การเสียชีวิตของและบทยกย่องรอย รอตเบิร์ก

ในปี ค.ศ. 1956 โมเช ดายัน ซึ่งเป็นเสนาธิการทหารบกชาวอิสราเอล ได้ให้คำสรรเสริญแก่รอย รอตเบิร์ก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในคิบบุตซ์ที่ถูกฆ่าตายใกล้กับฉนวนกาซา[1] โดยเรียกร้องให้อิสราเอลค้นหาวิญญาณของตนและสำรวจความคิดของชาติ คำสรรเสริญของดายันถือได้ว่าเป็นสุนทรพจน์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล[2] และมีความสำคัญในความทรงจำของกลุ่มชาวอิสราเอล ดุจเกตตีสเบิร์กแอดเดรสที่มีอยู่ในความทรงจำของชาวอเมริกัน

เสนาธิการทหารบกโมเช ดายัน ขณะกล่าวถ้อยคำสรรเสริญหน้าหลุมศพรอย รอตเบิร์กในนาฮาล ออซ

ภูมิหลัง แก้

 
ภาพของรอย รอตเบิร์ก ในมุมหนึ่งของอนุสรณ์สถานสงคราม ที่โรงเรียนเชวาห์โมเฟตในเทลอาวีฟ ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของเขา

นาฮาล ออซ กลายเป็นคิบบุตซ์ในปี ค.ศ. 1953 และมักมีความขัดแย้งกับชาวอาหรับที่เดินข้ามเขตสงบศึกจากกาซา เพื่อเก็บเกี่ยวพืชผลและดำเนินการลักขโมย[3] โดยช่วงสองสามเดือนก่อนหน้านี้มีความเงียบสงบในพรมแดนของอิสราเอลร่วมกับอียิปต์และกาซา แต่บานปลายขึ้นด้วยการยิงข้ามพรมแดนหลายครั้งในช่วงต้นเดือนเมษายน[3] เมื่อวันที่ 4 เมษายน ทหารอิสราเอลสามคนถูกสังหารโดยกองกำลังอียิปต์ที่ชายแดนกาซา[3] ฝ่ายอิสราเอลจึงตอบโต้ในวันรุ่งขึ้นโดยการโจมตีใจกลางกาซาซิตี ซึ่งได้สังหารพลเรือนชาวอียิปต์และปาเลสไตน์ 58 คน รวมทั้งทหารอียิปต์อีก 4 คน[3] ส่วนฝ่ายอียิปต์ตอบโต้ด้วยการกลับมาโจมตีแบบเฟดายีนข้ามพรมแดน โดยสังหารชาวอิสราเอลไป 14 คนในช่วงวันที่ 11–17 เมษายน[3][4]

รอย รอตเบิร์ก เกิดในเทลอาวีฟในปี ค.ศ. 1935 เขาทำหน้าที่เป็นเด็กส่งสารสำหรับกองกำลังป้องกันอิสราเอลในช่วงสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 หลังจากเรียนที่โรงเรียนเกษตรมิกเวห์อิสราเอล และโรงเรียนอาชีวะเชวาห์โมเฟต เขาได้เข้าเป็นทหารในกองกำลังป้องกันอิสราเอลและเข้าร่วมทหารราบ หลังจากจบหลักสูตรของทหารแล้ว เขาเข้ามาอยู่ที่เมืองนาฮาล ออซ ซึ่งเป็นครั้งแรกของการตั้งถิ่นฐานนาฮาล โดยเขาได้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของนาฮาล ออซ[3][5][6][7] และมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอในการไล่จับผู้แทรกซึม บางครั้งมีการใช้กำลังถึงตาย[3] รอตเบิร์กแต่งงานกับอมิรา กริกสัน และมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือโบอาส ที่ยังเป็นเด็กทารกในช่วงเวลาที่เขาเสียชีวิต

เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1956 เขาถูกจับในการเตรียมซุ่มโจมตี ซึ่งแรงงานเก็บเกี่ยวชาวอาหรับได้เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวสาลีในพื้นที่ของคิบบุตซ์ หลังจากที่รอตเบิร์กได้เห็นพวกเขา เขาได้ขี่ม้าไล่ตาม ขณะที่เขาเข้าใกล้ ได้มีคนอื่น ๆ โผล่ออกมาจากการซ่อนตัวเพื่อโจมตี[3][8] เขาถูกยิงจนตกหลังม้า มีการตี และยิงอีกครั้ง แล้วศพของเขาก็ถูกลากเข้าสู่ฉนวนกาซา[3] ซึ่งผู้ทำร้ายรอตเบิร์ก ได้แก่ ตำรวจชาวอียิปต์และชาวนาปาเลสไตน์[9] ศพของเขาถูกส่งกลับมาในช่วงบ่ายวันเดียวกัน โดยการแทรกแซงของสหประชาชาติ สภาพศพเสียหายแบบงอมพระราม[3][10][11]

หกเดือนหลังจากที่เขาเสียชีวิต วิกฤตการณ์คลองสุเอซเริ่มต้นด้วยการบุกของอิสราเอลสู่ฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย หลังจากครอบครองฉนวนกาซา สองผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมของรอตเบิร์ก สิบตำรวจเอกจามิล อวัด อัล-กาซิม อัล-วาดีห์ และชาวนาชื่อมาห์มูด โมฮัมเหม็ด ยูเซฟ อัล-มาซิอาร์ ได้ถูกจับกุมและถูกนำตัวมายังอิสราเอลเพื่อพิจารณาคดี ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1959 พวกเขาถูกตัดสินว่าได้กระทำการฆาตกรรมรอตเบิร์กและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต โดยการอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแห่งประเทศอิสราเอลได้รับการปฏิเสธในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1960 [12][13]

คำสรรเสริญ แก้

อ้างอิงจากฌ็อง-ปีแยร์ ฟีลียู เผยว่า หลังจากการลอบสังหาร อารมณ์สะเทือนใจในประเทศอิสราเอลอยู่ในระดับสูง และมีการเชิญดายันไปยังคิบบุตซ์เพื่อแสดงสุนทรพจน์ในงานศพ[9]

"เช้าวานนี้ รอยถูกฆาตกรรม เวลาที่เงียบงันในช่วงเช้าของฤดูใบไม้ผลิ ได้ทำให้เขาตื่นตระหนกและเขาไม่เห็นคนที่รอซุ่มโจมตีเขาที่ริมทาง อย่าให้เราโยนความผิดเกี่ยวกับฆาตกรในวันนี้ ทำไมเราควรประกาศความเกลียดชังการเผาไหม้ของพวกเขาสำหรับเรา ? เป็นเวลาแปดปีที่พวกเขานั่งอยู่ในค่ายผู้อพยพในฉนวนกาซา และก่อนปรากฏสู่สายตาของพวกเขา พวกเราได้ทำการเปลี่ยนแผ่นดินและหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ซึ่งพวกเขาและบรรพบุรุษของพวกเขาอาศัยอยู่ มาเป็นที่ดินของเรา ไม่ใช่ในหมู่อาหรับในกาซา หากแต่ในท่ามกลางเราเองที่ต้องแสวงหาการนองเลือดของรอย เราปิดตาของเราและปฏิเสธที่จะมองตรงไปที่ชะตากรรมของเรา และเห็นในทุกความโหดร้าย กับโชคชะตาของคนรุ่นเราได้อย่างไร ? เราลืมไปแล้วหรือว่ากลุ่มคนหนุ่มสาวที่อาศัยอยู่ที่เมืองนาฮาล ออซ จะแบกประตูของฉนวนกาซาไว้บนไหล่ ? ไกลจากเส้นขอบชายแดน ทะเลแห่งความเกลียดชังและความปรารถนาที่จะแก้แค้นซึ่งขยายตัว กำลังรอวันที่สงบ สำหรับวันที่เราจะเอาใจใส่ทูตเจ้าเล่ห์ซึ่งคิดร้ายที่เรียกร้องให้เราวางอาวุธ เลือดของรอยกำลังร้องไห้ออกมาให้แก่เราและเฉพาะกับเรา จากร่างกายที่ฉีกขาดของเขา แม้ว่าเราจะสาบานว่าเลือดของเราจะไม่ไหลแบบสูญเปล่า เมื่อวานนี้เราถูกล่อลวง พวกเราได้ฟัง และพวกเราเชื่อ
เราจะทำการคำนวณกับตัวเราเองในวันนี้ เราเป็นคนรุ่นที่ปักหลักอยู่ในแผ่นดินโดยไม่มีหมวกนิรภัยและกระสุนปืนใหญ่ ซึ่งเราจะไม่สามารถปลูกต้นไม้และสร้างบ้านได้ อย่าให้เรามองไม่เห็นความเกลียดชังที่ลุกเป็นไฟรวมถึงชีวิตชาวอาหรับนับแสนที่อาศัยอยู่รอบตัว อย่าหลีกเลี่ยงสายตาเพื่อไม่ให้อาวุธของเราอ่อนลง นี่คือชะตากรรมของคนรุ่นเรา นี่คือทางเลือกในชีวิตของเรา - ที่จะเตรียมพร้อมและมีกำลังอาวุธ, ความแข็งแรง และมุ่งมั่น เพื่อไม่ให้ดาบหลุดจากมือของเราและไม่ให้ชีวิตของเราลดลง ชายหนุ่มที่ชื่อรอยได้ทิ้งเทลอาวีฟไปสร้างบ้านที่ประตูเมืองกาซาเพื่อเป็นกำแพงสำหรับพวกเราได้ตาบอดลงโดยแสงในหัวใจของเขา และเขาไม่ได้เห็นแสงประกายของดาบ ความโดยหาสันติภาพทำให้เขาไม่ได้ยินเสียงฆาตกรที่รอคอยซุ่มโจมตี ประตูของฉนวนกาซาหนักเกินไปบนไหล่ของเขา และได้ทำให้เขาหมดกำลัง"[8][14][15]

อ้างอิง แก้

  1. Shalev, Chemi (20 July 2014). "Moshe Dayan's enduring Gaza eulogy: This is the fate of our generation". Haaretz.
  2. Kochin, Michael (2009). Five Chapters on Rhetoric, Character, Action, Things, Nothing, & Art. College Station, PA, USA: Penn State University Press. pp. 160–164. ISBN 978-0-271-03456-0.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Benny Morris (1993). Israel's Border Wars. Oxford University Press. pp. 393–396.
  4. Stein, Leslie (2014). The Making of Modern Israel; 1948-1967. John Wiley & Sons. pp. 171–172.
  5. MorrisB, Benny (2011). Righteous Victims: A History of the Zionist-Arab Conflict, 1881-1998. Knopf Doubleday Publishing Group. pp. 286–9.
  6. Bar-On, Mordecai (2010). Moshe Dayan: Israel's Controversial Hero. Yale University Press.
  7. Levitas, Gidon (1967). Naḥal: Israel's Pioneer Fighting Youth. Youth and Hechalutz Department of the World Zionist Organization. pp. 38–39.
  8. 8.0 8.1 Shapira, Anita. Israel; A History. p. 271. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  9. 9.0 9.1 Filiu, Jean-Pierre (2014). Gaza: A History. Oxford University Press. p. 92.
  10. Aloni, Udi (2011). "Samson the Non-European". Studies in Gender and Sexuality. 12 (2): 124–133. doi:10.1080/15240657.2011.559441. สืบค้นเมื่อ 20 October 2014.
  11. Shapira, Anita (2012). Israel: A History. UPNE. p. 271.
  12. http://jpress.org.il/Olive/APA/NLI_Heb/SharedView.Article.aspx?parm=%2FHJYmaMuW0OIYAMoUfYvr1QGYWbJBm8bXNIlf0THcM6rJ9v8Dg5BB%2FqBPEuEh3YSYw%3D%3D&mode=image&href=MAR%2f1959%2f01%2f06&page=4&rtl=true
  13. http://jpress.org.il/Olive/APA/NLI_Heb/SharedView.Article.aspx?parm=C2wkgkt6BMUdKsxrJxfFi5o11NF9NNhFdCzb%2Bcoodp8IsnzWRZtVpMG2b5NpYK7ZYw%3D%3D&mode=image&href=MAR%2f1960%2f05%2f19&page=1&rtl=true
  14. Friedman, Matti (8 August 2012). "In the Border Kibbutz Brushed by Terror, An Understated Resiliance". Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 14 October 2014.
  15. "Moshe Dayan's Eulogy for Roi Rutenberg - April 19, 1956". www.jewishvirtuallibrary.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-13.