คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 5

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 (16 ธันวาคม 2476 - 22 กันยายน 2477) จัดตั้งขึ้นหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476

คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 2
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 แห่งราชอาณาจักรสยาม
พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2477
Phraya Pahol.jpg
วันแต่งตั้ง 16 ธันวาคม 2476
วันสิ้นสุด 22 กันยายน 2477
(0 ปี 280 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้าคณะรัฐมนตรี นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ประวัติ
วาระสภานิติบัญญัติ 9 เดือน 6 วัน (280 วัน)
ก่อนหน้า คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 4
ถัดไป คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 6

นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2476 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 16 ธันวาคม 2476 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

รายชื่อคณะรัฐมนตรีแก้ไข

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง   ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี   ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง   แต่งตั้งเพิ่ม   เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
  รัฐมนตรีลอย   ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น   ออกจากตำแหน่ง
      คณะราษฎร
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของไทย
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ ที่มา
นายกรัฐมนตรี * นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
กลาโหม   1 นายพลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส)   16 ธันวาคม 2476 29 มีนาคม 2477   ลาออก สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)   29 มีนาคม 2477 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
การคลัง   2 เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
ต่างประเทศ   3 พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
ธรรมการ   นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)   16 ธันวาคม 2476 29 มีนาคม 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
17 พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)   29 มีนาคม 2477 22 กันยายน 2477  
มหาดไทย   นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)   16 ธันวาคม 2476 29 มีนาคม 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
18 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)   29 มีนาคม 2477 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
ยุติธรรม   4 พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
วัง   5 เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477  
เศรษฐการ   6 พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร)   16 ธันวาคม 2476 29 มีนาคม 2477   ลาออก สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
19 พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์)   29 มีนาคม 2477 22 กันยายน 2477  
  7 พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477  
  8 นายเรือเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  9 หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  10 นายพันโท หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  11 พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  12 นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  13 พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ้ย สมันตรัฐ หรือ บินอับดุลลาห์)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477  
  14 นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  15 นายนาวาโท หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  16 พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)   16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477  

การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีแก้ไข

29 มีนาคม พ.ศ. 2477แก้ไข

การแถลงนโยบายของรัฐบาลแก้ไข

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2476 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกันเป็นเอกฉันท์

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีแก้ไข

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่รัฐบาลได้เสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบด้วยความตกลงระหว่างประเทศ เรื่องควบคุมการจำกัดยางแต่สภาไม่เห็นชอบด้วย ความตกลงที่รัฐบาลได้ลงนามไปก่อน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะจึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2477

อ้างอิงแก้ไข