กุศลและอกุศล
กุศล หมายถึง บุญ ความดี ความฉลาด[1][2]
ในทสุตตรสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่ารากเหง้าของกุศลมี 3 อย่าง คือ ความไม่โลภ ความไม่คิดประทุษร้าย และความไม่หลง[3]
อกุศล (น นิบาต/อ- อุปสรรค (ไม่) + กุสล) หมายถึง บาป, ความชั่วร้าย,[4] ไม่เป็นมงคล,[5] ไม่ฉลาด, กรรมชั่ว ตรงกันข้ามกับ กุศล ซึ่งแปลว่า ความดี
ในสัมมาทิฏฐิสูตร พระสารีบุตรอธิบายว่า อกุศล คือ
- ปาณาติบาต หมายถึง การทำชีวิตให้ตกล่วง
- อทินนาทาน หมายถึง การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย, ลักทรัพย์
- กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง ความประพฤติผิดในกาม
- มุสาวาท หมายถึง คำโกหก
- ปิสุณาวาจา หมายถึง คำส่อเสียด
- ผรุสวาจา หมายถึง คำหยาบ
- สัมผัปปลาปะ หมายถึง คำพูดเพ้อเจ้อ
- อภิชฌา หมายถึง การเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
- พยาบาท หมายถึง การคิดร้ายผู้อื่น
- มิจฉาทิฐิ หมายถึง ความเห็นผิด
รากเหง้าแห่งอกุศลข้างต้นเรียกว่า อกุศลมูล ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ
พระสารีบุตรอธิบายสรุปว่า เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดอกุศลและรากเหง้าแห่งอกุศลอย่างนี้ รู้ชัดกุศลและรากเหง้าแห่งกุศลอย่างนี้ เมื่อนั้น ย่อมละอนุสัยคือราคะ บรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะ ถอนอนุสัยคือทิฐิและมานะที่ว่า เป็นเรา โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาได้แล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น แล้วเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้เอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระอริยสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้[6]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ กุศล, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 138
- ↑ ทสุตตรสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
- ↑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ สัมมาทิฏฐิสูตร, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 4 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
- บรรณานุกรม
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4