กิมไล้ สุธรรมมนตรี

(เปลี่ยนทางจาก กิมไล้ สุจริตกุล)

ท่านผู้หญิงกิมไล้ สุธรรมมนตรี (พ.ศ. 2420 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2512) สกุลเดิม เตชะกำพุช เป็นภริยาเอกของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) มีบุตรธิดาด้วยกันหลายท่าน เช่น สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล)


กิมไล้ สุธรรมมนตรี

เกิดกิมไล้ เตชะกำพุช
พ.ศ. 2420
สำเพ็ง
เสียชีวิต8 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (92 ปี)
มีชื่อเสียงจากพระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
คู่สมรสเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล)
บุตร11 คน
บุพการีขุนพัฒน์ (หอย เตชะกำพุช)
นางเลี้ยบ เตชะกำพุช

ประวัติ แก้

ท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นธิดาของขุนพัฒน์ (หอย เตชะกำพุช) นายอากรบ่อนเบี้ย กับนางเลี้ยบ เตชะกำพุช มีบ้านเดิมอยู่ที่สำเพ็ง กิมไล้เป็นคนใจดี ใจบุญมาตั้งแต่ยังสาว ทำบุญครั้งละมากๆ เช่นเห็นเรือหาปลาผ่านมา ก็สั่งซื้อและปล่อยปลาทั้งลำ ซ่อมวัดวาอาราม นอกจากนั้น กิมไล้ยังแต่งบทละครที่คณะปราโมทัยเคยนำไปจัดแสดงด้วย

วันหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงนำตัวกิมไล้ ซึ่งขณะนั้นเป็นคุณกิมไล้ ไปเฝ้าสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา แล้วก็มีการขอดูตัว ตามมาด้วยงานสมรสระหว่างเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับกิมไล้

ท่านผู้หญิงกิมไล้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดให้ตั้งศพที่ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส และสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 7 วัน พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2512

บุตร-ธิดา แก้

ทั้งสองมีบุตรธิดาด้วยกัน 11 คน เท่าที่ทราบนามมีทั้งหมด 8 คน บุตรหญิงคนใหญ่คือคุณเปรื่อง และคนที่ห้า คือคุณประไพ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายใน เก็บถาวร 2019-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๐, ตอน ๐ ง, ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖, หน้า ๒๖๓๑
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๐, ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๖, หน้า ๓๔๑๙