การเลือกตั้งประธานาธิบดีโรมาเนีย พ.ศ. 2567–2568

ประเทศโรมาเนียจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีโรมาเนียในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567[1][2][3] และมีกำหนดการเลือกตั้งรอบสองในวันที่ 8 ธันวาคม 2567[2][4] เนื่องจากไม่มีผู้ลงสมัครคนใดได้คะแนนเสียงส่วนมากโดยสัมบูรณ์ในรอบแรก[3] กระนั้น เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญโรมาเนียประกาศผลการเลือกตั้งในรอบแรกเป็นโมฆะ หลังพบว่ามีปฏิบัติการแทรกแซงการเลือกตั้งจากรัสเซียที่ส่งผลต่อการนับคะแนน ถือเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่เก้าของประเทศนับตั้งแต่การปฏิวัติโรมาเนีย กลาวุส ยอฮานิส ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เข้าสู่ตำแหน่งวาระแรกในการเลือกตั้งปี 2557 และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2562 ถือเป็นวาระสุดท้ายตามรัฐธรรมนูญโรมาเนียซึ่งกำหนดให้ดำรงตำแหน่งซ้ำได้แค่สองวาระเท่านั้น

การเลือกตั้งประธานาธิบดีโรมาเนีย พ.ศ. 2567–2568

← 2019 24 พฤศจิกายน 2024 (รอบแรก, โมฆะ)[a]
ยังไม่ประกาศ (รอบแรก, ครั้งใหม่)
ยังไม่ประกาศ (รอบสอง)


ประธานาธิบดีก่อนการเลือกตั้ง

กลาวุส ยอฮานิส
เปเอนเอล

ว่าที่ประธานาธิบดี

ยังไม่ประกาศ

ผลการเลือกตั้งรอบแรกผิดจากที่คาดการณ์กันไว้ โดยเกอลิน จอร์เจสกู ผู้สมัครอิสระและชาตินิยม ได้รับคะแนนสูงสุด ในขณะที่เอเลนา ลัสกอนี นักการเมืองเสรีนิยม ได้ที่สอง จอร์เจสกูเริ่มต้นเป็นนักการเมืองนอกกระแสหลัก ก่อนจะได้รับความนิยมผ่านการหาเสียงด้วยสื่อนอกกระแสหลักเช่นติ๊กต็อก และได้รับความนิยมเป็นพิเศษในกลุ่มที่ไม่พอใจในการเมืองปัจจุบันของโรมาเนีย รวมทั้งเยาวชน เกษตรกร ชาวชนบท และชนชั้นแรงงาน เขาถือเป็นผู้นำคะแนนเสียงในการเลือกตั้งนี้[5] และผลการสำรวจหลังการเลือกนั้งรอบแรกพบว่าเขาเป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการเมืองโรมาเนีบ[6]

ประเด็นปัญหาสำคัญในการเลือกตั้งและการหาเสียงเกี่ยวข้องกับการทุจริต, สิทธิของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ, บทบาทของศาสนาคริสต์ในชีวิตสาธารณะ และสงครามรัสเซีย–ยูเครน จอร์เจสกูหาเสียงโดยใช้วาทกรรมชาตินิยมและวิจารณ์พันธมิตรแห่งชาติ ซึ่งเป็นพันธมิตรใหญ่ที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองใหญ่ที่สุดสองพรรคของประเทศว่ามีการทุจริต เขาสนับสนุนศาสนาคริสต์ในชีวิตสาธารณะ, สัญญาว่าจะประกาศให้ "โฆษณาชวนเชื่อของพวกเพศหลากหลาย" เป็นสิ่งผิดกฎหมาย,[7] ผลักดันแผนการเพื่อทำให้อุตสาหกรรมสำคัญเป็นของรัฐบางส่วน[8] และสนับสนุนจุดยืนเป็นกลางรวมทั้งการไม่ยุ่งเกี่ยวในสงครามยูเครน โดยไม่ออกจากเนโทหรือสหภาพยุโรป ส่วนลัสกอนีหาเสียงโดยสนับสนุนรัฐโลกวิสัย, บูรณาการยุโรปเพิ่มเติม, การจัดแนวร่วมกับโลกตะวันตกและสหรัฐ และการเพิ่มการระดมทุนทางทหารให้แก่ยูเครน

การหาเสียงของจอร์เจสกูได้รับการสนับสนุนโดยบรรดาพรรคการเมืองสายประชาธิปไตยคริสต์, ชาตินิยม, เกษตรนิยม และคอมมิวนิสต์ เช่น พันธมิตรเพื่อสหภาพแห่งชาวโรมาเนีย, เอส.ออ.เอส. รอมือนียา, พรรคสังคมนิยม และพรรคชาวไร่ชาวนาแห่งชาติ[9] ส่วนการหาเสียงของลัสกอนีได้กับการสนับสนุนโดยพรรคเสรีนิยมแห่งชาติ, พรรคประชาธิปไตยและความเป็นปึกแผ่น, สหภาพรักษ์โรมาเนีย และต่ออายุโครงการยุโรปของโรมาเนีย เป็นต้น ผลการเลือกตั้งนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2543 ที่ผู้สมัครชาตินิยมชนะเข้ารอบที่สองแทนที่จะเป็นผู้สมัครพรรคเสรีนิยมแห่งชาติหรืออดีตพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในโรมาเนียที่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยไม่ผ่านรอบแรก[10][11]

ผลสืบเนื่องจากการเลือกตั้งในรอบแรกเป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวาง และผลักโรมาเนียให้เข้าใกล้วิกฤตการณ์ทางการเมือง[12] ยอฮานิส ประธานาธิบดีคนปัจจุบันซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภากลาโหมสูงสุดแห่งชาติ กล่าวหาการหาเสียงของจอร์เจสกูว่าได้รับการหนุนหลังจากรัสเซีย หลังผู้สมัครนอกกระแสหลักคนหนึ่งยื่นอุทธรณ์กรณีการโกงผลเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่[13][14] ก่อนจะยืนยันรับรองผลการนับคะแนนในวันที่ 2 ธันวาคม[15] กระทั่งในวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญย้อนคำตัดสินเดิมและประกาศให้ผลการเลือกตั้งในรอบแรกเป็นโมฆะแทน[16] หลังมีเอกสารจากหน่วยความมั่คงเปิดเผยที่แสดงให้เห็นว่ารัสเซียจัดการรณรงค์ทางออนไลน์อย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนจอร์เจสกู ถือเป็นการแทรงแซงการเลือกตั้งจากต่างประเทศ[17][18][19]

อ้างอิง

แก้
  1. ศาลรัฐธรรมนูญประกาศเป็นโมฆะในวันที่ 6 ธันวาคม 2567
  1. "Romanian ruling coalition agrees parliamentary, presidential election dates". Reuters. 4 July 2024. สืบค้นเมื่อ 10 December 2024.
  2. 2.0 2.1 "Romania's ruling parties agree on dates for presidential and parliamentary elections". Romania Insider. 4 July 2024. สืบค้นเมื่อ 10 December 2024.
  3. 3.0 3.1 Pop-Elches, Grigore (29 November 2024). "What just happened in Romania's election?". Good Authority. สืบค้นเมื่อ 10 December 2024.
  4. "Romania's ruling coalition delays presidential election to year's end". TVP World. 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 10 December 2024.
  5. Ozerkan, Fulya (29 November 2024). "Calin Georgescu emerges as frontrunner in Romanian election, driven by TikTok support". Fortune Europe. สืบค้นเมื่อ 30 November 2024.
  6. "Sondaj AtlasIntel: Elena Lasconi, în fața lui Călin Georgescu în cursa pentru Cotroceni" (ภาษาโรมาเนีย). 28 November 2024. สืบค้นเมื่อ 30 November 2024.
  7. Parsons, Adam (5 December 2024). "Calin Georgescu: The ex-soil scientist who rose to prominence on TikTok and is on course to be Romania's next president". Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 December 2024.
  8. Paun, Carmen (2 December 2024). "Romania's Trump sets his sights on foreign companies". Politico. สืบค้นเมื่อ 5 December 2024.
  9. Clark, Neil (27 November 2024). "There's a simple explanation for Calin Georgescu's 'shock' triumph in Romania". The Spectator (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 29 November 2024.
  10. "Romania in shock after far-right candidate wins first round of presidential election". Sky News. สืบค้นเมื่อ 25 November 2024.
  11. Henley, Jon (25 November 2024). "Shock as pro-Russia independent wins first round of Romanian election". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 25 November 2024.
  12. Ilie, Luiza (29 November 2024). "Romania's top court postpones decision on presidential election". Reuters. สืบค้นเมื่อ 30 November 2024.
  13. "Romanian court postpones decision on annuling election until Monday". Politico (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 29 November 2024. สืบค้นเมื่อ 30 November 2024.
  14. "Romania's president summons defense council over cyber election interference risk". Politico (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 27 November 2024. สืบค้นเมื่อ 30 November 2024.
  15. "CCR a decis în unanimitate validarea primului tur de scrutin al alegerilor prezidențiale. Elena Lasconi vs Călin Georgescu, pe 8 decembrie". Euronews (ภาษาโรมาเนีย). 2 December 2024. สืบค้นเมื่อ 2 December 2024.
  16. "Romanian court cancels presidential election amid Russian influence fears". Politico (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 6 December 2024. สืบค้นเมื่อ 6 December 2024.
  17. "Romania hit by major election influence campaign and Russian cyber-attacks". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 6 December 2024.
  18. Madalin Necsutu and Anthony Faiola (6 December 2024). "Romanian court annuls presidential vote after Russian interference claims". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  19. Tanno, Sophie (6 December 2024). "Romania's top court annuls presidential election result". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 December 2024.