กีฏวิทยาการแพทย์

กีฏวิทยาการแพทย์ (อังกฤษ: Medical entomology) หรือกีฏวิทยาสาธารณสุข (อังกฤษ: Public health entomology) เป็นสาขาที่ศึกษาสัตว์ขาข้อ และแมลงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ เป็นการศึกษาที่รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมของแมลง นิเวศ โรคระบาดที่เกิดจากแมลงและสัตว์ขาข้อที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ด้านความปลอดภัยของสาธารณชนและทางการแพทย์ (Arthropods and insects of medical importance) ในสหรัฐอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วจ้างนักกีฏวิทยาทำงานในภาคเอกชน ในมหาวิทยาลัยใน ภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งในหน่วยงานระดับต่างๆ ของรัฐ

กีฏวิทยา
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแมลง
กีฏวิทยาสิ่งแวดล้อม – นิติเวชกีฏวิทยา 
กีฏวิทยาอุตสาหกรรม – กีฏวิทยาการเกษตร
ไรวิทยา – กีฏวิทยาการแพทย์
แมลงผสมเกษร – กีฏวิทยาการสัตวแพทย์

ความสำคัญทางการแพทย์ แก้

แมลง (Insects) เป็นสัตว์ขาข้อ (Arthropods) สามารถทำอันตรายต่อคนได้หลายทาง ได้แก่

  • Dermatosis อาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ได้แก่ อาการคันเมื่อถูกกัด เช่น ยุง (Mosquitoes) เหา (Lice) หมัด (fleas) ริ้น (Midges) เรือด (Bedbugs) หรือเกิดจากการฝังตัวในผิวหนัง เช่น หิด (Scabies mites)
  • Myiasis เกิดจากหนอนแมลงวันไชเข้าสู่ร่างกายตามบาดแผล หรือช่องเปิดตามร่างกายแล้วอาศัยอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ
  • ทำอันตรายต่ออวัยวะสัมผัส (Injury to sense organs) เช่น แมลงเล็ก ๆ จำพวก ริ้น ด้วง (Beetles) เข้าสู่ตา หรือเห็บ ไร ด้วงตัวเล็ก ๆคลานเข้ารูหูในขณะนอนหลับที่พื้นดินในป่า ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมาก
  • อาการแพ้ (Allergy) เมื่อมีการสูดดมเอาขนตามตัว เกล็ดปีก ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของแมลง เช่น may flies, Caddis flies หรือไรฝุ่น
  • ปล่อยสารพิษ และสารระคายเคือง (Venoms and irritating fluids)
    • โดยการต่อยหรือกัด (sting or bite) เช่น เห็บ ไร แมงมุม ผึ้ง ต่อ
    • โดยการสัมผัส (contact toxins) เช่น ตัวบุ้ง หนอนผีเสื้อ (caterpillar)
  • รบกวนประสาท (Nervous disorders) เสียงบินหึ่ง ๆ ของแมลง ข้างหูในขณะนอนทำให้นอนไม่หลับ คนบางคนมีอาการเกลียดกลัวแมลงบาง
  • พาหะนำโรค (Vectors) รูปแบบการนำโรคแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
    • Mechanical transmission นำไข่, เชื้อโรคติดตามตัวนำไปสู่คนผ่านทางน้ำและอาหาร
    • Biological transmission แมลงพาหะส่วนใหญ่นำโรคด้วยวิธีนี้ โดยเชื้อโรคเมื่อเข้าไปอาศัยในตัวแมลงอาจมีการเพิ่มจำนวน หรือเปลี่ยนรูปร่างไปตามระยะการเจริญเติบโต สามารถแบ่งเป็น 3 แบบ คือ
      • Propagative transmission เชื้อโรคมีการเพิ่มจำนวน แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามการเจริญเติบโต เช่น กรณีของไข้เลือดออก
      • Cyclo-propagative เชื้อโรคมีการเพิ่มจำนวน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามการเจริญเติบโต เช่น กรณีของโรคมาลาเรีย
      • Cyclo- transmission เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามการเจริญเติบโต แต่ไม่มีการเพิ่มจำนวน เช่น กรณีของโรคเท้าช้าง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้