คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาแรกของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร มีรากฐานมาจากหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมของโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง (ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากร)

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University
สถาปนา12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 (80 ปี)
คณบดีศาสตราจารย์ ญาณวิทย์ กุญแจทอง
ที่อยู่
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
วารสารวารสารศิลป์ พีระศรี
สี██ สีหรดาล[1]
มาสคอต
พระคเณศ
เว็บไซต์www.finearts.su.ac.th

ประวัติ แก้

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีกำเนิดและประวัติความเป็นมาสรุปโดยย่อดังนี้

  • พ.ศ. 2476 ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งส่วนราชการใน กรมศิลปากร จัดตั้งกองประณีตศิลปกรรมขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2476 จุดเริ่มต้น "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร"
  • พ.ศ. 2477 กองประณีตศิลปกรรมแบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 แผนกคือ แผนกช่างและแผนกโรงเรียน คือโรงเรียนประณีตศิลปกรรม มีศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้อำนวยการ จัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกหัดอบรมวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้าราชการและยุวชนไทยโดยมิได้เก็บค่าเล่าเรียน
  • พ.ศ. 2480 โรงเรียนประณีตศิลปกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง"
  • พ.ศ. 2481 นักเรียนจากโรงเรียนประณีตศิลปกรรมจบการศึกษาเป็นรุ่นแรก และเป็นผู้ช่วยของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในการสร้างอนุสาวรีย์สำคัญในเมืองไทย
  • พ.ศ. 2486
    • จัดการแสดงศิลปกรรมของนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้ประจักษ์ถึงคุณค่าของศิลปกรรม
    • วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรแผนกช่างขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร"[2] โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้น โดยมีศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) อธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้อำนวยการมหาวิทยาลัย และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม คณะวิชาแรกของ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2488 มหาวิทยาลัยศิลปากรผลิตอนุปริญญาศิลปบัณฑิตรุ่นแรก จำนวน 8 คน
  • พ.ศ. 2497 คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ผลิตบัณฑิตสาขาประติมากรรมเป็นคนแรกจำนวน 1 คน
  • พ.ศ. 2505
    • ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีคนแรกของคณะจิตรกรรมฯ ถึงแก่กรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม
  • พ.ศ. 2509 คณะจิตรกรรมและประติมากรรมได้ขออนุมัติจากสภาการศึกษาแห่งชาติ จัดตั้งภาควิชาภาพพิมพ์ขึ้น เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกทำปริญญาทางสาขาวิชาภาพพิมพ์ได้เช่นเดียวกับภาควิชาจิตรกรรมและภาควิชาประติมากรรม การจัดตั้งภาควิชาภาพพิมพ์มีผลต่อชื่อของคณะฯ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์"
  • พ.ศ. 2511 คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ได้ผลิตศิลปบัณฑิตทางภาพพิมพ์ขึ้นเป็นรุ่นแรก จำนวน 4 คน
  • พ.ศ. 2514
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน ยิ้มศิริ รักษาการในตำแหน่งคณบดี ถึงแก่กรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2514
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
    • มหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ โดยจัดให้มีการศึกษาภาคพื้นฐานขึ้น เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทั่วไปในวิชาศิลปศาสตร์ อันจะทำให้เป็นบัณฑิตผู้รอบรู้ มีทัศนคติอันดีงาม รู้จักวินิจฉัย มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นทางนำคุณประโยชน์มาสู่สังคม และเพื่อให้ระบบการสอนแบบหน่วยกิตที่ได้มาตรฐานสากลคณะจิตรกรรมฯ จึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรของคณะฯ ขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย หลักสูตรปรับปรุงใหม่นี้สำเร็จเรียบร้อยใน พ.ศ. 2517
  • พ.ศ. 2517
    • เปิดหลักสูตรใหม่เพื่อให้เข้าสู่ระบบการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยสากล ศึกษาโดยใช้ระบบหน่วยกิตและมีการศึกษาวิชาความรู้พื้นฐานทั่วไปทุกคณะวิชา
    • คณะจิตรกรรมฯ ได้รับอนุมัติจากสภาการศึกษาแห่งชาติให้เปิดสอนระดับปริญญาโทเป็นปีแรก 3 สาขา คือ สาขาจิตรกรรม สาขาประติมากรรม และสาขาภาพพิมพ์ มีนักศึกษาจำนวน 4 คน
    • คณะจิตรกรรมฯ เปิดอาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2517
  • พ.ศ. 2518
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ลาออกจากตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษณา คชเสนีย์ รับตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2519
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรการศึกษาภาควิชาศิลปไทย เพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ในลักษณะไทยประเพณีและลักษณะไทยสร้างสรรค์ มีนักศึกษาจบการศึกษารุ่นแรก ใน พ.ศ. 2521 จำนวน 2 คน
  • พ.ศ. 2520 คณะจิตรกรรมฯ จัดแสดงศิลปกรรมอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ ครั้งที่ 1 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ณ อาคารภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2523
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ดำ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2527
    • รองศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • อาจารย์ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2529 คณะจิตรกรรมฯ ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เปลี่ยนโครงสร้างจำนวนหน่วยกิต นักศึกษาในระดับปริญญา เลือกศึกษาสาขาวิชาเอกและสาขาวิชาโทอย่างละหนึ่งสาขาวิชา มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงกลุ่มวิชาพื้นฐานทั่วไปใหม่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวิชา มีวิชาสังคมศาสตร์ วิชามนุษย์ศาสตร์ วิชาภาษา และวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • พ.ศ. 2530 คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรการศึกษาภาควิชาทฤษฎีศิลป์ เพื่อรวบรวมรายวิชาทฤษฎีศิลป์เข้าไว้ด้วยกัน และเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านวิชาการและการวิจารณ์ศิลปะ
  • พ.ศ. 2531
    • อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • คณะจิตรกรรมฯ จัดตั้งหอศิลป์ของคณะจิตรกรรมฯ ขึ้น และเปิดการแสดงศิลปกรรมของอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 โดยมีนโยบายที่จะสนับสนุนการแสดงผลงานของคณาจารย์ และนักศึกษาของคณะฯ รวมทั้งบุคคลภายนอกที่มีผลงานได้มาตรฐาน
    • คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย
  • พ.ศ. 2534
    • รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เป็นการชั่วคราว
    • อาจารย์ พิษณุ ศุภนิมิตร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2535 คณะจิตรกรรมฯ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนิทรรศการศิลปกรรม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การจัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการ ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน และทรงเขียนภาพพระราชทาน ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535
  • พ.ศ. 2536 คณะจิตรกรรมฯ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโอกาสนี้คณะจิตรกรรมฯ ได้จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรม ครั้งที่ 10 ของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษจำนวน 50 ท่าน ได้ร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ 50 ปี คณะจิตรกรรมฯ สร้างอุทิศแก่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้เป็นบิดาของศิลปกรรมร่วมสมัยของไทย ชื่อผลงานคือ 50 ปี : 50 จินตภาพ ติดตั้งถาวรที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
  • พ.ศ. 2538
    • อาจารย์พิษณุ ศุภนิมิตร หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2539 คณะจิตรกรรมฯ จัดพิมพ์หนังสือ "ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1–8" และ "ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9" เนื่องในปีมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  • พ.ศ. 2542
    • อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • คณะจิตรกรรมฯ จัดโครงการ "ทัศนศิลป์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ" ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า
    • คณะจิตรกรรมฯ ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 100 ปี ในการจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มอบแก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 34 แห่ง
  • พ.ศ. 2543 การจัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมครั้งที่ 17 ของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมชื่อ "กำแพงแห่งศรัทธา" เป็นผลงานชิ้นใหญ่ติดตั้งถาวรที่ ธนาคารกสิกรไทย รายได้จากการจำหน่ายผลงานชุดกำแพงศรัทธา นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
  • พ.ศ. 2545 การจัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมครั้งที่ 19 ของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานชื่อ "ศิลปกรรมดินเผา 60 ปี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" ติดตั้งผลงานที่ด้านหน้าตึกคณะจิตรกรรม 1 เนื่องในโอกาสที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีอายุครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2546
  • พ.ศ. 2546
    • คณะจิตรกรรมฯ มีอายุครบ 60 ปี จัดนิทรรศการโครงการมหกรรมศิลปกรรม นักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ป.ตรี–ป.โท) เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี และในปีการศึกษา 2546 คณะฯ ได้ดำเนินการตัดโครงการเนื่องในโอกาสที่คณะจิตรกรรมฯ มีอายุครบ 60 ปี ทั้งหมด 6 โครงการคือ
      • โครงการมหกรรมศิลปกรรมของนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ป.ตรี–ป.โท) เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
      • โครงการนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย 60 ปี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
      • โครงการสร้างสรรค์ศิลปกรรมระหว่างชาติ
      • โครงการนิทรรศการศิลปกรรมของอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในวาระครบ 60 ปี "ศิลปกรรมสุวรรณภูมิ"
      • โครงการผลิตตำรา–วารสาร–บทความทางวิชาการศิลปะ เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
      • โครงการศิลปกรรมอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 20
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • ศาสตราจารย์ ธนะ เลาหกัยกุล ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2547
    • ศาสตราจารย์ธนะ เลาหกัยกุล ลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เป็นการชั่วคราว
    • อาจารย์ ปัญญา วิจินธนสาร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2548 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาภาพพิมพ์ เกียรตินิยมอันดับ 2 ในปีการศึกษา 2548
  • พ.ศ. 2549 คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ รับนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ ครั้งแรกในภาคการศึกษา 2/2549
  • พ.ศ. 2550 คณะจิตรกรรมฯ ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย และเริ่มใช้ในภาคการศึกษา 1/2551
  • พ.ศ. 2551
    • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเข้าศึกษาในคณะจิตรกรรมฯ ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย ในหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย (ฉบับปรับปรุง 2550) ในแผน ก แบบ ก1
    • คณะจิตรกรรมฯ ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 เป็นหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ และเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ในภาคการศึกษา 1/2551
    • คณะจิตรกรรมฯ ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ จัดตั้งหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา โดยอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
    • คณะจิตรกรรมฯ ปรับปรุงหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม สาขาวิชาประติมากรรม สาขาวิชาภาพพิมพ์ สาขาวิชาศิลปไทย เป็นหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ โดยอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2552
    • อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์ ปริญญา ตันติสุข ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  • พ.ศ. 2556
    • รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หน่วยงาน แก้

 
อาคารคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
  • สำนักงานคณบดี
  • ภาควิชาจิตรกรรม
  • ภาควิชาประติมากรรม
  • ภาควิชาภาพพิมพ์
  • ภาควิชาศิลปไทย
  • ภาควิชาทฤษฎีศิลป์

หลักสูตร แก้

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) 5 ปี

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)

  • สาขาวิชาทัศนศิลป์
    • วิชาเอกจิตรกรรม
    • วิชาเอกประติมากรรม
    • วิชาเอกภาพพิมพ์
    • วิชาเอกศิลปะไทย
    • วิชาเอกสื่อผสม
  • สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์
  • สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา (ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาทัศนศิลป์

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี พ.ศ. 2486 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2501
1 กันยายน พ.ศ. 2501 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505[4]
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ รักษาราชการแทนคณบดี 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2514
3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ รักษาราชการแทนคณบดี 15 มีนาคม พ.ศ. 2514 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2517[5]
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษณา คชเสนีย์ รักษาราชการแทนคณบดี 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 12 เมษายน พ.ศ. 2519
5
รองศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ดำ 13 เมษายน พ.ศ. 2523 – 12 เมษายน พ.ศ. 2527[6]
รักษาราชการแทนคณบดี 3 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2534[7]
6
อาจารย์ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน 13 เมษายน พ.ศ. 2527 – 12 เมษายน พ.ศ. 2531[8]
7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2542[9]
7
รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ 13 เมษายน พ.ศ. 2531 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2534 (ลาออก)[10]
รักษาราชการแทนคณบดี 21 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2548[11]
8
อาจารย์ พิษณุ ศุภนิมิตร 7 สิงหาคม พ.ศ. 2534 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2538[12]
9
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2546[13]
10
ศาสตราจารย์ ธนะ เลาหกัยกุล 7 สิงหาคม พ.ศ. 2546 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2548[14]
11
รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริชัย ชินะตังกูร รักษาราชการแทนคณบดี 20 มีนาคม พ.ศ. 2548[15]
12
อาจารย์ ปัญญา วิจินธนสาร 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[16]
13
รองศาสตราจารย์ ปริญญา ตันติสุข 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[17]
14
อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[18]
15
รองศาสตราจารย์ ญาณวิทย์ กุญแจทอง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน[19]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

เกร็ด แก้

  • คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย
  • คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เดิมใช้ชื่อคณะว่า "คณะจิตรกรรมและประติมากรรม"

อ้างอิง แก้

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2486 หน้า 1496 เล่ม 60 ตอนที่ 54
  3. ทรงพระเจริญ...การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเข้าศึกษาปริญญาเอก สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ที่ ม.ศิลปากร, สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560 เวลา 09:39:35 น.
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 21/2501 ลงวันที่ 5 กันยายน 2501
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 71/2514 ลงวันที่ 14 เมษายน 2514
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 253/2523 ลงวันที่ 14 เมษายน 2523
  7. คำสั่ง มศก. ที่ 485/2534 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2534
  8. คำสั่ง มศก. ที่ 263/2527 ลงวันที่ 5 เมษายน 2527
  9. คำสั่ง มศก.ที่ 721/2538 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2538
  10. คำสั่ง มศก.ที่ 271/2531 ลงวันที่ 14 เมษายน 2531
  11. คำสั่ง มศก.ที่ 400/2548 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2548
  12. คำสั่ง มศก.ที่ 710/2534 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2534
  13. คำสั่ง มศก.ที่ 635/2542 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2542
  14. คำสั่ง มศก.ที่ 819/2546 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2546
  15. คำสั่ง มศก.ที่ 360/2548 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548
  16. คำสั่ง มศก. ที่ 745/2548 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2548
  17. คำสั่ง มศก. ที่ 376/2552 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2552
  18. คำสั่ง มศก. ที่ 740/2556 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2556
  19. คำสั่ง มศก. ที่ 1012/2560 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2560

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้