คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (อังกฤษ: Faculty of Art Education, Bunditpatanasilpa Institute) เป็นคณะวิชาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตด้านศึกษาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคตีศิลป์

คณะศิลปศึกษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Faculty of Art Education, Bunditpatanasilpa Institute
สถาปนา6 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (24 ปี)
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์มณภัทร์ ถมังรักษ์สัตว์
ที่อยู่
คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
สี██ สีฟ้า
มาสคอต
พระพิฆเนศ
เว็บไซต์fed.bpi.ac.th

ประวัติ แก้

คณะศิลปศึกษา เป็นคณะวิชาหนึ่งในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตด้านศึกษาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคตีศิลป์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 โดยเปิดการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 2 ปี ต่อเนื่อง) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542

ในปี พ.ศ. 2547 คณะศิลปศึกษา ได้เปิดหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต 5 ปี (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547) เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและนโยบายการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเปิดการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ประกอบด้วย 4 ภาควิชา คือ ภาควิชานาฏศิลป์ศึกษา ภาควิชาดุริยางคศิลป์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา และภาควิชาศึกษาทั่วไป

คณะศิลปศึกษา ในฐานะแหล่งส่งถ่ายความรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ทั้งแนวทางการอนุรักษ์ การพัฒนาและสร้างสรรค์ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไปสู่บัณฑิต และจากบัณฑิตในฐานะผู้สอนถ่ายทอดความรู้ไปสู่เยาวชนของชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตครูนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ทั้งไทยและสากลที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านศิลปะ สามารถประยุกต์หลักการ วิธีสอนและเทคนิคต่าง ๆ มาบูรณาการการสอนศิลปะทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์พัฒนาองค์ความรู้สู่การประยุกต์ได้อย่างสัมฤทธิผลเป็นรูปธรรม บัณฑิตพึงยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีคุณธรรม จริยธรรม ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในปัจจุบัน เพื่อผดุงรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ

หลักสูตร แก้

ปริญญาตรี

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) 5 ปี

  • สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา
  • สาขาวิชานาฏศิลป์สากลศึกษา
  • สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา
    • แขนงวิชาดนตรีไทย
    • แขนงวิชาคีตศิลป์ไทย
  • สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา
    • แขนงวิชาดนตรีสากล
    • แขนงวิชาคีตศิลป์สากล

หมายเหตุ นอกจากนี้ คณะศิลปศึกษา ได้เปิดห้องเรียนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ในวิทยาลัยนาฏศิลปส่วนภูมิภาค จำนวน 11 แห่งดังนี้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้