยาการศึกษาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา[26] มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ บทความวิจารณ์หนังสือ และบทความทั่วไป
วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา[27] ตีพิมพ์ผลงานในด้านการศึกษา สาขาสังคมศาสตร์ ด้านการศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบของบทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์
การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พื้นที่คณะแก้ไข
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีพื้นที่การศึกษาอยู่ที่เขตพื้นที่ในเมือง หรือ ม.เก่า ตั้งอยู่ที่เลขที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในระยะแรกได้ใช้อาคารเรียนร่วมกับวิทยาลัยครูมหาสารคาม ต่อมาได้ทำการใช้อาคาร 1 และอาคาร 2 เป็นอาคารเรียน ในปี พ.ศ. 2530 ได้เปิดอาคารไอทีเป็นอาคารเรียนถาวรแห่งแรกของคณะศึกษาศาสตร์ ปัจจุบันมีอาคารและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ดังนี้
อาคารไอที หรืออาคารศึกษาศาสตร์แก้ไข
อาคารเรียนถาวรแห่งแรกของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2526 เปิดใช้อาคารปี พ.ศ. 2530 เดิมมีชื่ออาคาร 5 หรืออาคารบัณฑิตศึกษา หรืออาคารอเนกประสงค์ หรืออาคารศึกษาศาสตร์ เป็นชื่อเรียกสมัยก่อนเมื่อครั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ปัจจุบันนิสิตคณะศึกษาศาสตร์เรียกอาคารนี้ว่าตึกไอที (IT) ในปี พ.ศ. 2526 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ได้รับงบประมาณมาก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ 5 บริเวณพื้นที่ระหว่างอาคาร 1 และสำนักงานห้องสมุด ซึ่งภายในอาคารได้ติดตั้งลิฟต์ และถือว่าเป็นลิฟต์แรกของมหาวิทยาลัยมหาสารคามและของจังหวัดมหาสารคาม ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารอเนกประสงค์ และได้เปิดใช้เป็นสำนักงานบัณฑิตศึกษารับผิดชอบการให้บริการทางวิชาการแก่คณาจารย์และนิสิตบัณฑิตศึกษา[28][29] ปัจจุบันอาคารไอทีเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการวิชาการ คลินิกวิจัย ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา และภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
อาคารสโมสรนิสิตคณะศึกษาศาสตร์แก้ไข
เดิมมีชื่อว่าหอสมุดวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ในช่วงก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ปีแรกในปี พ.ศ. 2511 นิสิตและอาจารย์ได้อาศัยใช้ห้องสมุดวิทยาลัยครูมหาสารคามเป็นหลัก กระทั่งหอสมุดวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม สร้างเสร็จและสามารถเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ต่อมาได้มีการสร้างอาคารเชื่อมต่อกับตึกแปดเหลี่ยม และเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักวิทยบริการ ในปี พ.ศ. 2528[30] ในอดีตยังเคยเป็นสถานที่ในการจัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตด้วยพระองค์เอง ที่หอสมุดวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามถึง 3 ครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2516 – 2517 และปี พ.ศ. 2519[31]
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาการบริหารงานของสำนักวิทยบริการได้ย้ายสำนักงานมายังที่อาคารวิทยบริการหลังใหม่ที่เขตพื้นที่ขามเรียง โดยอาคารสำนักวิทยบริการเดิมในส่วนของอาคารหอสมุดเดิมได้รับการปรับใช้ให้เป็นสำนักวิทยบริการ หน่วยบริการศรีสวัสดิ์ เพื่อให้บริการแก่นิสิตและบุคลากรที่อยู่ใกล้เคียง
ปัจจุบันสำนักวิทยบริการ หน่วยบริการศรีสวัสดิ์ได้ปิดให้บริการ เนื่องจากมีสภาพอาคารเก่า และชำรุดทรุดโทรมมาก[32] และได้ย้ายที่ทำการมาหน่วยบริการอาคารวิทยพัฒนาแทน ปัจจุบันอาคารนี้จึงถูกใช้ในส่วนราชการคณะศึกษาศาสตร์ และเป็นที่ตั้งของสโมสรนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามจนถึงปัจจุบัน[30]
อาคารแปดเหลี่ยม หรืออาคารศึกษาศาสตร์ 2แก้ไข
อาคารแปดเหลี่ยม (ศษ) เคยเป็นอาคารสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 - 2543 โดยเมื่อปี พ.ศ. 2534 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักวิทยบริการ (อาคารแปดเหลี่ยม) จำนวน 67 ล้านบาท สามารถเปิดใช้บริการได้ในปี พ.ศ. 2536 โดยมีหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีสงฆ์ อาคารมีลักษณะเป็นรูป 8 เหลี่ยมจำนวน 4 ชั้นเนื้อที่ 6,704 ตารางเมตร โดยมีการสร้างเชื่อมต่อกับอาคารสำนักวิทยบริการหลังเดิม และได้ใช้เป็นที่ทำการสำนักวิทยบริการเรื่อยมา ในช่วงเวลานี้ได้มีการตั้งศูนย์สิรินธรภายในตึกแปดเหลี่ยม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อใหม่เป็น "ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร" โดยทรงเสด็จฯ เปิดศูนย์สารสนเทศอีสานสิรินธรด้วยพระองค์เองเมื่อปี พ.ศ. 2538[33][34]
ต่อมาสำนักวิทยบริการได้ย้ายที่ทำการมาที่เขตพื้นที่ขามเรียง ปี พ.ศ. 2543 ตึกแปดเหลี่ยมได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นห้องเรียนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์และคณะการบัญชีและการจัดการ ปัจจุบันเป็นที่เรียนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ โดยภายในอาคารเป็นที่ตั้งของภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา[35]
อาคารวิทยพัฒนาแก้ไข
อาคารวิทยพัฒนา (EDU) เป็นอาคารสูง 9 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอาคารคณะศึกษาศาสตร์เดิม (ตึกไอที) จัดสร้างขึ้นด้วยเงินงบประมาณ จำนวน 92 ล้านบาท โดยการริเริ่มของรองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ อดีตคณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะศึกษาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2551 เพื่อรองรับการขยายตัวในการเปิดหลักสูตรในระดับต่าง ๆ ของคณะ[36] โดยแบ่งพื้นที่ใช้สอยดังนี้
- ชั้น 1 และชั้น 2 จัดเป็นห้องสมุดและห้องสืบค้นสารสนเทศ
- ชั้น 3 – 4 จัดเป็นห้องประชุมใหญ่ จำนวน 1 ห้อง ปัจจุบันคือห้องประชุมสิกขาลัย และห้องเรียนจำนวน 8 ห้อง
- ชั้น 5 จัดเป็นสำนักงานบริหารคณะ
- ชั้น 6 – 7 จัดเป็นห้องพักคณาจารย์
- ชั้น 8 – 9 จัดเป็นห้องสำนักงานภาควิชา จำนวน 3 ห้อง และห้องเรียน จำนวน 7 ห้อง
อาคารอเนกประสงค์ 50 ปี และลานกิจกรรมนิสิตคณะศึกษาศาสตร์แก้ไข
เนื่องในโอกาสที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามครบรอบ 50 ปี คณะกรรมการบริหารคณะศึกษาศาสตร์ สมาคมศิษย์เก่าคณะศึกษาศาสตร์ จึงได้มีโครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 50 ปี และลานกิจกรรมนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ โดยได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อกัณหา สุขกาโม วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้อุปถัมภ์ด้านงบประมาณ โดยมีการส่งมอบลานกิจกรรมคณะศึกษาศาสตร์ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564[37]
พระพุทธสิกขาลัยแก้ไข
เป็นพระพุทธรูปหินทราย ปางมารวิชัย พระพุทธรูปประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สร้างขึ้นโดยนายอินทรศักดิ์ เทียมเสวต ในช่วงปี พ.ศ. 2531 โดยทำการรวมธาตุจากพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ถูกทุบทำลาย และนำมาทำการสร้างที่วัดเทพสุวรรณ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งต่อมาได้นำมามอบเป็นพระประธานในสถานศึกษา ส่วนราชการและวัดหลายแห่ง[38] เช่น พระพุทธมหิดลมงคลวรญาน พระประธานด้านหน้าหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล, พระพุทธภควันตศาสดา มหาวิทยาลัยบูรพาภิมงคล พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยบูรพา[39] เป็นต้น
ชีวิตนิสิตแก้ไข
สาขาวิชาแก้ไข
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่าง ๆ ตั้งแต่วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ซึ่งได้ทำการปรับเปลี่ยนหลักสูตรไปตามยุคสมัย จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้ทำการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ ที่ตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาล ปัจจุบันมีสาขาวิชาทั้งหมด 10 สาขาวิชา ซึ่งแต่ละสาขาวิชามีเอกลักษณ์ กิจกรรม รวมไปถึงการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ประเพณีและกิจกรรมของคณะจะถูกแบ่งไปตามแต่ละสาขาวิชา[7] ดังนี้
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
สาขาวิชาพลศึกษาและการกีฬา |
สาขาวิชาภาษาไทย
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
สาขาวิชาสังคมศึกษา[48]
|
ชมรมแก้ไข
ชมรมต่อไปนี้เป็นชมรมสังกัดสโมสรนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีดังนี้
- ชมรมครูอาสา มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ ค่ายครูอาสารักป่าอีสาน ค่ายเปลวเทียนสู่ฝัน และค่ายครูอาสาสู่ชนบท[50]
- ชมรมครูบ้านนอก มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ ค่ายเปิดอุดมการณ์ครูบ้านนอกสู่เส้นทางฝัน และค่ายครูบ้านนอก
- ชมรมพิมพ์หลากสี มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ ค่ายสัมมนาผู้นำชมรมพิมพ์หลากสี ค่ายคืนสู่เย้า พลิกดินสู่ดาว ค่ายหลากสีสัมพันธ์แต่งฝันเติมสี และค่ายพลิกดินสู่ดาว
- ชมรมคณิตศาสตร์ มมส. มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ ค่ายวิชาการ ค่ายพัฒนาเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ค่ายพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ และค่ายบูรณาการ STEM
- ชมรมครูภาษาอังกฤษ (KRU ENG CLUB) มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ ค่ายชมรม KRU ENG CLUB
ประเพณีและกิจกรรมแก้ไข
กิจกรรมภายในคณะแก้ไข
กิจกรรมร้องเพลงคณะศึกษาศาสตร์
เป็นกิจกรรมรับน้องและพิสูจน์รุ่นของนิสิตใหม่คณะศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 จัดโดยสโมสรนิสิตคณะศึกษาศาตร์ มีวัตถุประสงค์ในด้านสันทนาการ แนะนำอัตลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและรุ่นพี่กับรุ่นน้อง ตระหนักถึงคุณค่าความเป็นครู และกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญในยามค่ำคืน
การนับรุ่นของคณะศึกษาศาสตร์ เริ่มนับจากปีที่ก่อตั้งคณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม พ.ศ. 2511 โดยใช้ชื่อว่า "ช่อบุนนาค"
วันศึกษาศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นเพื่อให้เปิดสอนถึงระดับปริญญา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงจึงได้รับ การสถาปนาเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 และได้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาประกาศในราชกิจจานุเบกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม เป็นวิทยาเขตที่ 5 ของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งได้รับอนุมัติแต่งตั้งในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ทางคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงกำหนดให้วันที่ 27 มีนาคมของทุกปี เป็นวันศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[51]
กิจกรรมศึกษาศาสตร์รวมใจติดป้ายบูชาครู
เป็นพิธีมอบป้ายติดอกของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 3 ซึ่งถือเป็นนิสิตเรียนครูที่ได้ศึกษาในหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์เป็นระยะเวลาหนึ่ง ทางคณะศึกษาศาสตร์จึงมอบป้ายติดอกเพื่อตระหนักในวิชาชีพครู และเป็นกำลังใจให้นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ได้มุ่งมั่นที่จะเป็นครูที่ดีต่อไป
บุนนาคเกมส์
เป็นกิจกรรมกีฬาภายในคณะศึกษาศาสตร์ จัดโดยสโมสรนิสิตคณะศึกษาศาตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีของสาขาวิชาต่าง ๆ นอกจากจะมีการแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ แล้ว ยังมีการแข่งขันสแตนด์เชียร์ หรือบางปีจัดเป็นกิจกรรมเต้นสันทนาการ และผู้นำเชียร์
ค่ายคนพันธุ์ครู
เป็นค่ายที่จัดขึ้นโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ โดยจัดกิจกรรมด้านวิชาการ อาทิ การติวสอบ เป็นต้น รวมไปถึงกิจกรรมสันทนาการ
กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยแก้ไข
กระดานดำสัมพันธ์
กระดานดำสัมพันธ์ เป็นการแข่งขันกีฬาประเพณีศึกษาศาสตร์ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2548 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของนิสิตนักศึกษาในสายวิชาชีพครู 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นอกจากการแข่งกีฬาแล้ว ยังมีการแสดงจากนิสิตนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยและการแสดงในงานเลี้ยงกลางคืนทั้งมีการประกวดกองเชียร์และเชียร์หลีดเดอร์ของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยทุกสถาบันจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนในการเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี
กีฬาเชื่อมสัมพันธ์ ครุศาสตร์ – ศึกษาศาสตร์ มรม-มมส.
เป็นกิจกรรมกีฬาเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งในอดีตเคยมีการพึ่งพิงอาศัยกัน ในช่วงก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม นิสิตและอาจารย์ได้อาศัยใช้อาคารเรียนและห้องสมุดร่วมกับวิทยาลัยครูมหาสารคาม ดังนั้นเพื่อตระหนักถึงความสัมพันธ์อันดีงามของทั้งสองสถาบันผลิตครู จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น
กีฬาวิทยาศาสตร์การกีฬาสัมพันธ์ หรืองานวิทย์กีฬาสัมพันธ์
เป็นกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษาที่เรียนในทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ภายในงานวิทย์กีฬาสัมพันธ์จะประกอบด้วย กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสากล กีฬาฮาเฮ การประกวดผู้นำเชียร์และสแตนด์เชียร์ งานเลี้ยงสังสรรค์ และการแสดงจากนิสิตนักศึกษาของแต่ละสถาบัน โดยทุกสถาบันจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนในการเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี
ในช่วงระยะแรกเริ่มต้นจาก 4 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปัจจุบันมีสถาบันเข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 14 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยศิลปากร
บุคคลสำคัญแก้ไข
- ดูบทความหลักที่ รายชื่อบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศิษย์เก่า
- ชิงชัย มงคลธรรม เป็นหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[52]
- พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) สำเร็จหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา พระสังฆาธิการ เจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์ รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายมหานิกาย[53]
- ไพจิต ศรีวรขาน สำเร็จหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม สังกัดพรรคเพื่อไทย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24[54]
- แมน มณีวรรณ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง สังกัดค่ายอาร์สยาม[55]
- วิเชียร ไชยบัง สำเร็จหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อำเภอลำปายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์[56]
- เวียง วรเชษฐ์ สำเร็จหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น อดีตอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกาฬสินธุ์[57]
- ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ สำเร็จหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาศิลปศึกษา เป็นอาจารย์สาขาทัศนศิลป์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[58]
- สุทิน คลังแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จังหวัดมหาสารคาม[59]
- อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ สำเร็จหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม
บุคลากร
- รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาด อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม[60]
- รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รักษาการเลขาธิการคุรุสภา และประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา[61]
- รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[62]
- รองศาสตราจารย์ ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร อาจารย์ประจำภาควิชาการบริหารการศึกษา อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[63]
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "ฐานข้อมูลบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์", edu.msu.ac.th, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ "ที่ตั้งคณะศึกษาศาสตร์", edu.msu.ac.th, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ "5 Best universities for Education Majors in Thailand"
- ↑ "รายละเอียดของวารสาร", ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย, สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566
- ↑ "1.7 หมื่นคนแห่ชิงโควตา มมส เผย 10 คณะยอดฮิต ที่มีผู้สมัครมากที่สุด", กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566
- ↑ "TOPฮิต 10 คณะ มมส ที่มียอดผู้สมัครสูงที่สุด", กองบริการการศึกษา ม.มหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566
- ↑ 7.0 7.1 "หลักสูตรระดับปริญญาตรี" (PDF). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ January 3, 2023.
- ↑ "หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา", คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566
- ↑ "ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ", SWUAnnualReport, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ (2535). แนวคิดและผลงานศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร. p. 137.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ "ประวัติความเป็นมาคณะศึกษาศาสตร์", edu.msu.ac.th, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗, มาตรา เล่ม ๙๑ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ประกาศใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2517. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
- ↑ "ประวัติความเป็นมาคณะศึกษาศาสตร์", edu.msu.ac.th, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ (9-10), [จัดตั้งสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน และให้มีสำนักงานเลขานุการในสถาบันดังกล่าว], มาตรา เล่ม ๑๐๓ ตอนพิเศษ ๑๙๘ ประกาศใช้เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2529. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ (36), ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา เล่ม ๑๐๓ ตอนพิเศษ ๑๓๙ ประกาศใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2529. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
- ↑ "50 ปี กศ.บ. สาขาวิชาสังคมศึกษา", สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ "เส้นเวลาการก่อตั้งและเหตุการณ์สำคัญของสาขาวิชาสังคมศึกษาที่มีพัฒนาการมามากว่า 50 ปี", สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 137 เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 มีนาคม 2564
- ↑ 19.0 19.1 19.2 "แผนหลักสูตรและแผนการรับนิสิต ปีการศึกษา 2566-2570" (PDF). กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. สืบค้นเมื่อ January 3, 2023.
- ↑ "ศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม", ศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566
- ↑ "เครือข่ายสุขภาพจิต มมส", วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566
- ↑ วิดีโอแนะนำศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา (คลินิกวิจัย) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (วีดีทัศน์). เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 2.09 นาที.
- ↑ "7 ภารกิจ ศูนย์ฝึกประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพครู", ศูนย์ฝึกประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566
- ↑ "เกี่ยวกับวารสาร", วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566
- ↑ "วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม", วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566
- ↑ "วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา", วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566
- ↑ "วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา", วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566
- ↑ แผนงาน,กอง สำนักนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ข้อมูลพื้นฐานปี พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : กองแผนงานสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2550
- ↑ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2553 .สารานุกรมประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (หมวดอาคาร และสถานที่). มหาสารคาม
- ↑ 30.0 30.1 "ประวัติและความเป็นมา". สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ December 31, 2022.
- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามในโอกาสนี้อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ไปต้อนรับถวายความจงรักภักดี ณ สนามบินขอนแก่น", KKU Archives, สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2565
- ↑ "แจ้งงดบริการชั่วคราว หน่วยบริการศรีสวัสดิ์" เก็บถาวร 2018-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, MSU News, สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565
- ↑ "ประวัติและความเป็นมาศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร", ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร, สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2565
- ↑ หอจดหมายเหตุและสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2553. มหาสารคาม
- ↑ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2553 .สารานุกรมประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (หมวดอาคาร และสถานที่). มหาสารคาม
- ↑ "คณะศึกษาศาสตร์ มมส ทำบุญเปิดอาคารวิทยพัฒนา"[ลิงก์เสีย], MSU Hot News, สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565
- ↑ "คณะศึกษาศาสตร์ มมส ทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนสร้างลานกิจกรรมและอาคารอเนกประสงค์ 50 ปี" เก็บถาวร 2022-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, MSU News, สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2565
- ↑ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (ม.ป.ป). ข่าวกิจกรรมคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
- ↑ "หอพระพุทธภควันตศาสดา มหาวิทยาลัยบูรพาภิมงคล", จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยบูรพา, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ "คุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง, ดูรายการ [รหัส 5220210026009910"], ระบบสืบค้นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- ↑ "คุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง, ดูรายการ [รหัส 5220210026012590"], ระบบสืบค้นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- ↑ "คุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง, ดูรายการ [รหัส 5110210210014270"], ระบบสืบค้นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- ↑ "คุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง, ดูรายการ [รหัส 5320210026019260"], ระบบสืบค้นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- ↑ "คุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง, ดูรายการ [รหัส 5220210026026270"], ระบบสืบค้นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- ↑ "คุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง, ดูรายการ [รหัส 5220210026027080"], ระบบสืบค้นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- ↑ "คุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง, ดูรายการ [รหัส 5010210210030910"], ระบบสืบค้นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- ↑ "คุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง, ดูรายการ [รหัส 5220210026031520"], ระบบสืบค้นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- ↑ "สัญลักษณ์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา", สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ "คุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง, ดูรายการ [รหัส 5220210026038000"], ระบบสืบค้นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- ↑ "ค่าย ชมรมครูอาสา มมส.", True ID, สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565
- ↑ "กิจกรรมทำบุญตักบาตรเนื่องในวันศึกษาศาสตร์ 54 ปี", คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565
- ↑ ประวัตินายชิงชัย
- ↑ http://mahathera.onab.go.th/index.php?url=mati&id=7760
- ↑ ประวัติไพจิต
- ↑ แมน มณีวรรณ
- ↑ "ประวัติผู้อำนวยการโรงเรียน", Lamplaimat Pattana School, สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566
- ↑ "หอเกียรติยศ" เก็บถาวร 2023-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หอเกียรติยศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566
- ↑ "ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์", คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566
- ↑ ประวัตินายสุทิน
- ↑ "บุญชม ศรีสะอาด", ฐานข้อมูลบุคลากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2566
- ↑ "รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. และรักษาการเลขาธิการคุรุสภา เข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการพร้อมมอบนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานแก่ผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็นวันแรก", สำนักงาน ก.ค.ศ., สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566
- ↑ "รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม", ฐานข้อมูลบุคลากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2566
- ↑ "ประวัติ", ฐานข้อมูลบุคลากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เฟซบุ๊ก
- คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เฟซบุ๊ก (สโมสรนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)