ขบวนการ 4 พฤษภาคม

ขบวนการ 4 พฤษภาคม (จีนตัวย่อ: 五四运动; จีนตัวเต็ม: 五四運動; พินอิน: Wǔsì Yùndòng) เป็นขบวนการต่อต้านจักรวรรดินิยม, ขบวนการวัฒนธรรมและการเมืองที่เติบโตขึ้นจากการเดินขบวนของนักศึกษาในกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 ซึ่งประท้วงการสนองตอบสนธิสัญญาแวร์ซายที่อ่อนกำลังของรัฐบาลจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยให้ประเทศญี่ปุ่นได้ดินแดนในมณฑลซานตงซึ่งประเทศเยอรมนียอมจำนนหลังการล้อมเมืองชิงเต่า การเดินขบวนเหล่านี้เป็นชนวนการประท้วงระดับชาติและเป็นเครื่องหมายการทวีขึ้นอย่างรวดเร็วของชาตินิยมจีน การเปลี่ยนแปลงสู่การระดมทางการเมืองและออกห่างจากกิจกรรมทางวัฒนธรรม และความเคลื่อนไหวสู่ฐานประชาชนแทนที่จะเป็นอภิชนผู้มีปัญญา ผู้นำทางการเมืองและสังคมในทศวรรษต่อมากำเนิดขึ้นในเวลานี้

นักศึกษาในกรุงปักกิ่งชุมนุมระหว่างขบวนการ 4 พฤษภาคม

คำว่า "ขบวนการ 4 พฤษภาคม" ในความรู้สึกที่กว้างขวางมักอ้างอิงถึงช่วงเวลาในระหว่างปี ค.ศ 1915 - ค.ศ. 1921 โดยมากมักเรียกว่า "ขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมใหม่"

เบื้องหลัง

แก้

บรรยากาศและความรู้สึกอารมณ์ทางการเมืองของประเทศจีนที่ได้ปะทุในช่วง ปี ค.ศ. 1919 เป็นศุนย์กลางของชุดความคิดที่มีอิทธิพลในช่วงศตวรรษที่ 20 ที่สำคัญของจีน[1] หลังจากการปฏิวัติซินไฮ่ ในปี ค.ศ. 1911 ราชวงศ์ชิงได้ล่มสลาย เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ที่โดเด่นในการสิ้นสุดยุคการปกครองโดยราชวงศ์ของจักรพรรดินับพันปีของจีนและได้มีการนำทฤษฎีสู่ยุคใหม่ที่อำนาจทางการเมืองถูกวางอยู่กับประชาชน อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงสภาพของประเทศจีนได้แตกแยกและถูกแบ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลอยู่ภายใต้เหล่าขุนศึก (ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมืองและกองทัพเป็นของตนเองมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ[2]

รัฐบาลกลางของจีนหรือรัฐบาลเป่ยหยางเป็นรัฐบาลทหารที่ยุ่งอยู่กับกาปราบปรามกิจการภายในและไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการตอบโต้การคุกคามจากอิทธิพลที่เกิดขึ้นจากต่างประเทศ[3]

ปัญหาซานตง

แก้
 
มณฑลซานตง (สีแดง)

แม้แท้ที่จริงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนี้มีสนามรบหลักอยู่ที่ฟากตะวันตกของโลก จีนในขณะนั้นเป็นเพียงคนป่วยแห่งเอเชียที่ยังไม่ฟื้นไข้ บ้านเมืองแตกแยกภายในและชาติถูกรุมทึ้ง แผ่นดินจีนฝั่งติดชายทะเลเต็มไปด้วยเขตเช่า ซึ่งก็คือเขตอิทธิพลของมหาอำนาจหลากหลาย จีนเพิ่งปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิงสำเร็จ แต่ตามมาด้วยความวุ่นวาย ขุนศึกแต่ละท้องที่ไม่ยี่หระต่อรัฐบาลกลาง ด้านจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ไกลจากสนามรบหลัก แต่ก็ขอเข้าร่วมในฝ่ายสัมพันธมิตร ญี่ปุ่นซึ่งกำลังประสบความสำเร็จในการขยายอำนาจและดินแดน สามารถใช้จังหวะนี้ขยายอำนาจในเอเชีย จังหวะที่จีนยังลังเลว่าจะเข้าร่วมสงครามหรือไม่ ญี่ปุ่นอาศัยชื่อกองทัพสัมพันธมิตร ลงทุนลงแรงโจมตีกองทัพจักรวรรดิเยอรมันซึ่งครอบครองดินแดนมณฑลซานตงส่วนหนึ่งของจีนซึ่งในขณะนั้นตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิเยอรมัน ญี่ปุ่นคาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้แผ่นดินติดปลายนวม-ญี่ปุ่นวางแผนสร้างเขตอิทธิพลในจีนแทนที่เยอรมัน [4]

สำหรับความร่วมมือจากจีน ญี่ปุ่นก็ต้องการเช่นกันจึงวางแผนหลอกล่อจีน โดยร่วมชักจูงขุนพลตฺวั้น ฉีรุ่ย ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของจีนในขณะนั้นให้เข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร ช่วงนั้นญี่ปุ่นยังให้รัฐบาลตฺวั้น ฉีรุ่ยยืมเงินกู้ 145 ล้านเยน แบบลับ ๆ ในนามสัญญาเงินกู้ Nishihara Loans[4]

เริ่มแรกขุนพลตฺวั้น ฉีรุ่ยสามารถใช้เงินกู้ก้อนนี้พัฒนากองทัพเพื่อร่วมสงครามโลก และมีแผนใช้กองทัพที่พัฒนาแล้วรวมแผ่นดินจีนที่ยังแตกแยกเป็นแผนที่สอง ด้านญี่ปุ่นเองก็คิดใช้เงินก้อนนี้ผูกมัดและแทรกแซงรัฐบาลจีน คนป่วยแห่งเอเชียซึ่งมีสิทธิจะไม่ข้องแวะกับสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายใต้ความฝันที่ถูกฝ่ายพันธมิตรวาดไว้ว่า หากชนะสงคราม จีนจะปลดแอกการรุมทึ้งของต่างชาติได้ไม่มากก็น้อย แล้วญี่ปุ่นก็นำกองทัพเข้ายึดครองเขตอิทธิพลของเยอรมันในจีนได้สำเร็จ[4]

สาธารณรัฐจีนได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1917 รัฐบาลจีนได้ส่งคนงานไปร่วมรบ 140,000 คน (เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอังกฤษ กองกำลังแรงงานจีน) ถูกส่งไปยังแนวหน้าแนวรบตะวันตกในฝรั่งเศส[5] เพื่อชดเชยแรงงานฝรั่งที่ต้องออกรบต้องตายในสงคราม

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามได้จัดการประชุมสันติภาพขึ้นในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสในปี 1919 โดยมีตัวแทนจากประเทศจีนเข้าร่วมเจรจาด้วย ตัวแทนของรัฐบาลจีนได้ยื่นคำร้องต่อไปนี้:

  1. ยกเลิกสิทธิพิเศษต่างๆของต่างชาติในประเทศจีน เช่น สิทธิสภาพนอกอาณาเขต
  2. ขอให้ญี่ปุ่นยกเลิก "ความต้องการยี่สิบเอ็ดประการ" ที่ขูดรีดบังคับเอากับประเทศจีน
  3. ขอให้ดินแดนและสิทธิต่างๆของมณฑลซานตง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้ยึดครองจากเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกลับไปเป็นของประเทศจีน

ข้อเรียกร้องข้อสุดท้ายของคณะผู้แทนจีนต้องการเรียกร้องสิทธิเหนือมณฑลซานตงคืนจากเยอรมนีเข้าร่วมด้วย แต่ที่ประชุมกลับตกลงที่จะมอบสิทธิ์ดังกล่าวซึ่งเดิมของเยอรมนีให้กับญี่ปุ่นแทนโดยอ้างว่าเพื่อรักษาเอกภาพขององค์การสันนิบาตชาติ[6]

การคัดค้านของผู้แทนจีน

แก้

ตัวแทนของฝ่ายจีนออกแถลงการณ์คัดค้านมติดังกล่าว โดยยืนยันว่า มิได้รับรู้ถึงข้อตกลงระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสในช่วงต้นปี 1917 ที่สนับสนุนญี่ปุ่นให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในมณฑลชานตงซึ่งเดิมเป็นสิทธิของเยอรมนี พร้อมชี้ว่า การที่จีนได้เข้าร่วมสงครามในเดือนสิงหาคม 1917 ย่อมทำให้สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างจีนและเยอรมนีเป็นอันยกเลิกไปทันที (ผลจากการประกาศสงคราม) สิทธิเดิมของเยอรมนีตามสนธิสัญญาและข้อตกลงกับจีน จึงต้องกลับคืนสู่จีนโดยอัตโนมัติ ผู้ทรงสิทธิที่จะมอบสิทธิประโยชน์ใดๆ ในมณฑลชานตงคือ จีนหนึ่งในฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่ใช่ของเยอรมนีผู้เป็นศัตรูคู่สงคราม ตัวแทนของฝ่ายจีนยังแสดงความสงสัยว่าเหตุใดจีนจึงต้องเป็นฝ่ายเสียสละสิทธิอันโดยชอบของตนให้กับญี่ปุ่นเพื่อรักษาเอกภาพของสันนิบาตชาติ[7] เนื่องสถานการณ์ยังไม่มีข้อสรุปผู้แทนจีนจึงพยายามถ่วงเลื่อนเวลาการลงนามรับรองสนธิสัญญาเอาไว้ระยะหนึ่ง

กระแสความไม่พอใจ

แก้
 
ข้อความในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของนักศึกษาเรียกร้องให้มีการทวงคืนมณฑลซานตง

ท่ามกลางความรู้สึกอัปยศกว่า 80 ปีก่อนหน้านั้นที่จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ถูกมหาอำนาจต่างชาติย่ำยีตลอดๆ มาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ยืนอยู่ข้างฝ่ายผู้ชนะ แต่กลับพบกว่ากลายเป็นผู้พ่ายแพ้ในหมู่ผู้ชนะ

มหาวิทยาลัยแห่งในปักกิ่งรวมตัวกันที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เพื่อต่อต้านมติที่ประชุมสันติภาพปารีส ด้วยสโลแกนที่ว่า “ทวงแผ่นดินจากต่างชาติ กำจัดโจรขายชาติในประเทศ” “จะรบชิงแผ่นดินจีนไปก็ได้ แต่จะประเคนให้ญี่ปุ่นไปเฉยๆ ไม่ได้!” “จะฆ่าจะทรมานชาวจีนเราก็ได้ แต่เราจะยอมก้มหัวให้ศัตรูไม่ได้!” “ชาติเราถึงคราวเผชิญหายนะแล้ว พี่น้องทั้งหลายจงลุกขึ้นมา!”

การประท้วง

แก้
 
ผู้ประท้วงไม่พอใจกับสนธิสัญญาแวร์ซาย
 
นักศึกษามหาวิทยาลัยชิงหฺวาเผาทำลายสินค้าจากญี่ปุ่น
 
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งซึ่งถูกจับกุมโดยรัฐบาลในขบวนการ 4 พฤษภาคม

มติดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนชาวจีนเป็นอย่างมาก ในวันที่ 4 พฤษภาคม 1919 นักศึกษาราว 3 พันคน จากมหาวิทยาลัย 13 แห่งในกรุงปักกิ่งได้รวมตัวกันที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อต่อต้านมติของที่ประชุมสันติภาพ การชุมนุมขยายตัวไปสู่การใช้ความรุนแรง นักศึกษาจำนวนหนึ่งได้บุกเผาบ้านของรัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสาร ในขณะที่ทูตจีนประจำญี่ปุ่นอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวด้วย โดยทั้งคู่ถูกผู้ประท้วงมองว่าเป็นคนขายชาติที่ใช้อำนาจเอนเอียงเข้าข้างญี่ปุ่น ก่อนเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมสถานการณ์และจับกุมผู้ชุมนุมไว้ราว 30 คน[7]

 
นักศึกษาที่ถูกจับกุม
 
นักศึกษาจากเทียนจินเข้าร่วมการประท้วง

หลายสัปดาห์ต่อมาการชุมนุมยังคงมีขึ้นทั่วประเทศจีน รัฐบาลจับกุมตัวผู้ประท้วงไว้รวมเกินกว่า 1,000 คน ซึ่งยิ่งกระตุ้นให้ประชาชนโกรธแค้นยิ่งขึ้น ในเดือนมิถุนายน กรรมกรในเซี่ยงไฮ้ได้นัดหยุดงานเพื่อสนับสนุนขบวนการนักศึกษา ภายหลังกลุ่มธุรกิจยังร่วมนัดกันหยุดค้าขายเพื่อเป็นการประท้วงร่วมด้วย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ชาวจีนโพ้นทะเลและนักศึกษาในฝรั่งเศสยังเข้าปิดล้อมที่พักของคณะผู้แทนจีน เรียกร้องให้ปฏิเสธการลงนามในสนธิสัญญา[7]

ด้วยแรงกดดันอย่างรุนแรงจากสาธารณะ รัฐบาลจีนตัดสินใจปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกควบคุมตัว พร้อมปลดเจ้าหน้าที่ที่นิยมญี่ปุ่น 3 นายออกจากตำแหน่ง และตัวแทนของจีนในที่ประชุมสันติภาพก็ตัดสินใจปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญาในที่สุด

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Mitter, Rana. A Bitter Revolution: China's Struggle with the Modern World. New York: Oxford University Press, 2004.
  • ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ (บรรณาธิการ). ขบวนการสี่พฤษภาคมในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน. กรุงเทพฯ: ชวนอ่าน, 2562.
  • มิตเตอร์, รานา. ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่. แปลโดย สุทธิมาน ลิมปนุสรณ์. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป, 2562. (ฉบับรำลึก 100 ปี ขบวนการ 4 พฤษภาคม)
  • รัชกฤช วงษ์วิลาศ และคณะ (ผู้แปล). เกิดใหม่ในกองเพลิง: รวมเรื่องสั้นจีนสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มติชน, 2562.

อ้างอิง

แก้
  1. Mitter, R. A Bitter Revolution: China's Struggle with the Modern World (2004), p.12
  2. Cambridge International AS Level International History 1871-1945 Coursebook, Phil Wadsworth, p. 109
  3. Rana Mitter. A Bitter Revolution: China's Struggle with the Modern World. (Oxford; New York: Oxford University Press, 2004), p. 12.
  4. 4.0 4.1 4.2 ขบวนการ 4 พฤษภาคม จากอาวุโสสู่วัยรุ่น โพสต์ทูเดย์. 7 พฤศจิกายน 2561
  5. Guoqi Xu. Strangers on the Western Front: Chinese Workers in the Great War. (Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 2011. ISBN 9780674049994), pp. 1-9, and passim.
  6. 4 พฤษภาคม 1919: นักศึกษาจีนลุกฮือ ต้าน “สนธิสัญญาขายชาติ ศิลปวัฒนธรรม. 7 พฤศจิกายน 2561
  7. 7.0 7.1 7.2 4 พฤษภาคม 1919: นักศึกษาจีนลุกฮือ ต้าน “สนธิสัญญาขายชาติ ศิลปวัฒนธรรม. 7 พฤศจิกายน 2561