กีฬามวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016
การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 6-21 สิงหาคม พ.ศ. 2559
มวยสากลสมัครเล่น ในโอลิมปิกครั้งที่ 31 | |
---|---|
สนาม | รีอูเซงตรู – พาวิลเลียน 2 |
วันที่ | 6-21 สิงหาคม พ.ศ. 2559 |
จำนวนนักกีฬา | 286 |
กีฬามวยสากลสมัครเล่นใน โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 | |||||
---|---|---|---|---|---|
ชาย | หญิง | ||||
49 กก. | 51 กก. | ||||
52 กก. | 60 กก. | ||||
56 กก. | 75 กก. | ||||
60 กก. | |||||
64 กก. | |||||
69 กก. | |||||
75 กก. | |||||
81 กก. | |||||
91 กก. | |||||
+91 กก. |
การคัดเลือก
แก้ชาติสมาชิกโอลิมปิกแต่ละชาติจะส่งนักกีฬาได้รุ่นละหนึ่งคน ได้สำรองให้นักกีฬาจากบราซิล 6 คน เป็นชาย 5 หญิง 1 การแข่งขันครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่นักมวยสากลอาชีพที่ไม่ได้ลงทะเบียนกับไอบาสามารถเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกได้ [1] โดยไอบาเปลี่ยนกฏในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 และมีนักมวยสากลอาชีพเข้าร่วมแข่งขันสามคนคือ คาร์มิเน ตอมมาโซเน จากอิตาลีในรุ่นไลท์เวท ฮัสซัส เอ็นดาม จากแคเมอรูนในรุ่นไลท์เฮฟวี่เวท และอำนาจ รื่นเริงจากไทยในรุ่นไลท์เวท แต่ไม่มีใครได้เหรียญรางวัล [2]
การแข่งขันรอบคัดเลือก:
- รายการมวยเวิลด์ซีรีส์ (WSB) พ.ศ. 2557 - 2558– นักมวยที่ได้อันดับสูงสุดสองอันดับแรกเมื่อสิ้นสุดฤดูการแข่งขัน 2557 - 2558 ในแต่ละรุ่น (ยกเว้นรุ่นฟลายเวท เฮฟวี่เวท และซูเปอร์เฮฟวี่เวทเพียงคนเดียว) [1]
- รายการกึ่งอาชีพระดับโลกไอบา (APB)พ.ศ. 2557 - 2558 – แชมป์และผู้ที่มีอันดับโลกสูงสุดในแต่ละรุ่นเมื่อสิ้นสุดรอบแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 [1]
- มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก – โดฮาร์, กาตาร์, 5–18 ตุลาคม พ.ศ. 2558– ผู้ได้สามอันดับแรกของรุ่นต่อไปนี้, แบนตัมเวท ไลท์เวท ไลท์เวลเตอร์เวท เวลเตอร์เวท และมิดเดิลเวท, เหรียญทองและเหรียญเงินจากสามรุ่นต่อไปนี้คือ ไลท์ฟลายเวท ฟลายเวท และไลท์เฮฟวี่เวท และเหรียญทองสำหรับรุ่นเฮฟวี่เวทและซูเปอร์เฮฟวี่เวท[1]
- มวยสากลสมัครเล่นหญิงชิงแชมป์โลก – คาซักสถาน พ.ศ. 2559 – สี่อันดับแรกของแต่ละรุ่น[1]
- รายการคัดเลือกโอลิมปิก APB และ WSB พ.ศ. 2559– สามอับดับแรกของรุ่นเล็ก 8 รุ่น, และแชมป์ของรุ่นเฮฟวี่เวทและซูเปอร์เฮฟวี่เวท[1]
- มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก พ.ศ. 2559
- รายการคัดเลือกโอลิมปิกภาคพื้นทวีป พ.ศ. 2559 ทั้งชายและหญิง
ชาติที่เข้าร่วม
แก้- แอลจีเรีย (8)
- อาร์เจนตินา (7)
- อาร์มีเนีย (5)
- ออสเตรเลีย (3)
- อาเซอร์ไบจาน (11)
- เบลารุส (3)
- บราซิล (9)
- บัลแกเรีย (3)
- แคเมอรูน (4)
- แคนาดา (3)
- กาบูเวร์ดี (1)
- แอฟริกากลาง (1)
- จีน (11)
- โคลอมเบีย (5)
- สาธารณรัฐคองโก (2)
- โครเอเชีย (2)
- คิวบา (10)
- สาธารณรัฐโดมินิกัน (2)
- เอกวาดอร์ (4)
- อียิปต์ (4)
- ไมโครนีเชีย (1)
- ฟีจี (1)
- ฟินแลนด์ (1)
- ฝรั่งเศส (11)
- เยอรมนี (6)
- กานา (1)
- สหราชอาณาจักร (12)
- เฮติ (1)
- ฮอนดูรัส (1)
- ฮังการี (2)
- อินเดีย (3)
- อิหร่าน (1)
- อิรัก (1)
- ไอร์แลนด์ (8)
- อิตาลี (7)
- ญี่ปุ่น (2)
- จอร์แดน (2)
- คาซัคสถาน (12)
- เคนยา (3)
- คีร์กีซสถาน (1)
- เกาหลีใต้ (1)
- เลโซโท (2)
- ลิทัวเนีย (2)
- มอริเชียส (2)
- เม็กซิโก (6)
- มองโกเลีย (6)
- โมร็อกโก (10)
- นามิเบีย (2)
- เนเธอร์แลนด์ (3)
- ไนจีเรีย (1)
- ปานามา (1)
- ปาปัวนิวกีนี (1)
- ฟิลิปปินส์ (2)
- โปแลนด์ (2)
- ปวยร์โตรีโก (1)
- กาตาร์ (2)
- โรมาเนีย (1)
- รัสเซีย (11)
- เซเชลส์ (1)
- สเปน (2)
- สวีเดน (1)
- จีนไทเป (2)
- ทาจิกิสถาน (1)
- ไทย (5)
- ตรินิแดดและโตเบโก (1)
- ตูนิเซีย (2)
- ตุรกี (6)
- เติร์กเมนิสถาน (1)
- ยูกันดา (2)
- ยูเครน (5)
- สหรัฐ (8)
- อุซเบกิสถาน (11)
- วานูวาตู (1)
- เวเนซุเอลา (8)
- หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ (1)
- แซมเบีย (1)
ผลการแข่งขัน
แก้สรุปเหรียญ
แก้- หมายเหตุ
* เจ้าภาพ (บราซิล)
อันดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | อุซเบกิสถาน | 3 | 2 | 2 | 7 |
2 | คิวบา | 3 | 0 | 3 | 6 |
3 | ฝรั่งเศส | 2 | 2 | 2 | 6 |
4 | คาซัคสถาน | 1 | 2 | 2 | 5 |
5 | รัสเซีย | 1 | 1 | 3 | 5 |
6 | สหราชอาณาจักร | 1 | 1 | 1 | 3 |
สหรัฐ | 1 | 1 | 1 | 3 | |
8 | บราซิล | 1 | 0 | 0 | 1 |
9 | จีน | 0 | 1 | 3 | 4 |
10 | อาเซอร์ไบจาน | 0 | 1 | 1 | 2 |
โคลอมเบีย | 0 | 1 | 1 | 2 | |
12 | เนเธอร์แลนด์ | 0 | 1 | 0 | 1 |
13 | โครเอเชีย | 0 | 0 | 1 | 1 |
ฟินแลนด์ | 0 | 0 | 1 | 1 | |
เยอรมนี | 0 | 0 | 1 | 1 | |
เม็กซิโก | 0 | 0 | 1 | 1 | |
มองโกเลีย | 0 | 0 | 1 | 1 | |
โมร็อกโก | 0 | 0 | 1 | 1 | |
เวเนซุเอลา | 0 | 0 | 1 | 1 | |
รวม | 13 | 13 | 26 | 52 |
ผลการแข่งขัน
แก้ชาย
แก้หญิง
แก้ประเภท | เหรียญทอง | เหรียญเงิน | เหรียญทองแดง |
---|---|---|---|
ฟลายเวท |
นิโกลา อาดัมส์ สหราชอาณาจักร |
ซาราห์ อูรามูน ฝรั่งเศส |
เริน กานกาน จีน |
อินกริต วาเลนเซีย โคลอมเบีย | |||
ไลท์เวท |
เอสเตล มอสเซลี ฝรั่งเศส |
ยิน จุนหัว จีน |
มีรา ปอตคอเน ฟินแลนด์ |
อะนัสตาซียา เบเลียโควา รัสเซีย | |||
มิดเดิลเวท |
คลาเรสซา ชีลด์ สหรัฐ |
นุชกา ฟอนติช เนเธอร์แลนด์ |
ดาริกา ชากีโมวา คาซัคสถาน |
ลี กวาน จีน |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Rio 2016 – AIBA Boxing Qualification System" (PDF). AIBA. สืบค้นเมื่อ 1 February 2015.
- ↑ สุดทางฝัน’ไอบ้า’? เมื่อ’มืออาชีพ’จอดป้ายใน’รีโอเกมส์’