คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 18

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 18 ของไทย (30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)

คณะรัฐมนตรีถวัลย์ 2
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 แห่งราชอาณาจักรไทย
พฤษภาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
วันแต่งตั้ง31 พฤษภาคม​ 2490
วันสิ้นสุด8 พฤศจิกายน​ 2490
(0 ปี 161 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
รองนายกรัฐมนตรีเดือน บุนนาค
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคแนวรัฐธรรมนูญ
พรรคสหชีพ
พรรคฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 17
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 19

พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย กรมขุนชัยนาทนเรนทร และ พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) เป็นผู้ลงนามในประกาศ

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ประธานพฤฒสภา และนายพึ่ง ศรีจันทร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 ของไทย แก้

ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[1]

  1. นายเดือน บุนนาค เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. พลโทจิร วิชิตสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  3. นายวิจิตร ลุลิตานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  4. นายอรรถกิจ พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  5. พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  6. นายแสง สุทธิพงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  7. นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  8. พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนะวณิชย์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  9. นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  10. พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  11. พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  12. นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  13. พันเอกทวน วิชัยขัทคะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  14. หม่อมเจ้านนทิยาวัต สวัสดิวัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  15. นายเยื้อน พาณิชวิทย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  16. นายจำลอง ดาวเรือง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  17. นายทอง กันทาธรรม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  18. นายวิโรจน์ กมลพันธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  19. นายชิต เวชประสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรี
  20. หลวงนรัตถรักษา (ชื่น วิจิตรเนตร) เป็นรัฐมนตรี
  21. ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) เป็นรัฐมนตรี

 ที่มาของคณะรัฐมนตรี แก้

เมื่อหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ และกลุ่มอิสระ ได้เสนอชื่อหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์อีกครั้ง ผลของการซาวเสียงเพื่อสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า หลวงธำรงต์นาวาสวัสดิ์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 132 คะแนน มากกว่าคู่แข่งขัน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอ ควง อภัยวงศ์ ซึ่งได้รับคะแนนเพียง 55 คะแนน และพลโทมังกร พรหมโยธี สมาชิกวุฒิสภาพรรคแนวรัฐธรรมนูญ ได้ 7 คะแนน[2]

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 ของไทย แก้

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2490 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2490 เล่ม 64 ตอน 26 หน้า 1464

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 ของไทย แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะมีการรัฐประหารขึ้นโดยคณะทหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 และประกาศให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 โดยยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิม

เป็นผลให้สภาผู้แทนราษฎร และพฤฒสภาถูกยุบ ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาขึ้นแทน

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้