กาโปเดย์กาปี

(เปลี่ยนทางจาก ก็อดฟาเธอร์)

กาโปเดย์กาปี (อิตาลี: capo dei capi; อังกฤษ: boss of bosses) หรือ กาโปดีตุตตีอีกาปี (อิตาลี: capo di tutti i capi; อังกฤษ: boss of all bosses) หรือ ปาดรีโน (อิตาลี: Padrino; อังกฤษ: Godfather) เป็นศัพท์ที่ใช้กันเป็นหลักโดยสื่อ สาธารณชน และกลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมายของสหรัฐและอิตาลี เพื่อระบุตัวหัวหน้ากลุ่มอาชญากรที่มีอำนาจมากในกลุ่มซิซิเลียนมาเฟียหรืออเมริกันมาเฟียที่มีอิทธิพลอย่างมากทั่วทั้งองค์การ ศัพท์ดังกล่าวได้รับการนำมาใช้ในสหรัฐโดยคณะกรรมาธิการคีฟอเวอร์ใน ค.ศ. 1950[1]

อเมริกันมาเฟีย แก้

 
แฟรงก์ คอสเตลโล ขณะให้การต่อหน้าคณะกรรมาธิการคีฟอเวอร์

ราว ค.ศ. 1900 จูเซปเป โมเรลโล เป็นเจ้าพ่อมาเฟียที่มีอำนาจมากในนครนิวยอร์ก เหล่ามาเฟียคนอื่น ๆของนคร และนครอื่น ๆ ของสหรัฐ เรียกเขาว่า กาโปเดย์กาปี แต่หลังจากที่เขาเข้าเรือนจำ เซบาสเตียโน ดีแกตาโน รับตำแหน่งนี้ใน ค.ศ.1910 แต่หลังจากที่เขาหายสาบสูญ ซัลวาโตเร ดาคัวลา รับตำแหน่งนี้ใน ค.ศ.1912 แต่หลังจากที่เขาถูกสังหาร โจ แมสเซเรีย รับตำแหน่งนี้ใน ค.ศ.1928 แต่หลังจากที่เขาต้องต่อสู้ในสงครามคาสเตลลามมาเรเซ ในการต่อกรกับ ซัลวาทอร์ มารันซาโน; กาสพาร์ เมสซีนา รับตำแหน่งนี้ใน ค.ศ.1930 จากการประชุมในบอสตัน แต่หลังจากสงครามยุติ และแมสเซเรียถูกสังหาร เมสซีนาลงจากตำแหน่ง และมารันซาโนได้แต่งตั้งให้ตนเองเป็นเจ้าพ่อของทุกเจ้าพ่อใน ค.ศ.1931 แต่หลังจากที่เขาถูกสังหาร ลัคกี ลูเชียโน ได้ยกเลิกตำแหน่งนี้ ด้วยเพราะเชื่อว่าตำแหน่งดังกล่าวได้สร้างความขัดแย้งระหว่างครอบครัว และทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งตกเป็นเป้าของผู้ที่ทะเยอทะยาน[2] เขาเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อเป็นคณะผู้นำของเหล่ามาเฟีย ซึ่งเหล่ามาเฟียทั้งหลายได้เห็นชอบกับแนวคิดนี้[3] คณะกรรมการจะดูแลกิจกรรมมาเฟียทั้งหมดในสหรัฐ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางแก้ไขความขัดแย้งระหว่างครอบครัว[3][4]

คณะกรรมการจะประกอบไปด้วยเหล่าเจ้าพ่อมาเฟียจากห้าครอบครัวของนครนิวยอร์ก ร่วมกันกับครอบครัวอาชญากรรม ชิคาโกเอาท์ฟิท บัฟฟาโล เหล่าครอบครัวอาชญากรรมที่ครอบครัวเจโนวีสเป็นตัวแทน ซึ่งได้แก่ ฟิลาเดลเฟีย ดีทรอยต์ เดคาวัลคานเต เพทริอาร์กา พิตต์สเบิร์ก คลีฟแลนด์ นิวออร์ลีนส์ เหล่าครอบครัวอาชญากรรมที่ชิคาโกเอาท์ฟิทเป็นตัวแทน ซึ่งได้แก่ มิลวอกี แคนซัสซิตี เซนต์หลุยส์ ทราฟฟิคานเต ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก และแซนโฮเซ โดยกรรมการแต่ละคนจะเป็นผู้ออกเสียงเลือกประธานคณะกรรมการ และแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆ ตำแหน่งประธานคณะกรรมการดังกล่าวจะเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการมาเฟีย มากกว่าที่จะเป็นเจ้านายของเหล่ามาเฟียดังที่เคยเป็น แม้ว่ากาโปเดย์กาปีจะถูกยกเลิกไปแล้วโดยลูเชียโน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการคีฟอเวอร์และเหล่าสื่อมวลชนในภายต่อมา ได้เรียกตำแหน่งประธานคณะกรรมการนี้ว่า เจ้าพ่อของเจ้าพ่อ

เหล่าเจ้าพ่อมาเฟียจากครอบครัวอาชญากรรมเจโนวีส: ลัคกี ลูเชียโน รับตำแหน่ง ค.ศ.1931–1946, แฟรงก์ คอสเตลโล ค.ศ.1946–1957, วีโต เจโนวีส ค.ศ.1957–1959, โจเซฟ โบนานโน จากครอบครัวอาชญากรรมโบนานโน ค.ศ.1959–1962, เหล่าเจ้าพ่อมาเฟียจากครอบครัวอาชญากรรมแกมบีโน: คาร์โล แกมบีโน ค.ศ.1962–1976, พอล แคสเตลลาโน ค.ศ.1976–1985, จอห์น กอตตี ค.ศ.1985–1992[5], วินเซนต์ จิแกนเต จากครอบครัวเจโนวีส ค.ศ.1992–1997[6] จากนั้นตำแหน่งได้ว่างลง กระทั่ง โจเซฟ แมสซีโน จากครอบครัวโบนานโน รับตำแหน่ง ค.ศ.2000–2004[7] ในช่วงเวลานี้มีเขาเพียงคนเดียว ที่เป็นเจ้าพ่อนิวยอร์กเต็มตัว ที่ไม่ได้อยู่ในเรือนจำ

โกซานอสตรา แก้

ไม่มีตำแหน่งดังกล่าวในซิซิเลียนมาเฟีย เช่นที่ เจ้าพ่อมาเฟียในรูปแบบเก่า คาลอเจโร วิซซีนี มักถูกสื่อเรียกว่าเป็น "เจ้าพ่อของเจ้าพ่อ" แต่เหล่ามาเฟียเปนตีตีในภายหลัง เช่น ทมมาโซ บูเชตตา ให้ข้อมูลว่าไม่มีตำแหน่งนี้อยู่จริง[8] พวกเขายังปฏิเสธว่าวิซซีนีไม่เคยเป็นผู้ปกครองของมาเฟียในซิซิลี โดยนักประวัติศาสตร์มาเฟีย ซัลวาโตเร ลูโป กล่าวว่า "ข้อความของสื่อเกี่ยวกับคำจำกัดความของ ‘กาโปเดย์กาปี’ นั้น ไม่มีรากฐานที่มาใดๆ"[9]

อย่างไรก็ตามตำแหน่งนี้มักถูกสื่อมอบให้กับเจ้าพ่อมาเฟียที่มีอำนาจในภายต่อมา ในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เหล่าเจ้าพ่อของครอบครัวโคร์รีโอเนซี; ซัลวาโตเร รีนา และ เบรนาร์โด โปรเวนซาโน มักถูกสื่อยกตำแหน่งให้

ในเดือนเมษายน ค.ศ.2006 รัฐบาลอิตาลีได้จับกุมโปรเวนซาโนในบ้านไร่เล็กๆใกล้เมืองโคร์รีโอเน ผู้สืบทอดตำแหน่งจากเขา ถูกรายงานว่าเป็น มัตเตโอ เมสซีนา เดนาโร หรือไม่ก็ ซัลวาโตเร โล ปิคโคโล เรื่องนี้ถูกสันนิษฐานว่า โปรเวนซาโนมีอำนาจในการกำหนดชื่อผู้สืบทอดตำแหน่ง ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ในหมู่ผู้สังเกตการณ์มาเฟีย "มาเฟียในปัจจุบันเป็นสหพันธรัฐมากกว่าจะเป็นรัฐเผด็จการ"[10] อันโตเนียว อิงกรอยยา อัยการต่อต้านมาเฟีย ของกองอำนวยการต่อต้านมาเฟียแห่งปาแลร์โม กล่าวถึงภายหลังการปกครองแบบเผด็จการของรีนา

“โปรเวนซาโนได้จัดตั้งกลุ่มคนประเภทคณะกรรมการขึ้นมา ประมาณ 4 ถึง 7 คน พบกันไม่บ่อยนัก เฉพาะเมื่อจำเป็นต้องมีการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เท่านั้น" อิงกรอยยาเสริม "ในองค์กรมาเฟีย ผู้นำจะต้องอยู่เหนือคนอื่นๆไปหนึ่งก้าว ไม่เช่นนั้นทุกอย่างจะแตกสลาย ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าเขาสามารถจัดการฉันทามติได้หรือไม่ และคนอื่นๆเห็นด้วยหรือขัดขืน โปรเวนซาโนรับประกันความมั่นคงได้ในระดับหนึ่ง เพราะเขามีอำนาจในการระงับข้อพิพาทภายใน"[10]

ในอิตาลี ละครชุดสั้นโทรทัศน์ 6 ตอนชื่อ Il Capo dei Capi เล่าเรื่องราวของ ซัลวาโตเร รีนา[11]

อินดรางเกตา แก้

ผู้ดำรงตำแหน่ง คาโปครีมีเน จะถูกเลือกตั้งขึ้นมาในการประชุมครีมีเน ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีของอินดรางเกตา แต่คาโปครีมีเนมีอำนาจค่อนข้างน้อย ในการแทรกแซงความบาดหมาง หรือควบคุมความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างครอบครัว[12]

ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ แก้

  • เดอะ ก็อดฟาเธอร์ (ค.ศ.1972) แม้ถูกสร้างจากนิยาย และเป็นเรื่องแต่ง แต่ภาพยนตร์มีฉากการประชุมกันของเหล่าเจ้าพ่อมาเฟีย โดยมีประธานในที่ประชุม
  • Mobsters (ค.ศ.1991) ภาพยนตร์เล่าเหตุการณ์สงครามระหว่าง โจ แมสเซเรีย (รับบทโดย แอนโทนี ควินน์) กับ ซัลวาทอร์ มารันซาโน (รับบทโดย ไมเคิล แกมบอน) โดยตัวเอกของเรื่องคือ ลัคกี ลูเชียโน (รับบทโดย คริสเตียน สเลเทอร์)
  • Il Capo dei Capi (ค.ศ.2007) ละครโทรทัศน์เล่าเรื่องราวของ ซัลวาโตเร รีนา (รับบทโดย เคราเดียว เกียวเอ) เป็นตัวเอก และ เบรนาร์โด โปรเวนซาโน (รับบทโดย ซัลวาโตเร ลาซซาโร) ของอิตาลี

อ้างอิง แก้

  1. De Stefano, An Offer We Can't Refuse, p. 41
  2. "Salvatore Maranzano: 'Boss of All Bosses' in the Early American Mafia". United States: Brewminate. October 6, 2020. สืบค้นเมื่อ December 14, 2020. he abolished the title, believing the position created trouble between the families and made himself a target for another ambitious challenger.
  3. 3.0 3.1 Capeci, Jerry. The complete idiot's guide to the Mafia "The Mafia's Commission" (pp. 31–46)
  4. "The Commission's Origins". The New York Times. 1986. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
  5. Raab, Selwyn, Five Families, p. 201.
  6. Raab, Selwyn (September 3, 1995). "With Gotti Away, the Genoveses Succeed the Leaderless Gambinos". New York Times. สืบค้นเมื่อ December 17, 2020.
  7. Corliss, Richard. Crittle, Simon. ""The Last Don เก็บถาวร 2005-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Time Magazine, March 29, 2004. Accessed December 18, 2020.
  8. Arlacchi, Addio Cosa nostra, p. 106
  9. (อิตาลี) Zu Binnu? Non è il superboss เก็บถาวร 2012-09-05 ที่ archive.today, Intervista a Salvatore Lupo di Marco Nebiolo, Narcomafie, April 2006
  10. 10.0 10.1 The Mafia after Provenzano - peace or all-out war?, Reuters, April 12, 2006.
  11. A Mafia saga keeps Italians tuned in, The New York Times, November 18, 2007
  12. How Mafias Migrate: The Case of the 'Ndrangheta in Northern Italy เก็บถาวร 2008-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Federico Varese, Law & Society Review, June 2006

บรรณานุกรม แก้