การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในสามร้อยปีแรกของศาสนาคริสต์ยุคแรกนับเป็นสมัยของการเบียดเบียนโดยน้ำมือของทางการโรมัน คริสต์ศาสนิกชนถูกทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นช่วง ๆ นอกจากนั้นในบางครั้งก็ยังมีการเบียดเบียนไปทั่วทั้งจักรวรรดิโดยคำสั่งโดยตรงจากรัฐบาลกลางในกรุงโรม

คริสต์ศาสนิกชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู

การถูกทำร้ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับมรณสักขี (martyr) และมีผลต่อประวัติศาสตร์ของคริสต์ศาสนาและเทววิทยาคริสเตียนในด้านการวิวัฒนาการของความศรัทธาในศาสนา[1]

นอกจากนั้นแล้วการเบียดเบียนยังมีผลให้เกิดลัทธิบูชานักบุญซึ่งกลับทำให้การเผยแพร่คริสต์ศาสนาเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น

เหตุผลในการเบียดเบียน แก้

โดยทั่วไปแล้วจักรวรรดิโรมันมีความอดทนต่อการปฏิบัติของศาสนาต่าง ๆ นโยบายของรัฐบาลมักจะเป็นนโยบายของการรวมตัว - เทพในท้องถิ่นของดินแดนที่โรมันพิชิตก็มักจะได้รับการรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเทพเจ้าโรมันและมักจะได้รับชื่อโรมันด้วย แม้แต่ศาสนายูดาห์ที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวก็เป็นที่ยอมรับโดยโรมัน

สำหรับโรมันแล้วศาสนาเป็นสิ่งสำคัญของกิจการของชุมชนที่เป็นการส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความจงรักภักดีต่อรัฐ - ทัศนคติของชาวโรมันต่อศาสนาเรียกว่า “ความศรัทธา” (pietas) ซิเซโรเขียนว่าถ้าสังคมขาด “ความศรัทธา” จะเป็นสังคมที่ขาดความยุติธรรมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน[2]

ตามความเห็นของไซมอน ดิกซัน - นักเขียนชาวโรมันสมัยต้นมีความเห็นว่าคริสต์ศาสนาไม่ใช่ “ความศรัทธา” แต่เป็น “ความเชื่องมงาย” (superstitio) พลินีผู้เยาว์ (Pliny the Younger) ผู้เป็นข้าหลวงโรมันกล่าวถึงคริสต์ศาสนาในปี ค.ศ. 110 ว่าเป็นลัทธิที่เป็น “ความเชื่ออันงมงายอันใหญ่หลวง” นักประวัติศาสตร์แทซิทัสเรียกคริสต์ศาสนาว่า “ความเชื่อที่เป็นอันตราย” และนักประวัติศาสตร์ซูโทเนียสเรียกคริสต์ศาสนาว่าเป็น “กลุ่มชนที่สร้างความหมายใหม่ให้แก่ความเชื่องมงายอันเป็นอันตราย”[3] ในการใช้คำว่า “ความเชื่องมงาย” เป็นการให้ความหมายว่าเป็นสิ่งที่แปลกและแตกต่างจากความเชื่อที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ซึ่งเป็นความหมายในทางลบ ความเชื่อทางศาสนาจะเป็นสิ่งที่เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณและเข้ากับขนบประเพณีที่ปฏิบัติกัน คำสอนใหม่มักจะเห็นกันว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ

การไม่ยอมรับคริสต์ศาสนาของโรมันจึงมาจากทัศนคติที่ว่าเป็นความเชื่อที่เป็นอันตรายต่อสังคมโรมัน

อ้างอิง แก้

  1. "The tradition of martyrdom has entered deep into the Christian consciousness." Kenneth Scott Latourette, A History of Christianity, Volume I: Beginnings to 1500, rev. ed. (Prince Press, 2000), p. 81.
  2. Robert L. Wilkin, "The Piety of the Persecutors." Christian History, Issue 27 (Vol. IX, No. 3), p. 18.
  3. Robert L. Wilkin, ibid.

ดูเพิ่ม แก้