ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์

ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ (อังกฤษ: Investiture Controversy หรือ Investiture Contest) เป็นความขัดแย้งครั้งสำคัญระหว่างคริสตจักรกับรัฐในยุโรปสมัยกลางที่เกิดขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 พระสันตะปาปาหลายพระองค์ก็เริ่มท้าทายอำนาจของพระมหากษัตริยุโรปในเรื่องการแต่งตั้งและสถาปนาสมณศักดิ์นักบวช เช่น มุขนายก และอธิการอาราม ความขัดแย้งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1075 ระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 และจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ความขัดแย้งอื่นก็ได้แก่ความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1103 ถึงปี ค.ศ. 1107 ปัญหานี้มายุติลงในความตกลงที่วอร์มส์ (Concordat of Worms) ในปี ค.ศ. 1122

กษัตริย์สมัยกลางแต่งตั้งบิชอป

การตกลงครั้งนี้เป็นการลดอำนาจของจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยราชวงศ์ซาเลียนลง ความขัดแย้งนี้นำไปสู่สงครามกลางเมืองในประเทศเยอรมนีที่ยาวนานเกือบห้าสิบปี

ที่มา แก้

หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันแล้วการสถาปนาสมณศักดิ์แม้ว่าตามทฤษฎีแล้วจะเป็นหน้าที่ของศาสนจักรโรมันคาทอลิก แต่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้มีอำนาจที่เป็นฆราวาส[1] ตำแหน่งบิชอปหรืออธิการอารามเป็นตำแหน่งที่มากับความมั่งคั่งและที่ดินจำนวนมาก ฉะนั้นการขายตำแหน่ง (simony) จึงกลายมาเป็นรายได้สำคัญของผู้นำฆราวาส[ต้องการอ้างอิง] และเมื่อบิชอปและอธิการเองส่วนใหญ่ก็เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้วเพราะเป็นกลุ่มชนที่มีการศึกษา ฉะนั้นผู้นำฆราวาสจึงได้ประโยชน์จากการแต่งตั้งคนที่ทราบได้ว่าจะจงรักภักดีต่อตนเองเมื่อได้รับตำแหน่ง[1] นอกจากนั้นแล้วจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ยังมีสิทธิพิเศษในการแต่งตั้งพระสันตะปาปา เมื่อพระสันตะปาปาหันมาแต่งตั้งพระจักรพรรดิ ฉะนั้นการสถาปนาสมณศักดิ์โดยฆราวาสจึงเป็นที่แพร่หลาย

วิกฤติการณ์เริ่มขึ้นเมื่อกลุ่มนักบวชนักปฏิรูปเกรกอเรียน (Gregorian Reform) ตกลงกันประณามการซื้อขายตำแหน่งและพยายามยึดอำนาจการแต่งตั้งให้กลับมาเป็นอำนาจของคริสตจักร กลุ่มนักปฏิรูปเกรกอเรียนทราบว่าตราบใดที่จักรพรรดิยังมีอำนาจในการแต่งตั้งพระสันตะปาปาการเปลี่ยนแปลงก็ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้น โอกาสการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1056 เมื่อจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์เยอรมนีเมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 6 พรรษา นักปฏิรูปจึงฉวยโอกาสปลดปล่อยการแต่งตั้งพระสันตะปาปาจากพระองค์เมื่อยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะประท้วงได้ ในปี ค.ศ. 1059 สภาศาสนจักรในกรุงโรมก็ออกประกาศในสารตราพระสันตะปาปาชื่อ “อินโนมิเนโดมีนี” (In Nomine Domini) ที่ออกโดยสมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 2 ที่ประกาศว่าผู้นำฆราวาสไม่มีสิทธิในการเลือกพระสันตะปาปา และตั้งคณะพระคาร์ดินัล (College of Cardinals) ขึ้นเพื่อให้เป็นองค์ของผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งพระสันตะปาปาที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของศาสนจักรทั้งหมด คณะพระคาร์ดินัลก็ยังคงเป็นสถาบันที่มีหน้าที่เลือกตั้งพระสันตะปาปาในปัจจุบัน


ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Blumenthal Investiture Controversy pp. 34-36

แหล่งข้อมูลอื่น แก้