ข้อวิจารณ์รัฐบาลอิสราเอล

ข้อวิจารณ์รัฐบาลอิสราเอล หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่าข้อวิจารณ์อิสราเอล เป็นหัวข้อคำวิจารณ์และการวิจัยทางวารสารศาสตร์และวิชาการภายในขอบเขตของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และแสดงออกในทางรัฐศาสตร์ที่กำลังดำเนินอยู่ ประเทศอิสราเอลเผชิญกับข้อวิจารณ์ระหว่างประเทศนับแต่ประกาศเอกราชในปี 1948 โดยเกี่ยวข้องกับหลายหัวข้อภายในขอบเขตของความปรารถนาให้เกิดประชาชาติทั่วโลก

รัฐบาลอิสราเอลถูกวิจารณ์จากปัญหาเกี่ยวข้องกับนิคมอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ การปฏิบัติต่ออาหรับปาเลสไตน์ ความประพฤติของกำลังป้องกันอิสราเอลระหว่างความขัดแย้งและการปิดล้อมฉนวนกาซาของดินแดนปาเลสไตน์[1] ปัญหาในอดีตอื่นซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันก็ถูกวิจารณ์ด้วย ได้แก่ การปฏิเสธให้ผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์หลังสงครามกลับบ้านเกิด และการยึดครองดินแดนที่ได้มาในสงครามอย่างยืดเยื้อและการก่อสร้างนิคมในดินแดนยึดครองนั้น

มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานภาพประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนของประเทศอิสราเอลด้วยเนื่องจากผู้อยู่อาศัยในดินแดนยึดครองชาวอิสราเอลได้รับอนุญาตให้ออกเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้งของประเทศอิสราเอล แต่ผู้อยู่อาศัยชาวปาเลสไตน์ไม่ได้รับอนุญาต[2][3][4] แหล่งข้อวิจารณ์อีกแหล่งหนึ่งคือความเสียดทานที่เกิดจากปัญหาการเข้ารีตระหว่างรับบีเนตของอิสราเอลและยิวส่วนที่ไม่นับถือทรรศนะดั้งเดิม ณ ปลายสุดของสเปกตรัมหนึ่งเป็นความพยายามบ่อนทำลายสิทธิการมีอยู่ของอิสราเอล[5][6][7] นำไปสู่การโต้เถียงในปัจจุบันเกี่ยวกับว่าการวิจารณ์อิสราเอล ณ จุดใดล้ำเส้นเป็นการต่อต้านยิว ผลกระทบของการวิจารณ์จากนานประเทศมีผลกระทบต่อจิตวิทยาสังคมของสาธารณชนยิวอิสราเอล ในการสำรวจหนึ่งพบว่า อิสราเอลกว่าครึ่งเชื่อว่า "โลกทั้งใบอยู่ตรงข้ามกับเรา" และอิสราเอลสามในสี่เชื่อว่า "ไม่ว่าอิสราเอลทำสิ่งใดหรือไม่ว่าอิสราเอลพยายามระงับความขัดแย้งกับปาเลสไตน์มากเพียงใด โลกก็ยังจะวิจารณ์อิสราเอลอยู่นั่นเอง"[8]

ข้อวิจารณ์นโยบายของอิสราเอลมาจากหลายกลุ่ม โดยมาจากนักเคลื่อนไหวทั้งในอิสราเอลและทั่วโลกเป็นหลัก สหประชาชาติและองค์การนอกภาครัฐอื่นรวมทั้งคริสตจักรยุโรปและสื่อมวลชน ฝ่ายอภิปรายตั้งสองฝ่ายต่างอ้างความลำเอียงของสื่อ นับแต่ปี 2003 สหประชาชาติออกข้อมติ 232 ข้อที่เกี่ยวข้องกับประเทศอิสราเอล คิดเป็นร้อยละ 40 ของข้อมติทั้งหมดที่สหประชาชาติออกในช่วงเวลานั้น และมากกว่าประเทศซูดานหกเท่าซึ่งเป็นเป้าหมายของข้อมติยูเอ็นมากเป็นอันดับสอง[9]

แนวเทียบ แก้

การกล่าวหาว่าถือผิว แก้

มีการเปรียบเทียบระหว่างประเทศแอฟริกาใต้สมัยการถือผิวกับอิสราเอลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

สมาคมเพื่อสิทธิพลเมืองในอิสราเอล กลุ่มในประเทศอิสราเอลซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐสหภาพยุโรปหลายรัฐ ประเมินในปี 2008 ว่า เครือข่ายถนนแยกกันในเวสต์แบงก์สำหรับชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ การขยายนิคมยิว การจำกัดการเติบโตของเมืองปาเลสไตน์และการให้บริการ งบประมาณและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติโดยเลือกปฏิบัติเป็น "การละเมิดหลักการความเสมอภาคอย่างชัดแจ้ง และในหลายทางคล้ายกับระบอบการถือผิวในแอฟริกาใต้"[10]

การเปรียบเทียบกับนาซีเยอรมนี แก้

บางครั้งมีการเปรียบเทียบบางแง่มุมสำคัญของสังคมอิสราเอลกับนาซีเยอรมนีไม่ว่าโดยตรงหรือโดยการอ้างถึง ตัวอย่างเช่น การเปรียบฉนวนกาซากับค่ายกักกันในยุโรปที่นาซียึดครอง และการเปรียบความคิดยิวผู้ถูกเลือกกับความคิดเชื้อชาติปกครองของนาซี[11]

ฟอรัมว่าด้วยการต่อต้านยิวยุโรป (European Forum on Anti-Semitism) แถลงว่า "การเปรียบเทียบนโยบายอิสราเอลร่วมสมัยกับนโยบายนาซี" ถือเป็นการต่อต้านยิว[12] ในปี 2006 กลุ่มรัฐสภาทุกพรรคคัดค้านการต่อต้านยิวของบริเตน (British All-Party Parliamentary Group against Antisemitism) แนะนำให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรมีจุดยืนอย่างเดียวกัน[13] นักสังคมวิทยา เดวิด เฮิร์ชกล่าวหานักต่อต้านลัทธิไซออนิสต์ว่ามีสองมาตรฐานในการวิจารณ์อิสราเอล และสังเกตว่ารัฐอื่นดำเนินการนโยบายคล้ายกับอิสราเอลโดยไม่ถูกเรียกว่า "นาซี" เขาเสนอว่าการบรรยายว่าอิสราเอลข้องแวะใน "การล้างชาติ" เป็นการกล่าวหาโดยไม่พูดเปรียบเทียบกับฮอโลคอสต์ และการเปรียบลัทธิไซออนิสต์เท่ากับลัทธินาซี[14] ผู้ประพันธ์ชาวบริติช ฮาววาร์ด เจคอบสันเสนอว่าการเปรียบเทียบระหว่างภาวะที่ชาวปาเลสไตน์เผชิญและที่ผู้อยู่อาศัยในวอร์ซอเกตโตเผชิญนั้นเจตนา "สร้างรอยแผลแก่ยิวในประวัติศาสตร์ล่าสุดและเจ็บปวดที่สุดของพวกเขา และเพื่อลงโทษเขาด้วยความทุกข์ของเขาเอง" และเป็นการปฏิเสธฮอโลคอสต์รูปแบบหนึ่งซึ่งยอมรับว่ายิวทุกข์ทรมานจริง แต่กล่าวหายิวว่า "พยายามหากำไรจากความทุกข์นั้น" เขาว่า "ราวกับว่าโดยการกลับกฎของเหตุและผลตามปกติ การปฏิบัติของยิวในวันนี้พิสูจน์ว่ายิวสมควรได้รับแล้วในวันวาน"[15]

อ้างอิง แก้

  1. Watt, Nicholas; Sherwood, Harriet (27 July 2010). "David Cameron: Israeli blockade has turned Gaza Strip into a 'prison camp'". The Guardian. London.
  2. BARAT, FRANK. "Why Israel is Not a Democracy". สืบค้นเมื่อ 15 September 2014. Ilan Pappé: No, Israel is definitely not a democracy. A country that occupies another people for more than 40 years and disallow them the most elementary civic and human rights cannot be a democracy. A country that pursues a discriminatory policy against a fifth of its Palestinian citizens inside the 67 borders cannot be a democracy. In fact Israel is, what we use to call in political science a Herrenvolk democracy, its democracy only for the masters. The fact that you allow people to participate in the formal side of democracy, namely to vote or to be elected, is useless and meaningless if you don’t give them any share in the common good or in the common resources of the State, or if you discriminate against them despite the fact that you allow them to participate in the elections. On almost every level from official legislation through governmental practices, and social and cultural attitudes, Israel is only a democracy for one group, one ethnic group, that given the space that Israel now controls, is not even a majority group anymore, so I think that you’ll find it very hard to use any known definition of democracy which will be applicable for the Israeli case.
  3. Gorenberg, Gershom. "Is Israel a Democracy?". The American Prospect. สืบค้นเมื่อ 20 September 2014. Whether it ends the occupation and discrimination against Arab citizens within its borders will alter our perception of whether the nation began as an imperfect democracy or a false one. Today's political battles, strangely enough, will determine not only its future but also its past.
  4. "Israeli-Occupied Territories". freedomhouse.org/. Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-20. สืบค้นเมื่อ 15 September 2014.
  5. Want to Delegitimize Israel? Be Careful Who You Mess With เก็บถาวร พฤศจิกายน 24, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Bard, Mitchell (2008). Will Israel Survive. p. 1. Israel might be the only country in the world whose right to exist is debated and whose future is questioned. Can you imagine anyone asking whether the United States will survive or whether it should exist? Or anyone saying "no" if asked?
  7. Eroding Israel’s Legitimacy in the International Arena http://reut-institute.org/en/Publication.aspx?PublicationId=3766 เก็บถาวร 2019-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ peace index
  9. "UN Resolutions between 2003 and today by country". สืบค้นเมื่อ 2010-12-11.
  10. "Civil rights group claim Israeli occupation is "reminiscent of apartheid" (The Independent, Dec. 7, 2008)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-24. สืบค้นเมื่อ 2019-03-09.
  11. "The "Chosen People"". jewishvirtuallibrary.org.
  12. "Working Definition of Antisemitism. European Forum on Antisemitism". European-forum-on-antisemitism.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-18.
  13. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 22, 2013. สืบค้นเมื่อ February 14, 2007.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  14. Hirsh, David. 2007. Anti-Zionism and Antisemitism: Cosmopolitan Reflections. Working Paper. Yale Initiative for the Interdisciplinary Study of Antisemitism (YIISA) Occasional Papers, New Haven, CT.
  15. "Howard Jacobson: Let's see the 'criticism' of Israel for what it really is". The Independent. London. 18 February 2009.