คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (อังกฤษ: Faculty of Dentistry, Naresuan University) เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 ในฐานะโครงการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และได้เปิดรับนิสิตทันตแพทย์รุ่นแรกในปี พ.ศ. 2540 และได้รับการจัดตั้งเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ณ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
Faculty of Dentistry
Naresuan University
สถาปนา19 สิงหาคม พ.ศ. 2543; 23 ปีก่อน (2543-08-19)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พีรยา ภูอภิชาติดำรง
ที่อยู่
สี███ สีม่วง
มาสคอต
รูปช้างศึกอยู่ในโล่กลมแบบโบราณล้อมรอบด้วยชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อคณะในป้ายชายธง
สถานปฏิบัติhttps://www.dent.nu.ac.th/dentalhospital/
เว็บไซต์www.dent.nu.ac.th
อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ด้านขวาสุด) อาคารกลางคือคณะสหเวชศาสตร์ อาคารด้านซ้ายคือคณะพยาบาลศาสตร์
โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่บริเวณหลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ประวัติ แก้

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เริ่มจัดตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 โดยในระยะแรกเป็นโครงการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ในปีการศึกษา 2540 โครงการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เริ่มรับนิสิตทันตแพทย์รุ่นแรก เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ ระยะแรกรับจำนวน 30 คน ในปีการศึกษาต่อๆมาจนถึงปัจจุบันได้เพิ่มจำนวนนิสิตทันตแพทย์เป็น รับจำนวน 45 คนต่อปี

โครงการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยนเรศวรให้มีสถานภาพเป็น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2543[1]

ภาควิชา แก้

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แบ่งส่วนราชการในการเรียนการสอน โดยประกอบไปด้วย 5 ภาควิชา ดังต่อไปนี้

  1. ภาควิชาทันตกรรมบูรณะ
  2. ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน
  3. ภาควิชาทันตกรรมวินิจฉัย
  4. ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก
  5. ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก

หน่วยทันตกรรมพระราชทาน แก้

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดให้มีการบริการทางทันตกรรมเคลื่อนที่แก่ประชาชนในเขตภาคเหนือตอนล่างโดยไม่มีค่าบริการในหลายโอกาส เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หน่วยทันตกรรมพระราชทาน เป็นหน่วยบริการทันตกรรมเคลื่อนที่ เพื่อให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินน้ำลาย ผ่าฟันคุด ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคภายในช่องปาก การใส่ฟันปลอม การให้ความรู้ด้านทันตสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยอาจารย์ทันตแพทย์และนิสิตทันตแพทย์ โดยจะจัดให้มีปฏิบัติการประมาณ 6 ครั้ง ใน 1 ปีการศึกษา

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินกิจกรรมโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน "หน่วยทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" และได้รับการสนับสนุนงบดำเนินการจากมูลนิธิเฉลิมพระเกียรติ

ในด้านงานวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สนับสนุนให้อาจารย์ทันตแพทย์ทำวิจัยโดยเลือกปัญหาของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการออกหน่วยบริการทัตกรรมเคลื่อนที่ การออกศึกษาทันตกรรมชุมชน และพัฒนานักวิจัยโดยการสนับสนุนให้นิสิตทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 และ 6 เรียนรู้การวิจัยและสามารถศึกษาและวิจัยโครงการวิจัย เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตามหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[2]

หลักสูตรการศึกษา แก้

ปัจจุบัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ประกาศนียบัตร[3]
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต[4]

  • สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก

โรงพยาบาลทันตกรรม แก้

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นแหล่งทำการเรียนการสอนภาคปฏิบัติให้แก่นิสิตทันตแพทย์ในชั้นคลินิก และเพื่อให้การรักษาทางด้านทันตกรรมแก่ประชาชนทั่วไป โดยตั้งอยู่บริเวณหลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติคณะทันตแพทยศาสตร์ มน. เก็บถาวร 2019-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2564.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  3. "หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ – คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร".
  4. "หลักสูตรปริญญาตรี – คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้