คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง

คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง (อังกฤษ: truth and reconciliation commission) หรือ คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง (อังกฤษ: truth commission) เป็นคณะกรรมการซึ่งรัฐที่ตั้งตัวหลังจากความไม่สงบ สงครามกลางเมือง หรือระบอบเผด็จการ มักตั้งขึ้นให้มีหน้าที่ค้นหาและเปิดเผยการกระทำมิชอบของรัฐบาลในอดีต รวมตลอดถึงของเอกชนด้วยสุดแล้วแต่พฤติการณ์ ด้วยหมายจะให้คลี่คลายความขัดแย้งที่สั่งสมมาแต่อดีตนั้น คณะกรรมการทำนองนี้มีชื่อแตกต่างกันไป คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองที่ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา กับอัครมุขนายกเดสมอนด์ ทูตู ตั้งขึ้นหลังจากกระแสถือผิวนั้นมีชื่อและนับถือกันเป็นที่สุดว่าเป็นแม่แบบแห่งคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง

แผนที่โลกบ่งบอกการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ความทรงจำและสิทธิมนุษยชน กรุงซันเตียโก ประเทศชิลี

บทบาทและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการเหล่านั้นย่อมต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาณัติที่ได้รับ ซึ่งโดยมากแล้วเป็นอาณัติแผ่นดินให้นำตัวผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในอดีตมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คณะกรรมการอาจจัดทำรายงานรัฐบาลระบุข้อพิสูจน์หักล้างการแก้ประวัติศาสตร์ที่กระทำขึ้นในระบบก่อการร้ายของรัฐ ตลอดจนข้อพิสูจน์ความผิดอาญาอย่างอื่นและการใช้สิทธิมนุษยชนไปในทางมิชอบ แต่บางทีก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า ยินยอมให้ผู้กระทำความผิดลอยนวล ซ้ำยังสร้างความคุ้มกันให้แก่บรรดาผู้ใช้สิทธิมนุษยชนไปในทางมิชอบ เช่น ในกรณีประเทศอาร์เจนตินาหลังปี 2526 และประเทศชิลีหลังปี 2533 ที่ปล่อยผู้ใช้สิทธิมนุษยชนไปในทางมิชอบไปเสียเพราะคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงถูกเหล่าผู้มีอำนาจในฝ่ายทหารขู่ว่าจะยึดอำนาจเพื่อต่อต้านประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะเหล่าทหารที่ยึดอำนาจมักคืนการปกครองให้แก่รัฐบาลพลเรือนโดยแลกกับความคุ้มกันมิให้ต้องถูกลงโทษจากการกระทำทั้งปวงในอดีต มีตัวอย่างในกฎหมาย "ตัดตอน" (Full Stop) ของประเทศอาร์เจนตินาที่ห้ามดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานในคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง อันเป็นความคุ้มกันที่รัฐบาลพลเรือนจัดใส่พานให้ไว้ตามกฎหมาย

ในสังคมที่มีการถ่ายโอนอำนาจ ประเด็นซึ่งยากจะแก้ไขประการหนึ่งในเรื่องบทบาทของคณะกรรมการนั้นอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการกับการดำเนินคดีอาญา[1]

รายชื่อคณะกรรมการ แก้

เกาหลีใต้ แก้

แคนาดา แก้

ชิลี แก้

ศรีลังกา แก้

สหรัฐอเมริกา แก้

อาร์เจนตินา แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. See Lyal S. Sunga "Ten Principles for Reconciling Truth Commissions and Criminal Prosecutions", in The Legal Regime of the ICC (Brill) (2009) 1075-1108.
  2. "Truth and Reconciliation Commission, Republic of Korea". 14 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2012-06-14.
  3. "President Releases LLRC Report To Parliament, The UN And Public". The Sunday Leader. 18 December 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 29 December 2011.