คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Engineering, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในชื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตามมิติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542[1] ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะลำดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) และเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต
Faculty of Engineering, Mahasarakham University | |
ชื่อย่อ | วศ. / EN |
---|---|
คติพจน์ | สร้างสรรค์ยอดบัณฑิต สมนามสิทธิ์ตักสิลา งานวิจัยให้ก้าวหน้า ใส่ใจหาทรัพย์มนุษย์ |
สถาปนา | 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
คณบดี | รศ.ดร.จักรมาส เลาหวณิช |
ที่อยู่ | อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมศาสตร์ เลขที่ 41 หมู่ 20 ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 |
วารสาร | วารสารเทคโนโลยีวิศวกรรมนานาชาติมหาสารคาม |
สี | สีเลือดหมู |
มาสคอต | เกียร์ |
เว็บไซต์ | https://eng.msu.ac.th/ |
ประวัติ
แก้ในปี พ.ศ. 2539 คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดตั้งภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2542 ได้มีมติให้จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Faculty of Engineering and Computer Science) มหาวิทยาลัยมหาสารคามขึ้น[1] ซึ่งได้รับการโอนย้ายภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์มาจากคณะวิทยาศาสตร์ มีคณบดีคนแรกคือ ศาสตราจารย์ ดร.กิตติ อินทรานนท์ ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ถูกเชิญมาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]
ในช่วงแรกเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนอยู่ 2 หลักสูตร คือหลักสูตรวิศวกรรมชนบท และหลักสูตรวิศวกรรมการผลิต โดยในขณะนั้นยังไม่มีอาจารย์ผู้สอน ท่านคณบดีคนแรกของคณะคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้เชิญอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาเป็นอาจารย์ผู้สอน เดิมที่ตั้งคณะอาศัยอยู่ที่อาคารราชนครินทร์ ชั้น 7 และในช่วงนั้นยังได้มีการขอใช้ห้องทดลองในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในอดีตนั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์มีสองภาควิชาคือ ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อมาภายหลังภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้แยกตัวออกเป็นคณะวิทยาการสารสนเทศ[2] และในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงได้ทอนชื่อเป็น"คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Engineering, Mahasarakham University"[1]
ในปี พ.ศ. 2544 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมชนบท แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[3]
ปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานออกเป็นสำนักงานเลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาต่าง ๆ จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โทและเอกจำนวน 3 หลักสูตร 15 สาขาวิชา ในปีก่ศึกษา 2563 มีบุคลากรทั้งสิ้น 93 คนและนิสิตจำนวน 2,964 คน[4]
หน่วยงานภายในคณะ
แก้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้
หลักสูตร
แก้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี โทและเอก ทั้งสิ้น 3 หลักสูตร 15 สาขาวิชา ดังนี้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[5] | |||
---|---|---|---|
สำนักวิชา/ภาควิชา/สาขาวิชา | ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
||
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพและอาหาร |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
||
สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
||
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
||
สาขาวิชาวิศวกรรมปฏิบัติ |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
คณบดี
แก้รายนามคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
สถานที่ตั้งและพื้นที่
แก้คณะวิศวกรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย ระหว่างคณะสาธารณสุขศาสตร์และคณะวิทยาการสารสนเทศ ตรงข้ามกับศูนย์นวัตกรรมไหม ประกอบด้วยอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ 3 หลังได้แก่ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยี อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมศาสตร์ อาคารปฏิบัติการทางวิศวกรรม
มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น ในงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2542 – 2545 วงเงินที่ใช้ในการก่อสร้างจำนวนทั้งหมด 115,462,800 บาท เลขที่สัญญาจ้าง จ.10/2542 เริ่มการทำสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 จำนวนงวดงาน 15 งวดงาน กำหนดวันแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ผู้ออกแบบคือ CAPE บริษัทผู้รับจ้างหจก. กำจรกิจก่อสร้าง ใช้เป็นอาคารเรียนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลักษณะอาคาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอยจำนวนทั้งหมด 15,000 ตารางเมตร
คณะวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2542 ต่อมาได้รับการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องการปรับปรุงระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2548) ซึ่งได้จัดตั้งเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 แต่ในระยะแรกด้วยความไม่พร้อมทางด้านสถานที่ จึงได้อาศัยใช้บางส่วนของอาคารราชนครินทร์ (RN) เป็นที่ทำการชั่วคราว ภายหลังได้สร้างอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ขึ้น เริ่มดำเนินการในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 มีจุดเด่นที่สำคัญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ การเน้นประยุกต์องค์ความรู้ให้สอดคล้องกับการพัฒนาท้องถิ่น
ปัจจุบันอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ประกอบด้วย
ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ 1 (EN1)
- ชั้น 1 ห้องสำนักงานเลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์, ห้องเครื่องไฟฟ้า, ห้องวิจัยท่อความร้อนและออกแบบอุปกรณ์ความร้อน, ห้องปฏิบัติการโยธา, ห้องปฏิบัติการเครื่องกล, ห้องปฏิบัติการแหล่งน้ำสิ่งแวดล้อม, ห้องปฏิบัติการเชื้อเพลิงชีวมวล, ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมอาหารและวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว, ห้องวิชาการ, ห้องพักอาจารย์, ห้องรองคณบดี, ห้องเรียน
- ชั้น 2 ห้องสมุด, ห้องประชุมอินทรานนท์, ห้องคณบดี, ห้องวิจัยคอนกรีต, ห้องปฏิบัติการสำรวจ, ห้องพักอาจารย์, ห้องพักนักศึกษา, ห้องเรียน
- ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการ CADD CAN & CNC, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ห้องปฏิบัติการชลศาสตร์, ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมอาหารและการเก็บเกี่ยว, ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมการทาง, ห้องปฏิบัติการระบบความร้อน, ห้องปฏิบัติการโลหะวิทยา, ห้องพักนิสิตบัณฑิตศึกษา, ห้องวิจัยคอนกรีต, ห้องวิจัยขบวนการอุณหภูมิ
- ชั้น 4 ห้องปฏิบัติการชีววิทยาสำหรับสิ่งแวดล้อม, ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลังและเครื่องกลไฟฟ้า, ห้องปฏิบัติการดิจิทัลและไฟฟ้าสื่อสาร, ห้องปฏิบัติการไมโครโปรเซอร์, ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์, ห้องเขียนแบบวิศวกรรม, ห้องวิจัยวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์, ห้องโครงการงานนิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า
ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ 2 (EN2)
ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ 3 (EN3)
อาคารปฎิบัติการวิศวกรรมศาสตร์ 1
อาคารปฎิบัติการวิศวกรรมศาสตร์ 2
กีฬา 5 วิด’สัมพันธ์
แก้“กีฬา 5 วิด’สัมพันธ์”[6] เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างวิทยาลัยการเมืองการปกครอง (วิดการเมือง), คณะวิทยาการสารสนเทศ (วิดยาการ), วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (วิดดุ), คณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิดวะ) และคณะวิทยาศาสตร์ (วิดยา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) โดยมีจุดประสงค์ให้ทั้ง 5 คณะ เกิดความผูกพัน มิตรภาพไมตรี และเกิดความสามัคคีแน่นแฟ้นต่อกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังได้รับความสนุกสนามเพลิดเพลินและผ่อนคลาย
ส่วนในกีฬานั้นจะแบ่งออกเป็น 2ประเภท คือกีฬาสากล กับกีฬาพื้นบ้าน ส่วนในเรื่องของแสตนเชียร์และผู้นำเชียร์ได้มีการตกลงถึงกฎ กติกา มารยาทในการแข่งขันกีฬา เช่น มีชักกะเย่อ ส่งลูกปิงปอง และเพิ่มสีสันด้วยกีฬาผู้นำคือให้ผู้นำแต่ละคณะได้ลงมาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งมีการโชว์สแตนด์เชียร์ จัดกีฬาพื้นบ้านขึ้นมา เพื่อให้น้องที่สแตนด์มีส่วนร่วมด้วยเป็นประจำทุกปี เรียกได้ว่าเป็นประเพณีไปแล้ว สำหรับการเวียนเจ้าภาพ จะเวียนเป็นวงกลมตามภูมิลักษณะของมหาวิทยาลัย เริ่มต้นจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง และคณะวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "ประวัติความเป็นมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019.
- ↑ 2.0 2.1 รองศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง. วีดิทัศน์ครบรอบ 20 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ 18 มีนาคม 2562 (วีดีทัศน์). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 11.55 นาที.
- ↑ "คำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2019-03-29.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : สถิติจำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามปีการศึกษา 2563 โดย กองแผนงาน สำนักงานธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 135 เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 มีนาคม 2564
- ↑ สื่อมวลชล. “กีฬา 5 วิด’สัมพันธ์” สานสัมพันธ์ 5 คณะ มมส. เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 6 ตุลาคม 2565.