กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์

กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ (สกุลเดิม: ชุติมา) หรือเป็นที่รู้จักในนาม แม่กิมฮ้อ เป็นคหบดีชาวเชียงใหม่ซึ่งผู้คนในเชียงใหม่ยกย่องและเคารพนับถือมากคนหนึ่งในยุคนั้น จากการเป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมไปถึงการอนุเคราะห์และสงเคราะห์ประชาชน, องค์กรการกุศล, การศึกษา และศาสนสถานต่างๆในเชียงใหม่มากมาย

กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์
นางกิมฮ้อที่ประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2513
เกิด20 มีนาคม พ.ศ. 2437
นครเชียงใหม่ ล้านนา
เสียชีวิต30 เมษายน พ.ศ. 2524 (87 ปี)
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
คู่สมรสกี นิมมานเหมินท์
บุตร6 คน
บุพการีหลวงอนุสารสุนทร
คำเที่ยง บุรี

ประวัติ แก้

กิมฮ้อ เป็นบุตรหญิงคนโตของหลวงอนุสารสุนทร กรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่ และนางคำเที่ยง บุรี เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2437 ณ เรือนคำเที่ยง นครเชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมมารดาและต่างมารดาคือ

  1. นายแพทย์ยงค์ ชุติมา
  2. นายสงัด บรรจงศิลป์
  3. นายเชื้อ อนุสารสุนทร
  4. นางสาว กรองทอง ชุติมา
  5. นายวิพัฒน์ ชุติมา
  6. นายชัชวาล ชุติมา

นางกิมฮ้อจบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีพระราชชายา และในปี พ.ศ. 2454 นางกิมฮ้อได้สมรสกับนายกี นิมมานเหมินท์ และมีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 6 คน คือ

  1. นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ - ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ล้านนา และเป็นหนึ่งในนักธุรกิจใหญ่ของเชียงใหม่ของยุคนั้น
  2. นายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ - ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 8
  3. ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ - ศาสตราจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. นายเรือง นิมมานเหมินท์ - นักการเมืองท้องถิ่น และอดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
  5. นายแจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์ - นักสังคมสงเคราะห์
  6. นางอุณณ์ ชุติมา - ผู้ก่อตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

นางกิมฮ้อถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2524 ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สิริอายุ 87 ปี

บรรพบุรุษ แก้

การเพื่อสังคม แก้

การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แก้

พ.ศ. 2496 นางกิมฮ้อ และนายกี นิมมานเหมินท์ สามี ริเริ่มความคิดในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในภาคเหนือ โดยทำการยกที่ดินให้กับคณะมิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งในขณะนั้นคณะมิชชันนารีคณะนี้กำลังทำหนังสือขออนุมัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งก็ได้รับการปฏิเสธจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยอ้างว่าการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเป็นเอกสิทธิของรัฐบาลกลางเพียงผู้เดียว ต่อมาได้มีการรณรงค์ในเชียงใหม่ทางคณะหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ว่า "ในภาคเหนือ เราต้องการมหาวิทยาลัย" และ "เราต้องการมหาวิทยาลัยประจำล้านนาไทย"[1]ซึ่งการเคลื่อนไหวอย่างหนักทำให้รัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ตอบว่าจะสร้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นสาขาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เปิดการประมูลที่ดินใกล้ตัวเมืองเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งนางกิมฮ้อร่วมกับนายกีได้บริจาคที่ดินจำนวน 100 ไร่เศษ ณ บริเวณฝั่งตะวันตกของตัวเมืองใกล้เชิงดอยสุเทพ[1] แต่รัฐบาลไม่ยอมรับ และรัฐบาลไปซื้อที่ดินบริเวณอำเภอแม่ริม (เขตทหารในปัจจุบัน) แต่ก็มิได้ทำการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ต่อมาชาวเชียงใหม่สามารถก่อตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ขึ้น โดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา

ต่อมารัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคณะแพทย์ศาสตร์ขึ้นที่เชียงใหม่ รัฐบาลได้เล็งเห็นช่องทางที่จะทำให้นโยบายเกิดความรวดเร็ว จึงได้เกิดความร่วมมือกับตระกูลนิมมานเหมินท์-ชุติมา ในการจัดหาที่ดิน ซึ่งรัฐบาลก็ได้ที่ดินริมถนนสุเทพมาเพื่อจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ ต่อมานายกีและนางกิมฮ้อก็ได้ตกลงขายที่ดินผืนใหญ่ในราคาเสมือนให้เปล่าให้กับรัฐบาลบริเวณที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันมา[1] และในที่สุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ในปี พ.ศ. 2507 นอกจากนี้ยังบริจาคที่ดินบางส่วนเพื่อใช้ตัดถนนใหม่เพื่อให้การจราจรคล่องตัว (ถนนนิมมานเหมินท์ในปัจจุบัน)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ลานนาปริทัศน์ ในวาระครบรอบปีคล้ายวันมรณะ นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ๒๕๒๕