กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 หรือ แม่โดมเกมส์ เป็นการแข่งกีฬาของนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยในครั้งนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน โดยจะจัดการแข่งขันขึ้นในระหว่างวันที่ 22 - 30 มกราคม พ.ศ. 2553 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 111 แห่งเข้าร่วมแข่งขันใน 25 ชนิดกีฬา จำนวน 262 เหรียญทอง นอกจากนี้ ยังมีกีฬาสาธิตอีก 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ กีฬาวีลแชร์และว่ายน้ำด้วยตีนกบ เพื่อแสดงให้เห็นว่านักศึกษาพิการมีความสามารถและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้เท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป[1]

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37
เมืองเจ้าภาพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำขวัญSports for Unity - We all are Thai
(สามัคคีที่แดนโดม)
ทีมเข้าร่วม112 มหาวิทยาลัย
กีฬา25 ชนิดกีฬา
พิธีเปิด22 มกราคม 2553 (2553-01-22)
พิธีปิด30 มกราคม 2553 (2553-01-30)
ประธานพิธีเปิดอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
(นายกรัฐมนตรี)
นักกีฬาปฏิญาณเจตนากร นภีตะภัฏ
ผู้จุดคบเพลิงนีรนุช กล่อมดี
สนามกีฬาหลักสนามเมนสเตเดียม

สำหรับตราสัญลักษณ์ในการแม่โดมเกมส์ออกแบบเป็นรูปตึกโดมอันเกิดจากรูปคนสีเหลืองและคนสีแดงหันหน้าเข้าหากันแล้วชูธงชาติไทย โดยใช้คำขวัญว่า "Sports for Unity - We all are Thai" หรือ "สามัคคีที่แดนโดม" ส่วนสัญลักษณ์นำโชคนั้น คือ นกปรีดีชูคบเพลิงที่เปลวไฟเป็นรูป ๗๕ อันสื่อความหมายถึง การเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 75 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน แก้

 
นกปรีดี สัญลักษณ์นำโชคในแม่โดมเกมส์

ตราสัญลักษณ์และคำขวัญ แก้

ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ออกแบบโดยการนำเอาสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้ามาประกอบ ได้แก่ ตึกโดมและสีเหลืองแดง ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย เมื่อมองตราสัญลักษณ์โดยภาพรวมแล้วจะเห็นเป็นรูปตึกโดมอันเกิดจากรูปคนสีเหลืองและคนสีแดงหันหน้าเข้าหากันแล้วชูธงชาติไทย[2]

โดยตราสัญลักษณ์นี้มีความหมายสื่อไปถึงคำขวัญประจำการแข่งขันในครั้งนี้ที่ว่า "Sports for Unity - We all are Thai (กีฬาเพื่อความสมานฉันท์ - ร่วมกันสร้างสรรค์ประเทศไทย)" หรือ คำขวัญในภาษาไทยใช้ว่า "สามัคคีที่แดนโดม" นั่นเอง[2]

ดังนั้น แม่โดมเกมส์จึงเป็นเกมกีฬาที่สีเหลืองและสีแดงจะมาร่วมกันสร้างสรรค์เกมกีฬา และนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันแข่งขันกีฬาเพื่อความสามัคคี ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแดง หรือสีใดก็ตาม เพราะเราทุกคนคือคนไทยด้วยกัน เป็นการแข่งเพื่อสุขภาพไม่ใช่เพื่อรางวัลแต่รางวัลก็เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งกีฬานั้น ๆ

สัญลักษณ์นำโชค แก้

สัญลักษณ์นำโชคในการแข่งขันแม่โดมเกมส์ ได้แก่ นกปรีดี ซึ่งเป็นนกที่ค้นพบครั้งแรกในประเทศไทยและสถาบันสมิธโซเนียนแห่งสหรัฐอเมริกาได้ตั้งชื่อนกชนิดนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่นายปรีดี พนมยงค์ในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ยังเป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย นกปรีดีถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์นำโชคในการแข่งขันครั้งนี้เพื่อช่วยให้นำความสมานฉันท์และสันติภาพกลับคืนสู่สังคมไทย

นอกจากนี้ ยังออกแบบให้นกปรีดีชูคบเพลิงโดยเปลวไฟของคบเพลิงนั้นเป็นรูป ๗๕ อันสื่อความหมายถึง การเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 75 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พิธีการ แก้

พิธีเปิด แก้

พิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 หรือ แม่โดมเกมส์ จัดขึ้นในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 ณ สนามกีฬาหลัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี สำหรับพิธีเปิดนั้นเริ่มต้นด้วยกิจกรรมโหมโรงเชียร์กีฬาและการแข่งขันกีฬาสาธิตของนักศึกษาพิการทางสายตาและการเคลื่อนไหวซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ให้นักศึกษาผู้พิการเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย[3] จากนั้น นักกีฬาจาก 112 สถาบันเริ่มเดินเข้าสู่สนามและยืนรวมกันในสนามเป็นรูปประเทศไทยหลากสี

สำหรับพิธีการจุดไฟคบเพลิงทางเจ้าภาพจัดการแข่งขันได้เปิดโอกาสให้สถาบันต่าง ๆ มีส่วนร่วมโดยส่งตัวแทนเข้าร่วมขบวนวิ่งคบเพลิงก่อนที่จะส่งให้ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5 คน ได้แก่ นายสันติภาพ เตชะวณิช นางสุมาลี เตชะวณิช นายพระนาย สุวรรณรัฐ นายโชคทวี พรหมรัตน์ และลำดับสุดท้าย คือ นางนีรนุช กล่อมดี เป็นผู้จัดไฟในกระถางคบเพลิง[4]

ในส่วนของการแสดงนั้นจัดขึ้นภายใต้แนวคิด "สามัคคีในแดนโดม" กล่าวคือ ความสามัคคีไม่ได้แปลว่าให้คิดเหมือนกัน คนเราคิดแตกต่างกันได้ และถ้าทำได้ เราก็จะเป็นหนึ่งที่มีความแตกต่างหลากหลาย[5] การแสดงแบ่งออกเป็น 3 ชุด ได้แก่ แดนดินถิ่นโดม พลังแห่งความแตกต่าง และจุดมุ่งหมายกีฬามหาวิทยาลัย โดยใช้นักศึกษาธรรมศาสตร์เป็นผู้แสดงหลัก การแสดงเน้นเรื่องความรักความสามัคคีโดยพยายามให้ทุกมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมมากที่สุด รวมถึงใช้รูปแบบพิธีการที่ประหยัดและรวบรัดเวลา

นอกจากนี้ ยังมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่ คือ เพลงหนึ่งชัยชนะ โดยจะใช้เป็นเพลงหลักในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยในครั้งนี้ โดยความหมายของเพลง คือ ถ้าเราตั้งเป้าที่จะมุ่งชิงเหรียญทองก็จะมีผู้ชนะเพียงคนเดียวและได้เหรียญทองเพียงไม่กี่คน แต่ถ้าทุกคนมุ่งเอาชนะใจตนเอง ทุกคนก็จะเป็นผู้ชนะ

พิธีปิด แก้

พิธีปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 จัดขึ้นในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553 ณ สนามกีฬาหลัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยจัดการแสดงจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ชุด ได้แก่ บ้านเราแสนสุขใจและสามัคคีที่แดนโดม นอกจากนี้ยังมีการจัดการแสดงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งหน้าอีกด้วย[6]

สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขัน แก้

สถาบันการศึกษาที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 มีจำนวนทั้งสิ้น 112 สถาบัน ได้แก่[7]

|}

ชนิดกีฬา แก้

กีฬาสาธิต

ตารางการแข่งขัน แก้

 ●  พิธีเปิด  ●  รอบคัดเลือก  ●  รอบชิงชนะเลิศ  ●  กีฬาสาธิต  ●  พิธีปิด
มกราคม (วันที่) 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 จำนวนเหรียญทอง
พิธีการ
กรีฑา 4 9 6 8 6 8 41
ว่ายน้ำ 6 6 6 7 6 8 39
บาสเกตบอล 2 2
ฟุตบอล 1 1 2
วอลเลย์บอล 2 2
วอลเลย์บอลชายหาด 2 2
กอล์ฟ 4 4
ซอฟท์บอล 2 2
เซปักตะกร้อ 2 2 4
ตะกร้อลอดห่วง 1 1
ฟันดาบ 2 2 2 2 2 2 12
เทควันโด 7 4 4 4 19
เทนนิส 2 2 3 7
เทเบิลเทนนิส 2 5 7
แบดมินตัน 2 5 7
มวยสากลสมัครเล่น 9 9
ยิงปืน 4 6 4 6 4 24
ยูโด 4 3 3 3 3 16
รักบี้ฟุตบอล 1 1 2
เปตอง 2 2 2 1 2 9
คาราเต้ 7 6 24 17
เรือพาย 8 6 6 20
ครอสเวิร์ด 2 1 2 5
ดาบไทย 2 2 2 2 1 9
กรีฑาคนพิการทางสายตา
ดำน้ำฟินสวิมมิ่ง
จำนวนเหรียญทอง 7 24 31 42 43 35 29 45 6 262

สรุปเหรียญการแข่งขัน แก้

สรุปเหรียญการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 [8]
อันดับ มหาวิทยาลัย       รวม
1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 17 9 28 54
2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 27 21 26 74
3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3 8 12 23
4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 17 12 29 58
5 มหาวิทยาลัยมหิดล 1 8 5 14
6 มหาวิทยาลัยรามคำแหง 13 8 21 42
7 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3 3 8 14
8 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 3 2 8 13
9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 5 2 2 9
10 มหาวิทยาลัยบูรพา 1 0 1 2
11 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 0 1 4 4
12 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 7 5 15
13 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 0 0 1 1
มหาวิทยาลัยนเรศวร 0 1 2 2
15 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 8 23 19 50
16 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 0 2 0 2
17 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 0 0 2 2
มหาวิทยาลัยทักษิณ 0 1 2 3
19 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 9 5 8 22
20 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 0 1 1 2
21 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ 6 2 1 9
22 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2 2 0 4
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 1 1 0 1
23 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 2 0 0 2
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 0 0 1 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 0 1 0 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 0 0 1 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 0 0 2 2
28 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 0 1 2 3
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 0 0 1 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 0 1 0 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 1 0 0 1
32 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 4 4 5 13
33 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 1 2 0 3
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 0 0 1 1
34 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 1 1 0 2
35 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 1 0 0 1
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 0 1 0 1
37 สถาบันการพลศึกษา 16 22 35 73
38 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 20 21 31 72
39 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 13 13 16 42
40 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 1 1 7 9
41 มหาวิทยาลัยรังสิต 3 6 4 13
42 มหาวิทยาลัยศรีปทุม 12 18 24 54
43 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 7 5 14 26
44 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 23 15 17 55
45 มหาวิทยาลัยสยาม 15 3 6 24
46 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 9 6 12 27
47 มหาวิทยาลัยเกริก 2 5 3 10
48 มหาวิทยาลัยปทุมธานี 4 7 6 17
มหาวิทยาลัยอีสาน 1 1 0 1
49 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 3 3 2 8
50 วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 1 1 2 4
51 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2 4 6 12
สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา 1 1 0 2
53 วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 0 1 0 1
วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ 0 1 0 1
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 0 0 1 1
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 0 0 1 1
รวม 262 262 384 908

อ้างอิง แก้

  1. "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติแข่งขัน 25 ชนิดกีฬา ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 "แม่โดมเกมส์" ชิงชัย 266 เหรียญทอง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2010-01-02.
  2. 2.0 2.1 "แม่โดมเกมส์:ตราสัญลักษณ์ของการแข่งขัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-02.
  3. “แม่โดมเกมส์” กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งแรกที่ให้นักศึกษาผู้พิการเข้าร่วมการแข่งขัน เก็บถาวร 2010-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ข่าวประชาสัมพันธ์, 13 มกราคม พ.ศ. 2553 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553
  4. 'แม่โดมเกมส์'คึกคัก'อภิสิทธิ์'ประธานเปิด, เดลินิวส์, 21 มกราคม 2553 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553
  5. เตรียมพิธีเปิด-ปิด ‘แม่โดมเกมส์’ ยิ่งใหญ่ เน้นความสมานฉันท์ ประธานฯ แม่โดมเกมส์ยืนยัน เก็บถาวร 2010-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ข่าวประชาสัมพันธ์, 13 มกราคม พ.ศ. 2553 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553
  6. "(ร่าง) กำหนดการพิธีปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-01-23.
  7. "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปจำนวนสถาบันการศึกษาที่จะส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2009-12-31.
  8. "สรุปเหรียญแยกตามสถาบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-18. สืบค้นเมื่อ 2010-01-22.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 ถัดไป
กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 36

(มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
  กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
(22 - 30 มกราคม พ.ศ. 2553)
  กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 38

(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)