พลเอก กิตติ รัตนฉายา อดีตแม่ทัพภาคที่ 4[2]อดีตราชองครักษ์พิเศษ[3]อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี

กิตติ รัตนฉายา
แม่ทัพภาคที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน 2534 – 30 กันยายน 2537
ก่อนหน้าพลโท ยุทธนา แย้มพันธุ์
ถัดไปพลโท ปานเทพ ภูวนาถนุรักษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 (87 ปี)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศสยาม
คู่สมรสคุณหญิงสุภาภรณ์ รัตนฉายา
อาชีพทหารบก, นักการเมือง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2499 - 2539
ยศ พลเอก[1]

ประวัติ แก้

พล.ท. กิตติ รัตนฉายา เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ที่บ้านกะแดะ ตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรของนายเตงและนางถวิล รัตนฉายา สมรสกับ คุณหญิงสุภาภรณ์ รัตนฉายา มีบุตร 3 คน คือ

  1. นายหงสเวส รัตนฉายา
  2. พล.ต. คมกฤช รัตนฉายา
  3. นายพชร รัตนฉายา

การศึกษา แก้

การศึกษาระดับสามัญ แก้

การศึกษาวิชาทหาร แก้

  • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 8 (ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา)
  • โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ หลักสูตรผู้บังคับหมวด รุ่นที่ 6
  • โรงเรียนสรรพาวุธทหารบก หลักสูตรสงครามเคมี ชีวะ รังสี รุ่นที่ 3
  • โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 4
  • โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ หลักสูตรผู้บังคับกองร้อย รุ่นที่ 28
  • ศูนย์สงครามพิเศษ หลักสูตรพลร่มทั่วไป รุ่นที่ 2
  • โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ หลักสูตรผู้บังคับกองพัน รุ่นที่ 17
  • วิทยาลัยการทัพบก หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 28

การศึกษาต่างประเทศ แก้

  • หลักสูตรผู้บังคับหมวด, โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก ค่ายเบนนิง สหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรรบในป่า, โจโฮร์บะฮ์รู มาเลเซีย
  • หลักสูตรการเคลื่อนย้ายทางอากาศ, ชิลิต้าร์ สิงคโปร์

การทำงาน แก้

ราชการทหาร แก้

รับราชการทหารเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2504

  • พ.ศ. 2504 : ผู้บังคับหมู่หมวดปืนเล็ก กรมผสมที่ 5 กองพันราบทหารที่ 3
  • พ.ศ. 2509 : ผู้ช่วยฝ่ายอำนวยการ กรมผสมที่ 5 กองพันราบทหารที่ 3
  • พ.ศ. 2509 : ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันผสม
  • พ.ศ. 2510 : ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กรมผสมที่ 5 กองพันทหารราบที่ 4
  • พ.ศ. 2512 : ประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2512 : ฝ่ายอำนวยการที่ 3 กรมผสมที่ 5 กองพันทหารราบที่ 2
  • พ.ศ. 2512 : ประจำ ฝ่ายยุทธศาสตร์ทหารบก ช่วยราชการ กองทัพภาคที่ 3
  • พ.ศ. 2513 : ผู้ช่วยหัวหน้า ฝ่ายยุทธการ กองพลทหารอาสาสมัคร
  • พ.ศ. 2514 : ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2
  • พ.ศ. 2516 : ผู้บังคับกรมผสมที่ 15 กองพันทหารราบที่ 2
  • พ.ศ. 2520 : ผู้บังคับกรมผสมที่ 15 กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 5 / รอง ผบ.จังหวัดทหารบกสงขลา (อัตรายศพันเอก)
  • พ.ศ. 2522 : ผู้บังคับกรมทหารราบที่ 15
  • พ.ศ. 2524 : รองผู้บัญชาการกองพลที่ 5
  • พ.ศ. 2528 : ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5
  • พ.ศ. 2531 : รองแม่ทัพภาคที่ 4
  • พ.ศ. 2534 : แม่ทัพภาคที่ 4
  • พ.ศ. 2537 : ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

ราชการพิเศษ แก้

  • 25 มิ.ย. พ.ศ. 2508 – 26 ธ.ค. : ผู้บังคับศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ 51 (ปัตตานี)
  • พ.ศ. 2511 – 2512 : ผู้บังคับศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ 51 (ปัตตานี)
  • พ.ศ. 2523 : ผู้บังคับหน่วยปฏิบัติการพิเศษเฉพาะกิจ 421
  • พ.ศ. 2523 – 2524 : รองผู้บัญชาการกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 42 (สุราษฎร์ธานี)
  • พ.ศ. 2524 – 2525 : รองผู้บัญชาการกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43
  • พ.ศ. 2525 – 2528 : รองผู้บัญชาการกองกำลังผสม ชุดเฉพาะกิจไทย (สงขลา)
  • พ.ศ. 2528 – 2531 : ผู้บัญชาการกองกำลังผสม ชุดเฉพาะกิจไทย (สงขลา)
  • พ.ศ. 2531 – 2534 : รองผู้อำนวยการ ปค.ภาค 4 (นครศรีธรรมราช)
  • พ.ศ. 2534 – 2537 : ผู้อำนวยการ ปค.ภาค 4 (นครศรีธรรมราช)

รับราชการและปฏิบัติงานใน 14 จังหวัดภาคใต้ตั้งแต่ปี 2504–2537 (ยกเว้นสงครามเวียดนาม) ได้รับการพิจารณาบำเหน็จสองขั้น 15 ครั้ง

การเมือง แก้

เกียรติประวัติที่สำคัญทางราชการทหาร แก้

  • พ.ศ. 2506 : ปฏิบัติหน้าที่นายทหารการข่าวประจำกองอำนวยการฝึกและปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ร่วมกับตำรวจสนามมาเลเซีย บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย สงขลา, ยะลา และนราธิวาส
  • พ.ศ. 2514 – 2520 : เป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 5 รับผิดชอบในการปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในนครศรีธรรมราช และจ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งชุดต่อต้าน ผกค. ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (บ้านบางระจัน 1) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น ทสป. และไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.)
  • พ.ศ. 2522 – 2524 : เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 15 ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองผู้บัญชาการพลเรือนตำรวจทหารที่ 42 รับผิดชอบความมั่นคงภายในนครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี, ตรัง กระบี่, ภูเก็ต, ระนอง ชุมพร และพังงา
  • พ.ศ. 2528 : เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 และผู้บัญชาการกองกำลังผสมเฉพาะกิจไทย-มาเลเซีย รับผิดชอบปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีผลงานด้านยุทธการหลายครั้ง
  • พ.ศ. 2528 : เป็นผู้ริเริ่มใช้นโยบายยุติสงครามตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย กับทางโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาโดยการเจรจา ไทย-มาเลเซีย ทางลับตั้งแต่ปี 2528 จนประสบความสำเร็จร่วมกันระดับชาติ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2532
  • เป็นประธานคณะทำงานแก้ปัญหามุสลิม (โครงการไทย-มุสลิมแก้ปัญหามุสลิม) อย่างไม่เป็นทางการได้ผลเป็นที่ยอมรับของชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างกว้างขวาง

เกียรติประวัติระดับนานาประเทศ แก้

  • พ.ศ. 2530 : ได้รับคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ และมูลนิธิเอเชีย ร่วมใน “GEORGETOWN LEADERSHIP SEMINAR” กับผู้นำนักบริหาร นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระดับสูง ซึ่งได้รับคัดเลือก จำนวน 27 คน ในจำนวน 24 ประเทศ ที่วอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2533 : ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย จากพระราชาธิบดีมาเลเซีย มีบรรดาศักดิ์เป็น ดาโต๊ะ (DATO)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2513 -   แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาล์ม[11]
    • พ.ศ. 2513 -   เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1[11]
    • พ.ศ. 2513 -   เหรียญปฏิบัติการกิจการพลเรือน ชั้นที่ 1 ประดับใบโอ๊ค[11]
    • พ.ศ. 2513 -   เหรียญรณรงค์เวียดนาม[11]
  •   สหรัฐ :
    • พ.ศ. 2513 -   เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก)[11]
    • พ.ศ. 2513 -   เหรียญเนชันดิเฟนเซอวิส[11]
  •   รัฐเประ, มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2532 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาโต๊ะ ปาห์ลาวัน ทามิง ซารี ชั้นที่ 2[12]
  •   มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2533 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1[13]

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/B/018/48.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/058/4.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑๐, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๒๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1953232941678363&set=pb.100009750287040.-2207520000.&type=3
  12. https://www.facebook.com/kitti.rattana.1/posts/pfbid0eg5Qj9KmS6EybA8qsP8A2h1gQuqLn4qDAHcNVC4fmFxBUewYovJAk5zQA9nDVGXkl
  13. https://www.facebook.com/kitti.rattana.1/posts/pfbid02tLisetHr7N3md9nDUSM3CgAkPV9mD3DyvUAYjuuqm9xs8t25brLeP3bqQHbyFfEMl