คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64
คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 (3 กันยายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน) เป็นคณะรัฐมนตรีไทยซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยถอดถอนเศรษฐา ทวีสิน ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 สิ้นสุดลงทั้งคณะ จึงต้องมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนเศรษฐา และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ทั้งหมด
คณะรัฐมนตรีแพทองธาร | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 64 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน | |
วันแต่งตั้ง | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 36 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
นายกรัฐมนตรี | แพทองธาร ชินวัตร (พท.) |
สมัยของนายกรัฐมนตรี | 1 |
รองนายกรัฐมนตรี | |
จำนวนรัฐมนตรี | 35 |
พรรคร่วมรัฐบาล |
|
สถานะในสภานิติบัญญัติ | รัฐบาลผสม 323 / 495 (65%) |
พรรคฝ่ายค้าน |
|
ผู้นำฝ่ายค้าน | ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ |
ประวัติ | |
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 |
พรรคเพื่อไทย ยังคงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสมและรวบรวมเสียงพรรคการเมือง 11 พรรคที่เป็นชุดเดิมที่เคยจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ในรอบที่ 2 และเสนอชื่อแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรค บุตรสาวของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันเดียวกัน
แต่หลังจากนั้น ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกลุ่มของตน แยกตัวออกจากพรรคพลังประชารัฐมาเข้าร่วมรัฐบาล จากนั้นพรรคเพื่อไทยได้ขับพรรคพลังประชารัฐเดิมซึ่งเป็นกลุ่มของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ออกจากคณะรัฐมนตรี และเทียบเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล รวมถึงยังมีการถอนตัวของพรรคเสรีรวมไทยอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 เมื่อวันที่ 3 กันยายน โดยแพทองธารได้นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณและเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 6 กันยายน และได้เข้าแถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเริ่มต้นการบริหารรัฐกิจเมื่อวันที่ 12 และ 13 กันยายน
ประวัติ
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่
ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอนเศรษฐา ทวีสิน ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567[1] ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เชิญแกนนำของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาหารือเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบ ณ บ้านจันทร์ส่องหล้า ในเวลา 17:00 น. ของวันเดียวกัน[2] ทั้งนี้ มีกระแสข่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะเสนอชื่อ ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[3]
อย่างไรก็ตาม วันรุ่งขึ้น (15 สิงหาคม) ที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทยมีความเป็นห่วงในเรื่องปัญหาสุขภาพของชัยเกษม จึงมีมติให้การสนับสนุน แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรค ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[4] ซึ่งครอบครัวชินวัตรรับฟังความต้องการของ สส. และยินยอมให้พรรคเสนอชื่อแพทองธาร[5] โดยที่ประชุม สส. พรรคเพื่อไทย ได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยออกเป็นมติในการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[6]
ต่อมาในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ที่ประชุมรักษาการคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ที่มีภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ได้รับทราบคำสั่งเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรวาระพิเศษ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่[7] และในการแถลงข่าวการประชุมตอนท้ายได้ระบุว่า หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่าจะมีการแถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ที่อาคารชินวัตร 3[8]
เวลา 17:15 น. ของวันเดียวกัน แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้นำแกนนำพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด 11 พรรคที่เป็นชุดเดิมที่เคยจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ในรอบที่ 2 มาร่วมกันแถลงข่าวที่อาคารชินวัตร 3 โดยสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรค ได้แถลงว่า พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคมีจุดยืนตรงกับมติของกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยว่าจะเสนอชื่อแพทองธารให้สภาผู้แทนราษฎรให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น[9] ในขณะที่พรรคฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาชน และ พรรคประชาธิปัตย์ มีมติในวันเดียวกันเป็นเอกฉันท์ว่าจะไม่ลงมติในเชิงสนับสนุนการเสนอชื่อของพรรคร่วมรัฐบาลเดิมในครั้งนี้[10] โดยพรรคประชาธิปัตย์มีมติงดออกเสียง[11][12][13] ขณะที่พรรคประชาชนมีข้อสรุปในวันรุ่งขึ้น (16 สิงหาคม) ว่าจะลงมติไม่เห็นชอบ[14]
ต่อมาในวันที่ 16 สิงหาคม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ สรวงศ์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[15] ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แพทองธาร ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 319 เสียง ไม่เห็นชอบ 145 เสียง งดออกเสียง 27 เสียง และไม่มาประชุม 2 คน คือ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ[16]
จากผลการลงมติดังกล่าว ทำให้แพทองธารกลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย ต่อจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นอา เป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วยวัยเพียง 37 ปี 11 เดือน และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก[17] ต่อมาในวันเดียวกันช่วงเวลา 17.00 น. วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เปิดเผยว่าได้ลงนามส่งมอบรายชื่อให้กับเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยเรียบร้อยแล้ว[18] โดยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม[19] และมีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการในวันดังกล่าว ณ อาคารวอยซ์ สเปซ (วอยซ์ทีวีเดิม) ที่ทำการพรรคเพื่อไทยแห่งใหม่[20]
ก่อนการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
คุณสมบัติของรัฐมนตรี
สืบเนื่องจากการแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ เศรษฐา ทวีสิน ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[1] จึงทำให้การตรวจสอบคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในครั้งนี้มีความเข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากต้องเป็นบุคคลที่ไร้มลทิน ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ดังนั้นจึงพบว่า มีผู้ประสงค์ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจำนวน 4 ราย ที่อาจไม่ผ่านเรื่องคุณสมบัติ มีดังนี้[21]
- ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า - เคยมีคดีการครอบครองสารเสพติด อ้างว่าเป็นเฮโรอีน น้ำหนัก 3.2 กิโลกรัม ณ ประเทศออสเตรเลีย
- ส่งผลให้สนับสนุน นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ และ อัครา พรหมเผ่า ดำรงตำแหน่งแทน
- ชาดา ไทยเศรษฐ์ - เคยตกเป็นจำเลยในคดีจ้างวานฆ่า นิตยา เพทายบรรลือ ผู้จัดการส่วนบัญชีของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2545 และคดีจ้างวานฆ่า สมเกียรติ จันทร์หิรัญ เลขานุการของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประแสง มงคลศิริ ส.ส.อุทัยธานี พรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2546 โดยศาลชั้นต้นสั่งตัดสินให้จำคุก และศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องทั้งสองคดีในปี พ.ศ. 2548[22]
- ส่งผลให้สนับสนุน ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ ให้ดำรงตำแหน่งแทนตนเอง
- สันติ พร้อมพัฒน์ - เคยถูกลบชื่อออกจากนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2542 เหตุให้ผู้อื่นปลอมบัตรนักศึกษา-ใบขับขี่ เพื่อทุจริตการสอบวิชาปรัชญาเบื้องต้น
- เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ - เคยมีคำพิพากษาชั้นต้นจำคุก 1 ปี จากคดีเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. โดยรอลงอาญา ก่อนจะพิพากษายกฟ้อง
ความขัดแย้งระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับกลุ่มธรรมนัส
ความขัดแย้งระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับกลุ่มของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการส่งรายชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีแพทองธาร ปรากฎว่าไม่มีชื่อของร้อยเอกธรรมนัส และตำแหน่งรัฐมนตรีเดิมของธรรมนัสถูกแทนที่ด้วยชื่อของสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในคณะรัฐมนตรีเศรษฐา โดยพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเองเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวผ่านรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ทางช่อง 3 เอชดี[23]
ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม ธรรมนัสได้แถลงต่อสื่อมวลชน ประกาศแยกทางกับพลเอกประวิตร[24] จากนั้นมีการรวบรวม สส.พรรคพลังประชารัฐที่เข้าร่วมกับร้อยเอกธรรมนัส 29 คน และ สส.จากพรรคเล็กอีก 5 คน เพื่อยื่นชื่อรัฐมนตรีในสัดส่วนของตนในวันถัดไป[25] แต่ในวันถัดมา (21 สิงหาคม) พรรคพลังประชารัฐได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า พลเอกประวิตร ในฐานะหัวหน้าพรรค ได้ส่งรายชื่อบุคคลที่พรรคเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีของพรรคจำนวน 4 คนให้ตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว ซึ่งเป็น 4 คนที่เคยดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีเศรษฐาเดิมทั้งหมด[26]
ความเคลื่อนไหวจากพรรคประชาธิปัตย์
หลังจากที่แพทองธารได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว มีกระแสข่าวว่าในช่วงกลางดึกวันที่ 20 สิงหาคม ร้อยเอกธรรมนัส พร้อมด้วย ไผ่ ลิกค์ สส. กำแพงเพชร และ อรรถกร ศิริลัทธยากร สส. ฉะเชิงเทรา ได้เดินทางไปยังบ้านพักส่วนตัวของเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเดินดีลเจรจาทาบทามให้มาเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย โดยก่อนหน้านั้นมีรายงานว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ได้เจรจาดีลกับแกนนำพรรคเพื่อไทยขอตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของพลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ของสันติ พร้อมพัฒน์[27]
ปรากฏว่ามีผู้สนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์และกูรูทางการเมืองบางส่วนไม่เห็นด้วยกับดีลนี้ รวมถึงยังมีเสียงคัดค้านจาก ส.ส. อีก 4 คน ซึ่งในจำนวนนี้ เป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคถึง 3 คน คือ ชวน หลีกภัย , บัญญัติ บรรทัดฐาน และ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส่วนนาย สรรเพชญ บุญญามณี[28]เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาเขต 1 และบุตรอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่หลังจากนั้น มีรายงานว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งชื่อของ เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรค และ เดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคให้พรรคเพื่อไทยได้ดำเนินการคัดกรองคุณสมบัติ[29]
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม เดชอิศม์ระบุว่าเฉลิมชัยเข้าไปเจรจากับพรรคเพื่อไทย และได้ข้อสรุปว่าพรรคเพื่อไทยเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลแล้ว รอเพียงหนังสือเทียบเชิญอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ตนยังหารือนอกรอบกับ สส. และกรรมการบริการพรรคแล้ว พบว่า 90% เห็นควรเข้าร่วมรัฐบาล[30] แต่เฉลิมชัยปฏิเสธในวันเดียวกัน โดยระบุว่าเดชอิศม์เข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากในการประชุมกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ตนได้ขอให้พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ รองหัวหน้าพรรคถอนมติในการมอบหมายให้ตนเจรจาเข้าร่วมรัฐบาลออกไปแล้ว จึงไม่เคยคุยกับแกนนำของพรรคเพื่อไทย[31]
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม สรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางไปยังที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อส่งหนังสือเทียบเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลอย่างเป็นทางการ โดยให้เหตุผลว่ามีอุดมการณ์ร่วมกัน[32] จากนั้น เดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นตัวแทนรับมอบหนังสือเทียบเชิญดังกล่าว ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความขัดแย้งใด ๆ ทั้งสิ้น มีแต่ความรักความเข้าใจ และการให้อภัยกับพรรคเพื่อไทย ส่วนการพูดคุยกับผู้สนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์เมื่อ 20 ปีที่แล้วกับวันนี้ สถานการณ์ทางการเมืองไม่เหมือนกัน ปัญหาของประเทศก็ไม่เหมือนกัน รวมถึงแนวคิดในการพัฒนาประเทศก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ทั้งสองพรรคเข้ากันได้และเดินหน้าไปด้วยกันถือเป็นสิ่งที่ดีงาม[33]
ในที่สุด ในวันถัดมา (29 สิงหาคม) ที่ประชุมร่วมระหว่างกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีมติให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ด้วยมติเห็นชอบ 43 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง พร้อมทั้งเสนอชื่อเฉลิมชัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเดชอิศม์เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขตามกระแสข่าวก่อนหน้า[34]
ขับออก และถอนตัว
วันที่ 27 สิงหาคม คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากคณะรัฐมนตรี โดยมีความเห็นว่า พรรคเพื่อไทยไม่สามารถที่จะร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐได้ สรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า สมาชิกพรรคเพื่อไทยจำนวนหนึ่งมีความไม่สบายใจถึงพฤติกรรมของพรรคพลังประชารัฐ โดยเฉพาะหัวหน้าพรรค (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตั้งแต่จัดตั้งรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ก็ไม่ได้มาร่วมลงมติ และเป็นที่ทราบกันดีว่าบุคคลที่อยู่เบื้องหลังการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นใคร ซึ่งเป็นสิ่งที่ สส.พรรคเพื่อไทยสะท้อนในที่ประชุม[35]
และในวันเดียวกันนั้น พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ประกาศขอถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล กล่าวว่าพรรคเพื่อไทยไม่ให้ความสำคัญกับพรรคเล็ก และจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 สิงหาคม[36]
การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีและการปฏิบัติหน้าที่
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 จำนวน 35 คน โดยมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันถัดมา[37]
ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ พรรคเพื่อไทยได้สัดส่วนผู้ดำรงตำแหน่งมากที่สุด จำนวน 16 คน 21 ตำแหน่ง, รองลงมาเป็นพรรคภูมิใจไทย 8 คน 9 ตำแหน่ง, พรรครวมไทยสร้างชาติ 4 คน 5 ตำแหน่ง, กลุ่มธรรมนัส 3 คน 3 ตำแหน่ง ซึ่งดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งหมด แบ่งสัดส่วนเป็นพรรคเพื่อไทย 1 คน 1 ตำแหน่ง และพรรคกล้าธรรมอีก 2 คน 2 ตำแหน่ง, พรรคประชาธิปัตย์ 2 คน 2 ตำแหน่ง, พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคประชาชาติ พรรคละ 1 คน 1 ตำแหน่ง โดยทั้งหมดนี้รวมโควตาบุคคลภายนอกแล้ว ในจำนวนนี้มีผู้ที่ดำรงตำแหน่งเดิมต่อเนื่องจากคณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า จำนวน 24 คน
รัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดและมากที่สุดในคณะรัฐมนตรีชุดนี้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทั้งคู่ คือ จิราพร สินธุไพร เป็นรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุด (37 ปี) และ ชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรัฐมนตรีที่อายุมากที่สุด (76 ปี)[38] และมีผู้ดำรงตำแหน่งในวาระแรกเริ่มคณะรัฐมนตรีที่เป็นสตรีจำนวน 8 คน ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย[39]
ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:24 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[40] ทั้งนี้ แม้ว่าทรงศักดิ์ ทองศรี และซาบีดา ไทยเศรษฐ์ จะตรวจพบว่ามีอาการป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)[41] แต่นัทรียา ทวีวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ได้ระบุว่า คณะรัฐมนตรีจะได้เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณพร้อมกันทุกคน[42] และอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวในเวลาต่อมาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทั้งสองถวายสัตย์ปฏิญาณตนพร้อมคณะรัฐมนตรีได้ แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้นระหว่างเข้าเฝ้าฯ[43]
หลังถวายสัตย์ปฏิญาณและเข้ารับหน้าที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว วันรุ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีได้ถ่ายรูปหมู่หน้าทำเนียบรัฐบาล และจัดการประชุมวาระพิเศษ จากนั้นห้าวันถัดมาได้เข้าแถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเริ่มต้นการบริหารรัฐกิจ[44]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กันยายน 2024) |
รายชื่อรัฐมนตรี
รายชื่อคณะรัฐมนตรี มีดังต่อไปนี้[45]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง | ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี | ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี | ||
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง | แต่งตั้งเพิ่ม | เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น | ||
รัฐมนตรีลอย | ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น | ออกจากตำแหน่ง |
ตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | พรรคการเมือง | ||||
นายกรัฐมนตรี | * | แพทองธาร ชินวัตร | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
รองนายกรัฐมนตรี | 1 | ภูมิธรรม เวชยชัย | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
2 | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | ||||||
3 | อนุทิน ชาญวีรกูล | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ภูมิใจไทย | ||||||
4 | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | รวมไทยสร้างชาติ | ||||||
5 | พิชัย ชุณหวชิร | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | ||||||
6 | ประเสริฐ จันทรรวงทอง | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | ||||||
สำนักนายกรัฐมนตรี | 7 | ชูศักดิ์ ศิรินิล | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
8 | จิราพร สินธุไพร | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | ||||||
กลาโหม | * | ภูมิธรรม เวชยชัย | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
9 | พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | อิสระ[b] | ||||||
การคลัง | * | พิชัย ชุณหวชิร | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
10 | จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | ||||||
11 | เผ่าภูมิ โรจนสกุล | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | ||||||
การต่างประเทศ | 12 | มาริษ เสงี่ยมพงษ์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
การท่องเที่ยวและกีฬา | 13 | สรวงศ์ เทียนทอง | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | 14 | วราวุธ ศิลปอาชา | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ชาติไทยพัฒนา | |||||
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | 15 | ศุภมาส อิศรภักดี | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ภูมิใจไทย | |||||
เกษตรและสหกรณ์ | 16 | นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | กล้าธรรม[c] | |||||
17 | อิทธิ ศิริลัทธยากร | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | กล้าธรรม[46][c] | ||||||
18 | อัครา พรหมเผ่า | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย[c] | ||||||
คมนาคม | * | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
19 | มนพร เจริญศรี | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | ||||||
20 | สุรพงษ์ ปิยะโชติ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | ||||||
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | * | ประเสริฐ จันทรรวงทอง | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 21 | เฉลิมชัย ศรีอ่อน | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ประชาธิปัตย์ | |||||
พลังงาน | * | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | รวมไทยสร้างชาติ | |||||
พาณิชย์ | 22 | พิชัย นริพทะพันธุ์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
23 | นภินทร ศรีสรรพางค์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ภูมิใจไทย | ||||||
24 | สุชาติ ชมกลิ่น | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | รวมไทยสร้างชาติ | ||||||
มหาดไทย | * | อนุทิน ชาญวีรกูล | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ภูมิใจไทย | |||||
25 | ทรงศักดิ์ ทองศรี | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ภูมิใจไทย | ||||||
26 | ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ภูมิใจไทย[d] | ||||||
27 | ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | ||||||
ยุติธรรม | 28 | พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ประชาชาติ | |||||
แรงงาน | 29 | พิพัฒน์ รัชกิจประการ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ภูมิใจไทย | |||||
วัฒนธรรม | 30 | สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
ศึกษาธิการ | 31 | พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ภูมิใจไทย | |||||
32 | สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ภูมิใจไทย | ||||||
สาธารณสุข | 33 | สมศักดิ์ เทพสุทิน | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | เพื่อไทย | |||||
34 | เดชอิศม์ ขาวทอง | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ประชาธิปัตย์ | ||||||
อุตสาหกรรม | 35 | เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | รวมไทยสร้างชาติ |
หมายเหตุ:
- ↑ มีเพียงรัฐมนตรี ไม่มี สส. ของพรรคในสภาผู้แทนราษฎรในขณะนี้
- ↑ ถูกทาบทามเข้ามาในโควตาบุคคลภายนอกของพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ถูกทาบทามเข้ามาในโควตาของกลุ่มร้อยเอกธรรมนัส
- ↑ ถูกทาบทามเข้ามาในโควตาบุคคลภายนอกของพรรคภูมิใจไทย
คณะรัฐมนตรีแพทองธาร 1/1
- นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
- นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- นายพิชัย ชุณหวชิร เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นางสาวจิราพร สินธุไพร เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายสรวงศ์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- นางสาวศุภมาส อิศรภักดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอิทธิ ศิริลัทธยากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอัครา พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นางมนพร เจริญศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายนภินทร ศรีสรรพางค์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายสุชาติ ชมกลิ่น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นางทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- พลตํารวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายเดชอิศม์ ขาวทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบาย
ตามคำแถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา รัฐบาลแพทองธารมีนโยบายเร่งด่วนจำนวน 10 ข้อ ดังนี้[47]
- ผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ
- ดูแลและส่งเสริมพร้อมกับปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี
- ออกมาตรการเพื่อลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค
- สร้างรายได้ใหม่ของรัฐด้วยการนำเศรษฐกิจนอกระบบภาษีและเศรษฐกิจใต้ดินเข้าสู่ระบบภาษี
- เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางเป็นลำดับแรกพร้อมผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
- ยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยปรับโครงสร้างการตรวจลงตราทั้งหมดของประเทศ รวมถึงเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งรวมถึงสถานบันเทิงครบวงจร
- แก้ปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาดและครบวงจร
- แก้ปัญหาอาชญากรรม, อาชญากรรมออนไลน์, มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ
- ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ และจัดสวัสดิการสังคม ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ข้อเท็จจริง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กันยายน 2024) |
ข้อวิจารณ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กันยายน 2024) |
"ครม.สืบสันดาน"
คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้รับฉายาจากนักการเมืองคนหนึ่งว่าเป็น "ครม.สืบสันดาน" โดยใช้ชื่อล้อมาจากซีรีส์ "สืบสันดาน" จาก เน็ตฟลิกซ์ เนื่องจากรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งนั้น เป็นบุคคลในครอบครัวของนักการเมืองที่ส่งไม้ต่อให้รับตำแหน่งแทนตนเอง โดย แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวว่า ใช้คำรุนแรงเกินไป ต่อมา อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ก็ได้แสดงความคิดเห็นในทางเดียวกัน โดยมองว่าเป็นวาทกรรมทางการเมือง และหากมองเป็นศัพท์ทางกฎหมาย ถือว่า เป็นคำที่มีการระบุในกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งวาทกรรมเหล่านี้ควรจะหมดไปได้แล้ว[48]
แต่ก็มีคอลัมนิสต์แย้งว่า คำว่าสืบสันดานนั้นไม่ได้มีความหยาบคายใดๆ เลย ในภาษากฎหมายถูกมองว่าเป็นคำทั่วไป โดยอ้างอิงถึงมาตรา 1629 วรรค 2 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลำดับสิทธิในการรับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้
- ผู้สืบสันดาน
- บิดามารดา
- พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
- ปู่ย่าตายาย
- ลุงป้าน้าอา
โดยผู้สืบสันดาน จึงหมายถึง ผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกเป็นลำดับที่หนึ่ง[49]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "'เศรษฐา' ไม่รอด! ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ชี้ชะตาเศรษฐาพ้นเก้าอี้นายกฯ ทันที". เดอะ แมทเทอร์. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ทักษิณ" เรียกแกนนำพรรคร่วม เข้าหารือด่วนบ้านจันทร์ส่องหล้า". พีพีทีวี. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'เพื่อไทย' เคาะชื่อ 'ชัยเกษม' ชิงเก้าอี้นายกฯ วงคุยบ้านจันทร์ส่องหล้าพรรคร่วมมาครบ". ผู้จัดการออนไลน์. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มติสส.เพื่อไทย ดัน แพทองธาร โหวตชิงนายกรัฐมนตรี 16 ส.ค." โพสต์ทูเดย์. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สะพัด จ่อชงชื่อ "อิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร" ชิงนายกฯ คนที่ 31". ไทยรัฐ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วงสส.เพื่อไทยชงชื่อ"อุ๊งอิ๊ง"ให้สภาโหวตเป็นนายกฯคนใหม่". ฐานเศรษฐกิจ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ครม.รับทราบ นัดประชุมสภาฯ โหวตนายกฯคนใหม่ 16 ส.ค." มติชน. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจะเป็นใคร เย็นนี้รู้เรื่อง". ข่าวช่อง 7HD. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มติเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล "แพทองธาร" นั่งนายกรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Thailand, BECi Corporation Ltd. "ฝ่ายค้านแสดงจุดยืน ไม่เห็นด้วย-งดออกเสียง เลือกนายกฯ 16 ส.ค.นี้". CH3Plus.com.
- ↑ "มติเป็นเอกฉันท์ ปชป. "งดออกเสียง" โหวตนายกฯ". Thai PBS.
- ↑ "มติเอกฉันท์! พรรคประชาธิปัตย์ "งดออกเสียง" เลือกนายกฯ". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2024-08-15.
- ↑ สุวรรณทิชากร, พรทิพย์. "สส. 'ประชาธิปัตย์'มติเอกฉันท์ 'งดออกเสียง'โหวตนายกฯ". เดลินิวส์.
- ↑ ""ณัฐพงษ์" ย้ำ พรรคประชาชน ลงมติ ไม่เห็นชอบ "แพทองธาร" นั่งนายกฯ คนที่ 31". ไทยรัฐ. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เริ่มแล้ว! สภาโหวต นายกฯ คนที่ 31 สรวงศ์ ชงชื่อ 'อิ๊งค์ แพทองธาร' แบบไร้คู่แข่ง". ข่าวสด. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มติสภา 319:145 โหวตหนุน แพทองธาร ชินวัตร นั่งนายกฯ คนที่ 31". บีบีซีไทย. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" ว่าที่นายกฯ หญิงอายุน้อยเป็นอันดับ 3 ของโลก". พีพีทีวี. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""วันนอร์" เผย นำชื่อ "แพทองธาร" ขึ้นทูลเกล้าฯ แล้ว รอการโปรดเกล้าฯ". ไทยรัฐ. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "แพทองธาร ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31". คมชัดลึก. 18 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""แพทองธาร" รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31". ไทยรัฐ. 18 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กางชื่อ 4 แคนดิเดต รมต. ลุ้นฝ่าด่านคุณสมบัติ-จริยธรรม". pptvhd36.com. 2024-08-20.
- ↑ treesukee, natthakan. "พลิกประวัติ 'ชาดา' เจ้าพ่อลุ่มน้ำสะแกกรัง ผู้เปิดวาทะเด็ด 'ยิงคนหมิ่นสถาบันแล้วไม่ติดคุก'". เดลินิวส์.
- ↑ ""ธรรมนัส" หลุด ครม.ใหม่ "สันติ" นั่ง รมว.เกษตรฯ แทน". Thai PBS.
- ↑ ""ธรรมนัส" เปิดใจแยกทาง "ประวิตร" นำ 29 สส.พลังประชารัฐถอย". Thai PBS.
- ↑ เปิดชื่อ ส.ส.ก๊วนธรรมนัส หลังแถลงโว 34 เสียงแน่นปึ้ก มีภรรยา ‘สันติ’ อยู่ด้วย
- ↑ ""พปชร." ออกแถลงการณ์ แจง "ประวิตร" ส่งชื่อ 4 รมต. ให้ นายกฯแล้ว". ไทยพีบีเอส. 21 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สะพัด!ธรรมนัส ยกก๊วนย่องพบ "เฉลิมชัย" ดีลปชป.ร่วมเพื่อไทย". ไทยพีบีเอส. 21 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.
- ↑ ""ประชาธิปัตย์" หากเข้าร่วมรัฐบาล ใครได้ใครเสีย". ไทยพีบีเอส. 22 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.
- ↑ "ประชาธิปัตย์ ตอบรับร่วมรัฐบาล ส่ง 2 ชื่อ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี". ข่าวสด. 24 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.
- ↑ "'เดชอิศม์'เผย'ปชป.'รับร่วมรัฐบาล'เพื่อไทย' อ้างก้าวข้ามความขัดแย้ง". เดลินิวส์. 26 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'เฉลิมชัย' ยันยังไม่ได้เทียบเชิญจาก พท. แจง 'เดชอิศม์' เข้าใจผิดปมที่ประชุมพรรคมอบหารือร่วมรัฐบาล". มติชน. 27 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิดเทียบเชิญ'เพื่อไทย'ชวน'ประชาธิปัตย์'ร่วมรัฐบาล ยกมีอุดมการณ์ร่วมกัน". แนวหน้า. 28 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2024.
- ↑ "เพื่อไทยส่งเทียบเชิญ ปชป. ร่วมรัฐบาล สรวงศ์ขอปล่อยผ่านอดีต ทิ้งความขัดแย้ง". THE STANDARD. 2024-08-28.
- ↑ "ตามคาด! ประชาธิปัตย์ มีมติ 43 ต่อ 4 เข้าร่วมรัฐบาลเพื่อไทย". ข่าวสด. 29 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ด่วน มติ สส.เพื่อไทย ชง กก.บห. ขับพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
- ↑ ""เสรีพิศุทธ์" ยันถอนตัวจากเพื่อไทยจริง อุบตอบเหตุผลบอกรอศุกร์นี้". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2024-08-27.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ ครม.แพทองธาร แล้ว "ภูมิธรรม" รองนายกฯ ควบ กห. , "เฉลิมชัย" รมว.ทส". ไทยพีบีเอส. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เทียบอายุ "ครม.แพทองธาร" 36 คน ส่วนผสมพลัง อาวุโส – คนรุ่นใหม่". ฐานเศรษฐกิจ. 5 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ส่องพัฒนาการ รัฐมนตรีหญิง ในการเมืองไทย ก่อนถึงวันสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ ร่วมรัฐบาล 8 คน". มติชน. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำ คณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่". หน่วยราชการในพระองค์. 6 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน! 2 รัฐมนตรีภูมิใจไทย ทรงศักดิ์-ซาบีดา ติดโควิด ไม่ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ". มติชน. 6 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รองเลขาธิการนายกฯ เผย 6 ก.ย. ครม.แพทองธาร เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ พร้อมกันทุกคน". โพสต์ทูเดย์. 6 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ในหลวงพระราชทานกำลังใจ ครม.แพทองธาร ให้ทำงานอย่างเต็มที่
- ↑ "แพทองธาร เรียกประชุม ครม. นัดพิเศษ 7 ก.ย. อนุมัติร่างแถลงนโยบาย". ประชาชาติธุรกิจ. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2024.
- ↑ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 240 ง วันที่ 4 กันยายน 2567
- ↑ ""ธรรมนัส" เผยถอยจากการเมืองมีความสุข ไร้ชื่อใน ครม."อิ๊งค์ 1" แจง "นฤมล-อิทธิ" ส่งชื่อตัวเองในนามพรรคกล้าธรรม". mgronline.com. 2024-09-03.
- ↑ คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "นายกฯ ชี้ใช้คำแรงไป "ครม.สืบสันดาน" ย้ำตั้งใจทำงาน". Thai PBS.
- ↑ "ความรู้เรื่อง "สืบสันดาน" จาก "ม.1629" ถึง "Netflix"". www.thairath.co.th. 2024-09-09.