คณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 6

(เปลี่ยนทางจาก คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 6)

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 (22 กันยายน พ.ศ. 2477 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480)

คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 3
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 แห่งราชอาณาจักรสยาม
พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2480
วันแต่งตั้ง22 กันยายน พ.ศ.​ 2477
วันสิ้นสุด9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480
(2 ปี 322 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ถึง 2478)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (เริ่ม 2478)
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
จำนวนรัฐมนตรี21
จำนวนอดีตรัฐมนตรี10
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด31
พรรคร่วมรัฐบาลคณะราษฎร
ประวัติ
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1
วาระสภานิติบัญญัติ15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 5
ถัดไปคณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 7

นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้ลงนาม และนายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

รายชื่อคณะรัฐมนตรี แก้

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง   ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี   ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง   แต่งตั้งเพิ่ม   เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
  รัฐมนตรีลอย   ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น   ออกจากตำแหน่ง
      คณะราษฎร
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 ของไทย
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ ที่มา
นายกรัฐมนตรี * นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)   22 กันยายน​ พ.ศ. 2477 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
กลาโหม   1 นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
การคลัง   พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478   ลาออก สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
2 พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ)   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
  พระยามไหสวรรค์ (กวย สมบัติศิริ)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479   ลาออก
3 ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
การต่างประเทศ   นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 1 สิงหาคม 2478   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479   ลาออกจากประจำกระทรวง
4 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
เกษตราธิการ   พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)   1 สิงหาคม พ.ศ.​ 2478 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479   ลาออก
5 นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
ธรรมการ   พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478  
6 นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 9 สิงหาคม​ พ.ศ. 2480   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
มหาดไทย   หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
7 นายนาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
ยุติธรรม   พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)   22 กันยายน​ พ.ศ. 2477 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479   ลาออก สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
8 เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
วัง   เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478   ลาออก
เศรษฐการ   นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479   ลาออก สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
9 นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ)   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
  10 นายพันโท หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันทน์)   18 ธันวาคม พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  11 พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
  นายนาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478   ลาออก
  12 นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
  ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)   22 กันยายน​ พ.ศ. 2477 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479  
  นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478   ลาออก
  นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  13 ขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอาง สุคนธวิท)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 9 สิงหาคม​ พ.ศ. 2480  
  พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)   22 กันยายน พ.ศ.​ 2477 30 กันยายน พ.ศ.​ 2480   ถึงแก่อนิจกรรม
  14 หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  นายพันโท หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันทน์)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 18 ธันวาคม พ.ศ. 2479   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  15 หลวงนาถนิติธาดา (เคลือบ บุศยนาค)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
  16 นายนาวาเอก พระยาวิจารณจักรกิจ (บุญชัย หรือ บุญรอด สวาทะสุข)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 9 สิงหาคม​ พ.ศ. 2480  
  นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส (บัตร พึ่งพระคุณ)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 3 มิถุนายน พ.ศ. 2480   ลาออก สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  17 นายพันเอก พระยาอภัยสงคราม (จอน โชติดิลก)   1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 9 สิงหาคม​ พ.ศ. 2480  
  18 พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ)   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
  19 พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ้ย สมันตรัฐ หรือ บินอับดุลลาห์)   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480  
  20 นายนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ)   3 มิถุนายน พ.ศ. 2480 9 สิงหาคม พ.ศ.​ 2480   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2

การแถลงนโยบายของรัฐบาล แก้

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2477 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกันเป็นเอกฉันท์

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี แก้

คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่นาย เลียง ไชยกาล ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับการขายที่ดินของพระคลังข้างที่ให้แก่บุคคลบางคน และต่อจากนั้นนาย ไต๋ ปาณิกบุตร ผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ก็ได้เสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้อภิปรายกันจนหมดเวลา และได้เลื่อนไปอภิปรายในวันต่อไป แต่นายกรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 เพื่อให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายได้สอบสวนตามความชอบธรรมและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็ขอลาออกด้วย

อ้างอิง แก้


แหล่งข้อมูลอื่น แก้