การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2543

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2543 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 54 และมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (ผู้ว่ารัฐเท็กซัสและลูกชายคนโตของจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีคนที่ 41) เอาชนะรองประธานาธิบดีอัล กอร์ไปได้ นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งที่สี่จากทั้งหมดห้าครั้ง (และเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2431) ที่ผู้ชนะแพ้คะแนนมหาชนและถือเป็นหนึ่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่สูสีที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา กอร์ยอมรับความพ่ายแพ้ในวันที่ 13 ธันวาคม

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2000

← ค.ศ. 1996 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 ค.ศ. 2004 →
ผู้ใช้สิทธิ54.2% (มีสิทธิเลือกตั้ง)[1]
 
ผู้ได้รับเสนอชื่อ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช อัล กอร์
พรรค พรรครีพับลิกัน พรรคเดโมแครต
รัฐเหย้า รัฐเท็กซัส รัฐเทนเนสซี
คู่สมัคร ดิก เชนีย์ โจ ลิเบอร์แมน
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 271 266[2]
รัฐที่ชนะ 30 20 + ดี.ซี.
คะแนนเสียง 50,456,002 50,999,897
% 47.9% 48.4 %

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
สีแดง แสดงถึงรัฐที่บุช/เชนีย์ ชนะ
สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐที่กอร์/ลิเบอร์แมนชนะ

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก่อนการเลือกตั้ง

บิล คลินตัน
พรรคเดโมแครต

ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
พรรครีพับลิกัน

ประธานาธิบดีบิล คลินตันดำรงตำแหน่งครบวาระและไม่สามารถลงเลือกตั้งสมัยที่สามได้เนื่องจากข้อจำกัดวาระที่กำหนดโดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 รองประธานาธิบดีกอร์ชนะการเลือกตั้งไพรมารี่ของพรรคเดโมแครต โดยเอาชนะอดีตสมาชิกวุฒิสภา บิล แบรดลีย์ อย่างสบาย ๆ ในการเลือกตั้งไพรมารี่ของพรรครีพับลิกัน บุชเอาชนะสมาชิกวุฒิสภา จอห์น แมคเคน และผู้ท้าชิงคนอื่น ๆ ไปได้ในซูเปอร์ทิวส์เดย์ บุชเลือกดิก ชีนีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหเป็นแคนดิเดตรองประธานาธิบดี ในขณะที่กอร์เลือกโจ ลิเบอร์แมน สมาชิกวุฒิสภา

แคนดิเดตทั้งสองพรรคเน้นไปที่ประเด็นภายในประเทศ เช่น งบประมาณ การยกเว้นภาษี และการปฏิรูปประกันสังคมระดับประเทศ แต่นโยบายการต่างประเทศก็ไม่ได้ถูกละเลย เนื่องจากประธานาธิบดีบิล คลินตันมีเรื่องอื้อฉาวทางเพศกับโมนิกา ลูวินสกี ซึ่งตามมาด้วยการฟ้องให้ขับบิล คลินตันออกจากตำแหน่ง (impeachment) กอร์จึงหลีกเลี่ยงการหาเสียงร่วมกับคลินตัน ฝ่ายรีพับลิกันประณามการกระทำของคลินตัน ในขณะที่กอร์วิจารณ์ว่าบุชขาดประสบการณ์ ในคืนวันเลือกตั้ง ยังไม่มีการประกาศผู้ชนะเนื่องจากคะแนนมหาชนในฟลอริด้ายังไม่ชัดเจน บุชมีคะแนนนำในฟลอริด้าอย่างฉิวเฉียดมากซึ่งกฎหมายของรัฐฟลอริด้าบังคับให้มีการนับคะแนนใหม่ การฟ้องร้องในศาลยาวนานกว่าหนึ่งเดือนนำไปสู่ Bush v. Gore ที่ศาลสูงสุดสหรัฐตัดสินด้วย 5-4 เสียงให้หยุดการนับคะแนนใหม่

การนับคะแนนใหม่สิ้นสุดลง บุชชนะฟลอริด้าไปเพียง 537 คะแนน เทียบเท่ากับ 0.009% การนับคะแนนใหม่ในฟลอริด้าและการฟ้องร้องในชั้นศาลส่งผลให้เกิดประเด็นปัญหาหลังจบการเลือกตั้ง มีการคาดการณ์ว่า หากนับคะแนนใหม่แค่บางเทศมณฑล (county) บุชจะชนะการเลือกตั้ง แต่หากนับคะแนนใหม่ทั้งรัฐ กอร์จะชนะการเลือกตั้ง ท้ายที่สุด บุชได้รับคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 271 คะแนน ซึ่งมากกว่าคะแนนที่ต้องมีเพื่อชนะ (270-to-win) แค่ 1 คะแนน ถึงแม้ว่ากอร์จะได้ชนะคะแนนมหาชนไป 543,895 คะแนนก็ตาม (ชนะไป 0.52% ของคะแนนมหาชนทั้งประเทศ) บุชพลิกเอาชนะ 11 รัฐที่โหวตให้พรรคเดโมแครตในปี 2539 : อาร์คันซอ แอริโซนา ฟลอริด้า เคนทักกี ลุยเซียนา มิสซูรี เนวาดา นิวแฮมป์เชอร์ โอไฮโอ เทนเนสซี และเวสต์เวอร์จิเนีย นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่พรรครีพับลิกันชนะในรัฐนิวแฮมป์เชอร์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี และเป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่รองประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ถูกเลือกให้เป็นแคนดิเดตประธานาธิบดี

หลังจากการเสียชีวิตของจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุชในปี 2561 นี่เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกสุดที่แคนดิเดตประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีของพรรคใหญ่สองพรรคยังคงมีชีวิตอยู่

ผู้ลงสมัครเลือกตั้งพรรคเดโมแครต แก้

ผู้ที่ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 54 ของพรรคเดโมแครตได้แก่

รูปภาพของผู้ลงสมัครเลือกตั้ง แก้

ผู้ลงสมัครเลือกตั้งพรรครีพับลิกัน แก้

ผู้ที่ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 54 ของพรรครีพับลิกันได้แก่

ผลโหวต แก้

คะแนนเสียงความนิยม
กอร์
  
48.38%
บุช
  
47.87%
แนเดอร์
  
2.74%
บูแคนัน
  
0.43%
บราวน์
  
0.36%
อื่นๆ
  
0.22%
คะแนนเสียงในการเลือกตั้ง
บุช
  
50.37%
กอร์
  
49.44%
อื่นๆ
  
0.19%

รายการอ้างอิง แก้

  1. "2000 General Election Turnout Rates". George Mason University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-02. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. One elector abstained in the official tally

แหล่งข้อมูลอื่น แก้