กิโล
กิโล- (อังกฤษ: kilo-) เป็นคำอุปสรรคในระบบเอสไอ แสดงถึงค่าพัน (103 หรือ 1,000) มีสัญลักษณ์คือ k-
คำที่ใช้กันบ่อย
แก้- 1 กิโลเมตร = 1,000 เมตร เช่น ความสูงของภูเขาเอเวอร์เรสประมาณ 8.8 กิโลเมตร (8,800 เมตร)
- 1 กิโลลิตร = 1,000 ลิตร เช่น คน10คน ต้องดื่มน้ำวันละ 1.8 กิโลลิตร (1,800 ลิตร) ถ้าไม่มีการดูดน้ำกลับที่ไต
- 1 กิโลอาร์ = 1,000 อาร์ (หน่วยพื้นที่) เช่น พื้นที่ของประเทศโมนาโกมีขนาด 1.95 กิโลอาร์ (1,950 อาร์)
ดูเพิ่ม
แก้- กิโลกรัม (kilogramme), ชื่อมาตราชั่งน้ำหนัก เท่ากับหนึ่งพันกรัม, อักษรย่อว่า กก.
- กิโลไซเกิล (kilocycle), หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ มีค่า เท่ากับหนึ่งพันไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ว่า กิโลเฮิรตซ์
- กิโลเมตร (kilometre), ชื่อมาตราวัด เท่ากับหนึ่งพันเมตร, อักษรย่อว่า กม.
- กิโลลิตร (kilolitre), ชื่อมาตราตวง เท่ากับหนึ่งพันลิตร หรือหนึ่งลูกบาศก์เมตร, อักษรย่อว่า กล.
- กิโลเฮิรตซ์ (kilohertz), หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ, ใช้สัญลักษณ์ kHz, หนึ่งกิโลเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ หนึ่งพันเฮิรตซ์ หรือเท่ากับหนึ่งพันไซเกิลต่อวินาที
- ภาษาปาก มักหมายถึง "กิโลกรัม" กับ "กิโลเมตร"
- เครื่องชั่ง, เช่น ในถ้อยคำว่า "เอาไปชั่งกิโลขาย" หรือ "กิโลนี้ไม่เที่ยง"