คณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ

คณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ (พม่า: ပြည်ထောင်စုလွှတ်တော် ကိုယ်စားပြုကော်မတီ; อังกฤษ: Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw, อักษรย่อ CRPH) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของประเทศพม่า[1][2][3] ประกอบด้วยกรรมการ 17 คนซึ่งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งสหภาพ สภานิติบัญญัติของพม่าที่ถูกคณะทหารของมี่นอองไลง์โค่นล้มในรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[4]

คณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ
ပြည်ထောင်စုလွှတ်တော် ကိုယ်စားပြုကော်မတီ
ภาพรวมคณะกรรมการ
ก่อตั้ง5 กุมภาพันธ์ 2021; 3 ปีก่อน (2021-02-05)
คณะกรรมการก่อนหน้า
เขตอำนาจประเทศพม่า (ในนาม)
เว็บไซต์crphmyanmar.org

ประวัติ แก้

ผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับเลือกตั้งมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ไม่รับรองความชอบธรรมของรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 โดยในวันที่ 4 เดือนดังกล่าว ผู้ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรราว 70 คนจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) สาบานตนรับตำแหน่งที่กรุงเนปยีดอ พร้อมให้คำมั่นว่า จะปฏิบัติตามอาณัติที่ได้รับจากประชาชน และจะดำรงตำแหน่งฝ่ายนิติบัญญัติเป็นเวลา 5 ปี[5][6] วันต่อมา สมาชิกพรรคเอ็นแอลดี 15 คน นำโดย พยูพยูที่น ผู้แทนราษฎรจากอำเภอมีนกะลาตองหญุ่น เขตย่างกุ้ง[7] ก่อตั้งคณะกรรมการนี้ขึ้นเพื่อดำเนินกิจการทางรัฐสภา[8] โดยจัดประชุมครั้งแรกผ่านโปรแกรมซูม[9]

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ คณะกรรมการนี้ประณามความพยายามของกองทัพในการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยพลเรือนว่าเป็นการกระทำทางอาญา[10][7] ซึ่งละเมิดหมวด 6 ของประมวลกฎหมายอาญาพม่า และยกเลิกความชอบธรรมของคณะรัฐมนตรีทหารของมี่นอองไลง์ คณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพยังแนะนำให้นักการทูตของสหประชาชาติและประชาคมระหว่างประเทศมาทำงานโดยตรงกับคณะกรรมการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับราชการของรัฐบาล[10]

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ คณะกรรมการออกกฎหมายว่าด้วยที่ปรึกษาแห่งรัฐ โดยขยายเวลาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐออกไปอีก 5 ปีจนถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2569 ในวันเดียวกันนั้น ได้ออกแถลงการณ์ประณามการที่กองทัพปราบปรามการประท้วงของประชาชนอย่างรุนแรง โดยเรียกร้องให้รักษาเสรีภาพในการพูดและสนับสนุนการเคลื่อนไหวแบบอารยะขัดขืน[11]

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ คณะกรรมการประกาศเพิ่มกรรมการจากพรรคการเมืองกลุ่มชาติพันธุ์อีก 2 พรรค ได้แก่ พรรคชาติปะหล่องและพรรคประชาธิปไตยแห่งรัฐกะยา[12]

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ รัฐบาลทหารตั้งข้อหากรรมการ 17 คนว่ายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 505ข ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดสองปี[13]

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ คณะกรรมการแต่งตั้ง ดร.ซาซา เป็นทูตพิเศษประจำสหประชาชาติ[14] และแต่งตั้งทีนลี่นอองเป็นผู้แทนพิเศษของสำนักงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในรัฐแมริแลนด์ สหรัฐ[15]

วันที่ 1 มีนาคม คณะกรรมการประกาศให้สภาบริหารแห่งรัฐเป็นกลุ่มก่อการร้ายเนื่องจาก "การกระทำอันโหดร้าย" ต่อพลเรือนไร้อาวุธ[16][17] ในวันรุ่งขึ้น คณะกรรมการแต่งตั้งซีนมาออง, ลวีนโก-ละ, ทินทู่นไนง์, และซอเวโซ่ ให้รักษาการตำแหน่งรัฐมนตรีสหภาพในคณะรัฐมนตรีที่คณะกรรมการจัดตั้งขึ้น[18]

สมาชิก แก้

ชื่อ เขตเลือกตั้ง พรรค หมายเหตุ
พยูพยูที่น อำเภอมีนกะลาตองหญุ่น เขตย่างกุ้ง สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ทินติ อำเภอโปะบะตีริ เนปยีดอ
ทู่น-มหยิ่น อำเภอบะฮ่าน เขตย่างกุ้ง
ไนง์ทู่ออง อำเภอนะโท่จี้ เขตมัณฑะเลย์
เวพโย่ออง อำเภอตาเกตะ เขตย่างกุ้ง
ซีนมาออง อำเภอยานกี้น เขตย่างกุ้ง
ลวีนโก-ละ อำเภอตาน-ลยีน เขตย่างกุ้ง
โอะกามี่น อำเภอมะริด เขตตะนาวศรี
วี่นไนง์ อำเภอโม่ก้อง รัฐกะชีน
เนมโย่ อำเภอย่องห้วย รัฐชาน
ซอมี่นเต้น อำเภอเล่มแยะนา เขตอิรวดี
มโย่ไนง์ อำเภอช่านเอ้ตาซาน เขตมัณฑะเลย์
ละมี่นทู่น อำเภอน้ำสั่น รัฐชาน พรรคชาติปะหล่อง (TNP)
เซละ เขตพะโค เขต 7 สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) สมาชิกสภาประชาชาติ
เมียะตีดาทู่น รัฐมอญ เขต 8
ซอช่าพอง-อวา รัฐกะเหรี่ยง เขต 4
รอเบิร์ต เญ่แย รัฐกะยา เขต 10 พรรคประชาธิปไตยแห่งรัฐกะยา (KySDP)

อ้างอิง แก้

  1. "Myanmar court files more charges against Suu Kyi, police crack down on protests". Reuters. 28 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2021.
  2. "Myanmar coup latest: Bloodiest day since the Feb. 1 coup". Nikkei Asia. 22 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2021.
  3. Axelrod, Tal (13 มีนาคม 2021). "Exiled leader of Myanmar's civilian government vows 'revolution' to overturn military rule". The Hill. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2021.
  4. "NLD အမတ် ၁၅ ဦးပါ ပြည်ထောင်စုလွှတ်တော်ကိုယ်စားပြုကော်မတီဖွဲ့စည်း". VOA (ภาษาพม่า). 5 กุมภาพันธ์ 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ပြည်ထောင်စု လွှတ်တော်ကိုယ်စားပြု ကော်မတီကို ကိုယ်စားလှယ် ၁၅ ဦးဖြင့် ဖွဲ့စည်းလိုက်ကြောင်း NLD ပါတီ လွှတ်တော်ကိုယ်စားလှယ်များ ထုတ်ပြန်". Eleven Media Group Co., Ltd (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2021.
  6. "NLD lawmakers in Nay Pyi Taw defy military, take oath of office". Frontier Myanmar. 4 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2021.
  7. 7.0 7.1 "ပြည်ထောင်စုလွှတ်တော်ကိုယ်စားပြုကော်မတီက အစိုးရဖွဲ့ဖို့ပြင်". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2021.
  8. "Amid Coup, Myanmar's NLD Lawmakers Form Committee to Serve as Legitimate Parliament". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 8 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2021.
  9. "After a decade of change in Myanmar, fear of the past drives anti-coup protests". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 8 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 "Amid Coup, Myanmar's NLD Lawmakers Form Committee to Serve as Legitimate Parliament". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 8 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2021.
  11. "ဆန္ဒပြသူများကို အကြမ်းဖက်မဖြိုခွင်းရန် ပြည်ထောင်စုလွှတ်တော်ကိုယ်စားပြုကော်မတီ ထုတ်ပြန်". The Voice Myanmar (ภาษาพม่า). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2021.
  12. "သတင်းထုတ်ပြန်ချက် အမှတ်( ၂ )". Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw (ภาษาพม่า). 10 กุมภาพันธ์ 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "Ousted MPs defy junta by appointing new government ministers". Myanmar NOW (ภาษาอังกฤษ). 3 มีนาคม 2021.
  14. "Appointment of Special Envoy to United Nations". Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw (ภาษาอังกฤษ). 23 กุมภาพันธ์ 2021.
  15. "Appointment of Special Representative". Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw (ภาษาอังกฤษ). 23 กุมภาพันธ์ 2021.
  16. "မြန်မာစစ်ကောင်စီကို အကြမ်းဖက်အဖွဲ့အဖြစ် CRPH ကြေညာ". VOA (ภาษาพม่า).
  17. "Declaration of Terrorist Group". Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw (ภาษาอังกฤษ). 1 มีนาคม 2021.
  18. "Appointment of Acting Union Ministers". Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw (ภาษาอังกฤษ). 2 มีนาคม 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้